ประสิทธิผลของการพอกเข่าด้วยตำรับสมุนไพรต่ออาการปวดเข่าในผู้ป่วย โรคจับโปงแห้งเข่า โรงพยาบาลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • ศิริพร แย้มมูล โรงพยาบาลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์
  • เจษฎา อุดมพิทยาสรรพ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง
  • อิศรา ศิรมณีรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

การพอกยา, สมุนไพร, ข้อเข่าเสื่อม

บทคัดย่อ

โรคจับโปงแห้งเข่าหรือเทียบกับทางแผนปัจจุบันคือ โรคข้อเข่าเสื่อม คือการเสื่อมสภาพของผิวข้อ สัมพันธ์กับการเสื่อมของร่างกาย เนื่องจากอายุมากขึ้นหรืออาจมีสาเหตุจากเคยมีกระดูกหักหรือบาดเจ็บมาก่อน หรือมีการติดเชื้อที่ ข้อเข่ามาก่อน ทาให้ผิวข้อขรุขระไม่เรียบและมีกระดูกงอก ข้อเข่าเสื่อมที่สัมพันธ์กับอายุมากขึ้นเริ่มพบเมื่ออายุ 45 ปีขึ้นไป อาการมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการพอกเข่าด้วยตารับสมุนไพรต่ออาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคจับโปงแห้งเข่า โรงพยาบาล บ้านโคก ตำบลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคจับโปงแห้งเข่า กลุ่มตัวอย่างทำการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ได้รับการวินิจฉัยโรคว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมจริง เป็นข้อเข่าเสื่อมชนิดปฐมภูมิโดยมีความเจ็บปวดระดับปานกลางถึงมาก โดยผ่านการตรวจจากแพทย์แผนปัจจุบัน โรงพยาบาล บ้านโคก อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนาน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม แบบประเมินความรู้สึกอาการปวดเข่า แบบบันทึกการวัดองศา การเคลื่อนไหวของข้อเข่า ตั้งแต่ขั้นตอนการตรวจก่อนและหลังการพอกรักษา ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ผลการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ โดยใช้สูตรแบบเพียร์สัน (Pearson product – moment correlation ) แบบบันทึก การวัดองศาการเคลื่อนไหวของเข่า ค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์เท่ากับ 0.95 โดยผู้ศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ณ คลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ Paired sample t-test ผลการวิจัยพบว่า

ผลการศึกษาประสิทธิผลของการพอกเข่าด้วยตำรับสมุนไพรต่ออาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคจับโปงแห้งเข่า โรงพยาบาลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ระดับอาการปวดเข่าของผู้ป่วยลดลง ค่าเฉลี่ยระดับอาการปวดเข่าของกลุ่มตัวอย่างระหว่างก่อนการพอกครั้งที่ 1 และหลังการพอครั้งที่ 5 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 ค่าเฉลี่ยองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่าของกลุ่มตัวอย่างระหว่างก่อนการพอกครั้งที่ 1 และหลังการพอกครั้งที่ 5 ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กรวินท์วิชญ์ บุญพิสุทธินันท์ และคณะ. (2557). การพัฒนาเป็นนวัตกรรม Yapox ผลิตภัณฑ์บรรเทาอาการปวดอักเสบจากตำรับยาสมุนไพรพอกดูดพิษ. ปทุมธานี:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (2549). แบบประเมินความรู้สึกอาการปวด.กรุงเทพฯ.

งานเวชระเบียน. (2559). รายงานสถิติของผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าในโรงพยาบาลบ้านโคก. อุตรดิตถ์: โรงพยาบาลบ้านโคก.

ถาวร ศิริสวัสดิ์และคณะ. (2554). การศึกษาผลของการนวดแบบราชสำนักในการบรรเทาอาการปวดเข่าโรคข้อเข่าเสื่อมผู้สูงอายุโรงพยาบาลบ้านลาด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. นนทบุรี: วิทยาเขตเทคโนโลยีการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก สถาบันสบทบคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร.

ธวัช ประดับศรี. (2553). การศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมต่อการประคบสมุนไพรในคลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลบ้านลาด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี.นนทบุรี: วิทยาเขตเทคโนโลยีการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก สถาบันสบทบคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร.

ธัญกร พรามนุช และคณะ. (2554). ผลการนวดแบบราชสำนักร่วมกับการประคบสมุนไพรสดในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมในคลินิกแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลสรรคบุรี อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท . นนทบุรี: วิทยาเขตเทคโนโลยีการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก สถาบันสบทบคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร.

ผัสชา สมผุด. (2558). ผลของการพอกเข่าด้วยตำรับยาพอกต่ออาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคจับโปงน้ำเข่าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหลุมพอ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่. นนทบุรี: วิทยาเขตเทคโนโลยีการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก สถาบันสบทบของคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร.

พะยอม สุวรรณ. (2543). ผลของการประคบร้อน ด้วยสมุนไพรต่ออาการปวดข้อ ข้อฝืด และความลำบากในการทำกิจกรรมในผู้ป่วย โรคข้อเข่าเสื่อม. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศ. (2557). แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุข โรคข้อเข่าเสื่อม. พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2560, จาก www.rcost.or.th

วรรณ์ดี แสงประทีปทอง. (2548). การพัฒนาเครื่องมือและการเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมิน. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมชาย อรรฆศิลป์และอุทิศ ดีสมโชค. (2541). โรคข้อเข่าเสื่อม. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2559). อุบัติการณ์โรคข้อเข่าเสื่อม. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2561, จาก https://www.nhso.go.th/frontend/NewsInformationDetail.aspx?newsid=MjA0OQ==

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2560). แผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาภูมิปัญญาไทสุขภาพวิถีไท ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2560-2564). สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2561, จากhttps://www.eppo.go.th/index.php/th/graph.../17073_665338b6b1117a2c02fe697ab09ff0e2

อดิศักดิ์ สุมาลี. (2549). เอกสารการสอนชุดวิชา นวดแผนไทย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Pereira, D., et al. (2011). The effects of osteoarthritis definition on prevalence and incidence estimates: a systematic review. Osteoarthritis and Cartilage. (19) : 1270-1285.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-01