การพัฒนารูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลราชบุรี
คำสำคัญ:
รูปแบบการพยาบาล , ปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ , ห้องผู้ป่วยหนักบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ แบ่งการวิจัยเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาการปฏิบัติการพยาบาล ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการพยาบาลป้องกันปอดอักเสบ และ ระยะที่ 3 ทดลองใช้และประเมินรูปแบบฯ ในพยาบาลวิชาชีพ 20 คน และผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ 48 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบเท่า ๆ กันในห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลราชบุรี เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย รูปแบบการพยาบาล แบบวัดความรู้ แบบประเมินการปฏิบัติ และแบบบันทึกผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาด้วยค่าดัชนีความสอดคล้อง (0.8–1.0) ความเชื่อมั่นของแบบวัดความรู้ (KR-20 = 0.75) และแบบประเมินการปฏิบัติฯ (Cronbach’s alpha = 0.96) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการทดสอบค่าที ผลการศึกษา พบว่า
หลังทดลอง พบว่า 1) พยาบาลกลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้และการปฏิบัติสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) 2) ผู้ป่วยกลุ่มทดลองไม่พบการติดเชื้อปอดอักเสบ และ 3) ระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
สรุปได้ว่ารูปแบบการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นช่วยเพิ่มความรู้และการปฏิบัติของพยาบาล ลดอัตราการติดเชื้อ และลดระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจ ควรมีการติดตามผลในระยะยาวเพื่อประเมินประสิทธิผลอย่างต่อเนื่องในการดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพและปลอดภัยยิ่งขึ้น
References
Centers for Disease Control and Prevention. (2023). Healthcare-associated infections: Ventilator-associated events. https://www.cdc.gov/hai/vap
Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). John Wiley & Sons.
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). Lawrence Erlbaum Associates.
Esperatti, M., Ferrer, M., & Torres, A. (2010). Nosocomial pneumonia in the intensive care unit. Clinics in Chest Medicine, 31(1), 103–120. https://doi.org/10.1016/j.ccm.2009.09.009
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175–191. https://doi.org/10.3758/BF03193146
Hertzog, M. A. (2008). Considerations in determining sample size for pilot studies. Research in Nursing & Health, 31(2), 180–191. https://doi.org/10.1002/nur.20247
Jirawatkul, A. (2014). Principles of statistics for health research (3rd ed.). Khon Kaen University. (In Thai).
Julious, S. A. (2005). Sample size of 12 per group rule of thumb for a pilot study. Pharmaceutical Statistics, 4(4), 287–291. https://doi.org/10.1002/pst.185
Klompas, M., Branson, R., Eichenwald, E. C., Greene, L. R., Howell, M. D., & Lee, G. (2022). Strategies to prevent ventilator-associated pneumonia in acute care hospitals: 2022 update. Infection Control & Hospital Epidemiology, 43(4), 375–387. https://doi.org/10.1017/ice.2021.234
Klompas, M., Branson, R., Eichenwald, E. C., Greene, L. R., Howell, M. D., & Lee, G. (2022). Strategies to prevent ventilator-associated pneumonia in acute care hospitals: 2022 update. Infection Control & Hospital Epidemiology, 43(7), 838–846. https://doi.org/10.1017/ice.2022.75
Kolb, D. A. (1984). Experiential learning: Experience as the source of learning and development. Prentice Hall.
Kollef, M. H., Micek, S. T., & Torres, A. (2023). Prevention and management of ventilator-associated pneumonia: A review. Critical Care Medicine, 51(4), 567–575.
https://doi.org/10.1097/CCM.0000000000005821
Mori, H. (2015). Oral care to prevent ventilator-associated pneumonia. Nursing in Critical Care, 20(1), 6–10. https://doi.org/10.1111/nicc.12107
Rosenthal, V. D., Al-Abdely, H. M., El-Kholy, A. A., & Leblebicioglu, H. (2022). International nosocomial infection control consortium report, data summary of 50 countries for 2015–2020: Device-associated module. American Journal of Infection Control, 50(3), 238–244. https://doi.org/10.1016/j.ajic.2021.09.005
Ratchaburi Hospital. (2023). Hospital-acquired infection surveillance report 2021–2023. Infection Control Unit, Ratchaburi Hospital.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทีตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี และผลงานวิชาการหรือวิจัยของคณะผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นของบรรณาธิการหรือผู้จัดทํา