ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • นุจรีย์ ภู่ระย้า

คำสำคัญ:

การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด, ผู้สูงอายุ, โรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับพฤติกรรมควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความรอบรู้ทางสุขภาพ  การสื่อสารทางสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคมของผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  และปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์                  กลุ่มตัวอย่างเป็นสูงอายุโรคเบาหวาน จำนวน 119 คน  เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน  ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ  ผลการวิจัย พบว่า

  1. ระดับพฤติกรรมควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความรอบรู้ทางสุขภาพ การสื่อสารทางสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคม  โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง  (M = 3.21, SD = 0.64;  M = 2.81, SD = 0.55 ; M= 3.34, SD = 0.51; M = 3.13, SD = 0.42)
  1. การสื่อสารทางสุขภาพเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสูงสุด (Beta = .648, p< .01) รองลงมา คือ การสนับสนุนทางสังคม (Beta =.572, p<.05) และความรอบรู้ทางสุขภาพ (Beta= .487, p< .05) ตามลำดับ โดย 3 ตัวแปร สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดร้อยละ 60.20

ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้สูงอายุ พยาบาลวิชาชีพควรคำนึงถึงการสื่อสารทางสุขภาพเป็นสำคัญ ร่วมกับการส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคมและความรอบรู้ ทางสุขภาพเพื่อเพิ่มแนวโน้มการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไปในทางที่เหมาะสม

References

Alavi, M., Molavi, R., & Eslami, P. (2018). A structural equation model of self-care activities in diabetic elderly patients. Iranian Journal of Nursing and Midwifery Research, 23(1), 61-65.

Booranaklas, W. (2017). Correlation between self-care behaviors, family relationship, and happiness of thae elderly at community saimai destrict in Bangkok metropolitan. Journal of The Police Nurse, 9(2), 25-33. (in Thai)

Chayarut, P., Roojanavech, S., & Chatdokmaiprai, K. (2019). The effects of health risk communication program among diabetic retinopathy patients in a community Samut Sakhon Province. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 20(3), 206-217. (in Thai)

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A. G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41(4), 1149-1160.

Hinkle, D. E. (1998). Applied statistics for the behavior sciences (4th ed.). New York: Houghton Mifflin.

House, J. S. (1981). Work stress and social support. Boston: Addison-Wesley.

Intarakamhang, U., & Kwanchuen, Y. (2016). The development and application of the ABCDE-health literacy scale for Thais. Asian Biomedicine, 10(6), 587-594.

Jaseicha, R., & Kanokthet. (2018). The Multi-level causal factors affecting of self-care behaviors among the elderly with type2 diabetes and fasting blood sugar (fbs) with uncontrolled condition: A case of Phichit Province. EAU HERITAGE JOURNAL SCIENCE and Technology, 13(2), 145-158.

Khankaew, W., Thanaboonpuang, P., Intana, J. (2021). Selected factors affecting medication adherence among older patient with type 2 diabetes in Mueang District, Ratchaburi Province. Journal of Research for Health Improvement and Quality of Life, 1(1), 1-12.

Ministry of Public Health .(2023). Diabetes patient report, fiscal year 2021-2023. https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=cefa42b9223ec4d1969c5ce18d762bdd#

Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine, 67(12), 2072-2078.

Nutbeam, D. (2009). Defining and measuring health literacy: what can we learn from literacy studies?. International journal of public health, 54, 303-305.

Ratzan, S. C., Payne, J. G., & Bishop, C. (1996). The status and scope of heath communication. Journal of Health Communication, 1(1), 25 -41.

Sisaaad, B. (2013). Introduction to research (9th ed.). Bangkok : Suwiriyasan Publisher. (in Thai)

Suksri, S., & Settheetham, D. (2017). Health Literacy and Self Care Related to Quality of Life of Elderly In Amnatcharoen Municipality Amnatcharoen Province. KKU RESEARCH JOURNAL (GRADUATESTUDY), 17(4), 73-84.

World Health Organization. (2021). The World Health Organization Report. WHO: Geneva, Switzerland;

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-11