แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง คลินิกโรคเรื้อรังเครือข่ายโรงพยาบาลปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • สมพร วัฒนวิศิษฎ์สิริ โรงพยาบาลปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
  • ปัญจมาพร สาตจีนพงษ์ โรงพยาบาลปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมสุขภาพ, โรคหลอดเลือดสมอง, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง และ 2) แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง   กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 400 คน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย  พบว่า

1. การรับรู้ต่อโรคหลอดเลือดสมอง โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M= 3.03, SD = 0.48) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันโรค มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก (M= 4.42, SD = 0.38)  ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด อยู่ในระดับน้อย คือ การรับรู้อุปสรรคในการป้องกันโรค  (M= 2.10, SD = 0.44)

2. ปัจจัยด้านการรับรู้ต่อโรคหลอดเลือดสมองทั้ง 4 ตัวแปร สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้ร้อยละ 13.70 (R2 = .137)

3.  แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง คือ เน้นให้ความรู้ในการดูแลตนเอง การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย 

ดังนั้นการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคเรื้อรังควรเน้นการให้ความรู้แก้ผู้ป่วย และสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลของครอบครัวและชุมชน

References

Becker, M. H. (1974). The health belief model and personal health behavior. New Jersey: Charles B. Slack.

Bloom B S. (1956). Taxonomy of educational objectives, the classification of educational goals –Handbook I: cognitive domain. New York: McKay.

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). New York: John Wilay & Sons.

Charoensin, S. (2021). Factors influencing stroke prevention behavior in patients. High blood

pressure Mueang District, Nakhon Sawan Province. Thesis for the Master of Public Health Program Naresuan University. (in Thai).

Khiawkwao, P. (2019, September - December). Results of the stroke prevention program in high-risk patients. Journal of Health and Nursing Research, 35(3),120-132. (in Thai).

Office for International Health Policy Development. (2016). Burden of disease: years of health lost and years of life. Estimated average health status of the Thai population. Journal of Public Health, 25(2), 342-350. (in Thai).

Rosenstock, I. M., Strecher, V. J., & Becker, M. H. (1988). Social learning theory and the health belief model. Health education quarterly, 15(2), 175-183.

Statistics and medical records Chronic Disease Clinic Pathum Thani Hospital Network. (2023). Report on treatment of chronically ill patients Chronic Disease Clinic, Pathum Thani Hospital Network, Pathum Thani Province in 2023. Chronic Disease, Clinic Pathum Thani Hospital Network, Pathum Thani Province. (in Thai)

Thongyoo, C., & Dangdomyouth, P. (2017). The effect of health belief enhancement program on medication compliance behavior of schizophrenic patients. The Journal of Psychiatric Nursing and Mental Health, 31(1), 75-87.

World Health Organization. (2018). Assessing national capacity for the prevention and control of NCDs. WHO, http:// www.who.int/ncds/surveillance/ncd-capacity/en/World Stroke Organization (2017). What’s your reason for preventing stroke [Internet]. Vienna: World Stroke Organization https://www.worldstroke.org/assets/downloads/English-World Stroke Day 2017 Brochure 20170720.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-21