การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ปัฐมาพร ช่วยพิทักษ์ โรงพยาบาลราชบุรี จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน , ยาละลายลิ่มเลือด , การใส่สายสวนหลอดเลือดที่สมอง

บทคัดย่อ

โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disease , Stroke) เป็นโรคทางระบบประสาทที่เกิดขึ้น จากความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง โดยเกิดการตีบตันหรืออุดตันที่หลอดเลือดสมอง นำไปสู่การเกิดการขาดเลือดไปเลี้ยงที่สมอง หรือรอยโรคสมองตาย และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลกและประเทศ โดยองค์การอัมพาตโลก (World Stroke Organization : WSO) รายงานสาเหตุการตายจากโรคหลอดเลือดสมองเป็นอันดับ 2 ของประชากร อายุมากกว่า 60 ปี และสาเหตุการตายอันดับ 5 ของประชากร ที่มีความรุนแรง ทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต และเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ครอบครัว เศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งระบบสุขภาพไทยในปัจจุบัน โรคนี้เป็นสาเหตุการตายสำคัญเป็นอันดับ 3 รองจากโรคหัวใจและโรคมะเร็ง  รายงานจากองค์การอนามัยโรค (World Health Organization : WHO) ปี 2564 พบอุบัติการณ์ การเกิดโรคหลอดเลือดสมองทั่วโลกประมาณ 15 ล้านคน ในแต่ละปีพบว่าโดยเฉลี่ยทุกๆ 6 นาที จะมีคนเสียชีวิต จากโรคหลอดเลือดสมองอย่างน้อย 1 คน โดยปี 2564 จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า จากสถิติเขตสุขภาพที่ 5 พบอัตราตายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน 3 ปี ย้อนหลัง (2564-2566) คิดเป็น 4.92, 5.81 และ 4.42 (ข้อมูล HDC ณ.วันที่ 16 ธ.ค. 66) ของจังหวัดราชบุรีพบอัตราตายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน คิดเป็น 4.45, 2.8, 1.76 และของโรงพยาบาลราชบุรีพบอัตราตายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน คิดเป็น 7.89, 2.59, และ 1.1o จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโรคหลอดเลือดสมองยังคงมีความรุนแรง ผู้ป่วยที่รอดชีวิตนั้นจะคงมีความพิการหลงเหลืออยู่ไม่มากก็น้อย  ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม เศรษฐกิจ มิใช่ต่อตัวผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติอีกด้วย

References

Division of Non Communicable Diseases. (2020). Annual report 2020. Nonthaburi: Aksorn Graphic and Design Publishing Limited Partnership. (in Thai)

Hormsud .(2021). Handbook of acute stroke patients who receives Mechanical Thrombectomy. https://www2.si.mahidol.ac.th/division/nursing/sins/attachments/article/817/Mechanical%20Thrombectomy.pdf. (in Thai)

Klungprasri, P. (2020). Nursing care of patient acute ischemic stroke receiving antithrombolytic: Case study 2 case. Mahasarakham Hospital Journal, 17(3), 119-130. (in Thai)

Kongpiam, D. (2015). Nursing care of the ischemic stroke patients with thrombolysis. Mahasarakham Hospital Journal, 12(2), 49-58. (in Thai)

Marler, J. R. (1995). The national institute of neurological disorders and stroke rt-PA stroke study group: Tissue plasminogen activator for acute ischemic stroke. N Engl J Med, 333, 1581-1587.

Ministry of Public Health .(2023). Stroke patient report, fiscal year 2021-2023. https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php &cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=3092c3c3250ae67155f7e134680c4152. (in Thai)

Mungtaweepongsa, S. (2022). Stroke and critical neurology. 3rd edition. Bangkok: Thammasat University. (in Thai)

Neurological Institute of Thailand. (2019). Clinical Practice Guidelines for Ischemic Stroke. 1st edition. Bangkok. Department of Medical Services, Ministry of Public Health. (in Thai)

Pobsuk, T. (2020). Factor delaying intravenous thrombolytic treatment with acute ischemic stroke patients in Chonburi Hospital. Chonburi Hospital Journal, 45(3), 191-198.

Ratchaburi Hospital. (2023). Stroke patient report, fiscal year 2021-2023. Ratchaburi Hospital. (in Thai)

Sittiviwatwong, N. (2022). Nursing Care of Cerebrovascular Accident with Thrombolytic Drugand Mechanical Thrombectomy: A Case Study. Singburi Hospital Journal, 31(2), 216-230. (in Thai)

Thayabaranathan, T., Kim, J., Cadilhac, D. A., Thrift, A. G., Donnan, G. A., Howard, G., Howard, V., Rothwell, P., M., Feigin, V., Norrving, B., Owolabi, M., Pandian, J., Liu, L. & Olaiya, M. T. (2022). Global stroke statistics 2022. International Journal of Stroke, 17(9), 946-956.

Thiamkao, S. (2023). Incidence of stroke in Thailand. Thai Journal of Neurology, 37(4), 54-60. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-05

ฉบับ

บท

บทความกรณีศึกษา