การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกเพื่อการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันในโรงพยาบาล
คำสำคัญ:
รูปแบบการนิเทศ, การพยาบาลในคลินิก, โรคหลอดสมองตีบหรืออุดตันบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกและศึกษาผลของการใช้รูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกเพื่อการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ในโรงพยาบาล การวิจัยประกอบด้วย 6 ระยะ ได้แก่ สำรวจสภาพปัญหา พัฒนา (ร่าง) รูปแบบการนิเทศ ทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ ปรับปรุงรูปแบบ นำรูปแบบไปใช้จริง ปรับปรุงและยืนยันรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลหัวหน้างาน 8 คน พยาบาลวิชาชีพ 64 คน และผู้ดูแลผู้ป่วย 497 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรู้ แบบประเมินปฏิบัติการนิเทศ แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน แนวปฏิบัติทางคลินิก แบบสอบถามความพึงพอใจ และเครื่องมือติดตามภาวะแทรกซ้อน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา การทดสอบที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ การเพิ่มพูนความรู้ การทบทวนเป้าหมายและแผนนิเทศ แรงจูงใจ การสอน การสนับสนุนการปฏิบัติงาน การเข้าถึงข้อมูลและผู้เกี่ยวข้อง แนวทางการดูแลโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน และการประเมินผลการปฏิบัติงาน หลังจากใช้รูปแบบฯ พยาบาลมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และการปฏิบัตินิเทศสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พยาบาลผู้นิเทศ พยาบาล และญาติผู้ป่วยมีความพึงพอใจระดับสูง (M=3.96, SD=0.52; M=4.29, SD=0.39; M=3.65, SD=0.69)
ดังนั้นผู้บริการทางการพยาบาลควรนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในการนิเทศทางการพยาบาลเพื่อพัฒนาความรู้ สร้างแรงจูงใจ และเพิ่มประสิทธิภาพในการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน
References
Alexander, G. (2010). behavioural coaching the GROW model. In J. Passmore (Ed.), Excellence in coaching the industry guide (2 nd ed., pp. 83-93). Philadelphia.
Chinwattanakul, S. (2020). Cerebrovascular disease, stenosis, rupture, blockage, the sooner you know, the more chance you have to survive. Samitivej Public Company. Limited. https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/Cerebrovascular disease.
Chirawatkul, A. (2014). How to choose appropriate statistics in research. Bangkok: Wittayapat.
Department of Disease Control. (2024, October 29), Department of Disease Control campaigns for World Stroke Day 2024, inviting people to set goals for regular exercise, prevent stroke, and reduce risk factors for noncommunicable diseases. https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=47206&deptcode=brc&news_views=1589
Proctor, B. (2001). Training for the supervision alliance attitude, skills and intention In J.R. Cutcliffe, T. Butterworth and B. Proctor (Eds), Fundamental themes in clinical supervision: (pp25-46). London- routledge.
Phaholpolpayuhasena Hospital information center .(2024). Report of stroke patient in 2020-2023. (in Thai)
Phruksawan, W., Kanchinna, O.,Panyainkaew, P., Ruedee, S., & Phonwiang, Y. (2022). Development of a clinical supervision model to prevent falls in cancer patients admitted to the hospital. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Suphan Buri, 5(1), thaijo.org/index.php/SNC/article/view/258463/176166 (in Thai)
Ruammek, L. (2020). Clinical supervision under nursing standards. General Meeting 2020 of Thailand Nursing Association.
Songkrak, S. Khaikaew, S., & Phutthiankun, B. (2018). The effect of a clinical supervision program for primary nursing administrators at a tertiary hospital. In Phetchaburi Province, Journal of Charoenkrung Pracharak Hospital, 14(2), 35-47.
Tharapaisansuk, O. (2018). The results of supervision according to the Grow coaching model of junior nursing administrators at private hospitals. Master's thesis, Christian University. http://library.christian.ac.th/thesis/document/T043456.pdf (in Thai)
Trapyen, K., Chaturongchok, K., & Tantiworaskul, K. (2019). Development of nursing supervision model in clinic to prevent pressure ulcers, Ban Pong Hospital, Journal of Region 4-5, https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/231704/157986 (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทีตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี และผลงานวิชาการหรือวิจัยของคณะผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นของบรรณาธิการหรือผู้จัดทํา