การบริหารงานบุคคลของโรงพยาบาล ตามทัศนะบุคลากรโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ปุณยวีร์ ธนะโชคชัยพงศ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17

คำสำคัญ:

การบริหารงานบุคคล, ทัศนะบุคลากร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานบุคคลของโรงพยาบาล ตามทัศนะบุคลากรโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี 2) เปรียบเทียบการบริหารงานบุคคลของบุคลากรโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการบริหารงานบุคคลของบุคลากรโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 263 คน ที่ได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง สุ่มแบบแบ่งชั้น โดยการเปิดตารางของ Taro Yamane จากประชากร จำนวน 764 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นผู้บริหาร และผู้ทรงคุณวุฒิภายในโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 24 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามเรื่องการบริหารงานบุคคล จำนวน 40 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.995 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเชิงลึก จำนวน 4 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย มัฌชิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานได้แก่ การทดสอบค่าที ค่าเอฟ และวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1 ) การบริหารงานบุคคลของบุคลากรโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี รวม 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 3.71, S.D.= 0.63) เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการธำรงรักษาและป้องกันทรัพยากรมนุษย์ (gif.latex?\bar{X}=3.74, S.D.= 0.65) รองลงมา ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (gif.latex?\bar{X}= 3.73, S.D.= 0.71) และด้านการจัดหาทรัพยากรมนุษย์ (gif.latex?\bar{X}= 3.71, S.D.= 0.71) ส่วนค่าเฉลี่ยต่าสุด ได้แก่ ด้านการให้รางวัลทรัพยากรมนุษย์ (gif.latex?\bar{X}=3.67, S.D.= 0.70) 2) พนักงานโรงพยาบาลที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้และประสบการณ์ทางานที่ต่างกัน มีทัศนะต่อการบริหารงานบุคคลของโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ไม่แตกต่างกัน 3) ผลการศึกษา ปัญหา อุปสรรค ในการบริหารงานบุคคลของโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า มีการใช้ระบบอุปถัมภ์ในจัดหาบุคลากรเข้าทำงาน คัดเลือกเครือญาติเข้ามาทำงาน เรียกรับผลประโยชน์ในการบรรจุบุคลากร ไม่สนับสนุนการพัฒนาบุคลากร จัดสรรงบประมาณในการพัฒนาบุคลากรไม่เพียงพอ ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรไม่ต่อเนื่อง จัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอต่อการจัดสวัสดิการให้บุคลากรอย่างเหมาะสมกับค่าครองชีพในปัจจุบัน การพิจารณาความดีความชอบ เห็นแต่ความสำคัญกับเครือญาติ พนักงานไม่มีความผูกพันกับองค์กร มีการโอนหรือย้ายบ่อย ไม่มีนโยบายสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้บริหารกับบุคลากร ไม่มีนโยบายให้คำปรึกษาแก่บุคลากรในการโอนย้าย ปรับเปลี่ยนตำแหน่ง ส่วนข้อเสนอแนะ ผู้บริหารควรเว้นจากอคติ ควรใช้หลักสังคหวัตถุ 4 และปฏิบัติตามหลักเหฏฐิมทิศ ใช้หลักธรรมสำหรับนักปกครองนักบริหารที่ดี หลักความถูกต้อง มีการพิจารณาวินิจฉัยปัญหา การทำการตัดสินใจและสั่งการด้วยความถูกต้อง รู้จักคิด พูด ทำกิจกรรมและปฏิบัติงานได้เหมาะสม

References

กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์. (2524). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

จรัสศรี จริยากูล และคณะ. (2550). แนวคิดการพัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลข้าราชการตุลาการ.รายงานวิชาการ. ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมวิทยาลัยข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม.

ธงชัย สันติวงษ์. (2536). การบริหารงานบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์.

พรนพ พุกกะพันธุ์. (2544). ภาวะผู้นาและการจูงใจ. กรุงเทพมหานคร : จามจุรี.

รภัสสา พานิกุล. (2552). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการจัดหางานของรัฐตามหลักสังคหวัตถุ : กรณีศึกษาศูนย์จัดหางานกรมการจัดหางานกระทรวงแรงาน.พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วรัญรดา กุมรีจิตร. (2554). การบริหารงานบุคคลของเทศบาลตำบล ในเขตอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกาแพงเพชร. สารนิพนธ์สาขารัฐศาสตร์การปกครอง. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

วิชิต โพธาราม .(2547). ปัญหาการบริหารงานของเทศบาลตำบลในเขตอำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการเมืองการปกครอง. 4 (2)

ศิวพร โยธะคง. (2550). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานบุคคล ขององค์การบิหารส่วนตำบล : ศึกษากรณีตาบลศรีโครต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2541). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสนาะ ติเยาว์. (2543). การบริหารงานบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรทัย จันทร์เหลือง. (2548). ปัญหาในการบริหารงานบุคคลของเทศบาลตำบลเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-01