การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่มีโรคร่วมแพ้ภูมิตัวเอง: กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย , โรคแพ้ภูมิตัวเอง , ทฤษฎีการปรับตัวของรอยบทคัดย่อ
กรณีศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่มีโรคร่วมแพ้ภูมิตัวเอง ตามทฤษฎีการปรับตัวของรอย โดยศึกษากรณีศึกษาแบบเฉพาะเจาะจง 2 ราย ที่เข้ารับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลสกลนคร รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนและการซักประวัติจากผู้ป่วยและญาติ ดำเนินการวางแผนการพยาบาลโดย ประยุกต์แนวคิดทฤษฎีการปรับตัวของรอย ตั้งแต่ การประเมิน การวินิจฉัยการพยาบาล การวางแผน การปฏิบัติการพยาบาล สรุปและการประเมินผลทางการพยาบาล ผลการศึกษา พบว่า
ผู้ป่วยเพศหญิงทั้ง 2 ราย มีโรคประจำตัวคือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง ซึ่งได้รับการส่งต่อมาโรงพยาบาลสกลนครหลังได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย และเป็นผู้ป่วยรายใหม่ทั้ง 2 ราย ที่ต้องได้รับการทำหัตถการใส่สายสวนหลอดเลือดดำชนิดชั่วคราว เพื่อรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมแบบเร่งด่วน จึงทำให้มีการดูแลผู้ป่วยวิกฤตได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น การเฝ้าระวังความเสี่ยงในการดูแลผู้ป่วย ต้องเข้าถึงการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมให้รวดเร็วที่สุด เพื่อชะลอการเสื่อมของไตและให้ไตสามารถกลับมาทำหน้าที่ได้เร็วที่สุดและเป็นแนวทางพัฒนาคุณภาพบริการ เพื่อป้องกันและลดความรุนแรงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
References
Chen, S., Chen, H., Liu, Z., Zhang, H., Hu, W., Tang, Z., Liu, Z., (2015). Pathological spectrums and renal prognosis of severe lupus patients with rapidly progressive glomerulonephritis. Rheumatol Int, 35(4), 709-17.
International Society of Nephrology: ISN global kidney health atlas 2019. www.theisn.org/global-atlas.
Kamphuis, S., & Silverman, E. D. (2010). Prevalence and burden of pediatric-onset systemic lupus erythematosus. Nat Rev Rheumatol, 6(9), 538-46.
Rijnink, E.C., Teng, Y. K. O., Wilhelmus, S., Almekinders, M., Wolterbeek, R., Cransberg, K., et al. (2017). Clinical and histopathologic characteristics associated with renal outcomes in Lupus Nephritis. Clin J Am Soc Nephrol, 12(5), 734-43.
Roy, C., Andrews, H. A. (1999). The roy’s adaptation model. 2 nd ed. Stamford: Appleton & Lange.
Shrestha, N., Gautam, S., Raj Mishra, S. S., Virani, S., Ram Dhungana, R. (2022). Bunden of chronic kidney disease in the general population and high-risk groups in South Asia: A Sytematic review and meta-anlysis. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0258494 October 14,2021
Van der Sluijs, P. J., Aten, E., Barge-Schaapveld, D. Q. C. M., Bijlsma, E. K., Bökenkamp-Gramann, R., DonkerKaat, L. et al. (2019). Putting genome-wide sequencing in neonates into perspective. Genet Med, 21(5), 1074-82.
Webster, A. C., Nagler, E. V., Morton, R. L., & Masson, P. (2017). Chronic kidney disease. Lancet, 389(10075), 1238-1252.
Wichitsunthornkul, K. (2022). Epidemiology and review of preventive measures for chronic kidney disease. http://thaincd.com/document/file/download/knowledge.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทีตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี และผลงานวิชาการหรือวิจัยของคณะผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นของบรรณาธิการหรือผู้จัดทํา