การศึกษาเปรียบเทียบระดับความปวดเฉียบพลันแบบรุนแรงหลังผ่าตัด 1 ชั่วโมงระหว่างกลุ่มที่ได้รับแนวทางการระงับปวดแบบเดิมและแบบใหม่ในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดทางช่องท้อง โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
ผ่าตัดทางช่องท้อง, ความปวดเฉียบพลัน, แนวทางการระงับปวดหลังผ่าตัดบทคัดย่อ
วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยการทดลองทางคลินิกแบบสุ่ม เพื่อเปรียบเทียบสัดส่วนผู้ป่วยที่มีความปวดระดับรุนแรงในนาทีที่ 60 หลังผ่าตัดระหว่างกลุ่มที่ได้รับแนวทางการระงับปวดแบบเดิมกับแบบใหม่ การทดลองทางคลินิกแบบสุ่ม เปรียบเทียบ 2 กลุ่มและอำพรางฝ่ายเดียว ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้องและได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีการดมยาสลบในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี เก็บข้อมูลในห้องพักฟื้น ตั้งแต่ 1 มกราคม 2559 ถึง 31 ตุลาคม 2561 จำนวน 204 คน โดยแบ่งกลุ่มแบบสุ่มด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นกลุ่มแนวทางการระงับปวดแบบเดิม (102 ราย) ผู้ป่วยจะได้รับมอร์ฟีน 3 มิลลิกรัมทางหลอดเลือดดำทุก 10 นาที เมื่อคะแนนปวดมากกว่า 3 คะแนน และกลุ่มแนวทางการระงับปวดแบบใหม่ (102 ราย) ผู้ป่วยจะได้รับมอร์ฟีน 2, 4 และ 6 มิลลิกรัม ตามคะแนนปวด 1 – 3, 4 – 6 และ 7 – 10 คะแนนตามลำดับ บันทึกคะแนนปวดที่นาทีที่ 5, 30, 45 และ 60 นาทีเครื่องมือที่ใช้คือแบบบันทึกข้อมูลพื้นฐาน แบบข้อมูลการระงับความรู้สึกระหว่างการผ่าตัด และแบบบันทึกข้อมูลหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติไคสแควร์
ผลการศึกษา ภายหลังผ่าตัดนาทีที่ 45 กลุ่มที่ได้รับแนวทางการระงับปวดแบบใหม่ มีระดับความปวดน้อย ร้อยละ 56.9 ปวดปานกลางร้อยละ17.6 กลุ่มที่ได้รับการระงับปวดแนวทางเดิมมีระดับความปวดน้อย ร้อยละ 38.2 ปวดปานกลางร้อยละ 37.5.ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่า p=0.009) ส่วนนาทีที่ 5, 30 และ 60 ทั้ง 2 กลุ่ม มีระดับความปวดแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญโดยนาทีที่60 พบอาการปวดระดับรุนแรงในกลุ่มใหม่และเก่าคือ ร้อยละ 7.8 และ 5.9 ตามลำดับพบอาการคลื่นไส้อาเจียนเพียง 1 รายในกลุ่มแนวทางใหม่ ไม่พบอาการข้างเคียงอื่นๆที่รุนแรง เช่น กดการหายใจในทั้ง 2 กลุ่ม
สรุป แนวทางการระงับปวดแบบใหม่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการระงับปวดผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้องในห้องพักฟื้นที่มีความปวดระดับรุนแรง เพราะสามารถลดอาการปวดที่ 45 นาทีหลังผ่าตัดได้ดีกว่าแนวทางการระงับปวดแบบเดิม โดยไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง
References
จุฑารัตน์สว่างชัย และศรีสุดางามขำ. (2560). ความปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้องโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 11, 1-11.
นัทธมน วุทธานนท์, วัชราภรณ์ หอมดอก, สุ พรรณี เตรียมวิศิษฎ์, นงนุชบุญอยู่, นาทฤดี พงษ์เมธา และลดารัตน์ ลาภินันท์. (2551). การพัฒนาการจัดการความปวดทางการพยาบาลในผู้ป่วยศัลยกรรม,วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 16(4), 1-11.
วิชัย อิทธิชัยกุลฑล. (2554). แนวทางการพัฒนารากระงับปวดเฉียบพลัน . [ม.ป.ป.]
บุญญาภัทร ชาติพัฒนานันท์. (2560). การจัดการความปวดแผลเรื้อรังและเฉียบพลันจากหลักฐานเชิงประจักษ์สู่การปฏิบัติ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 37(3), 144-152.
ปิยะดา บุญทรง. OPIOIDS. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2562 จากวิกิพีเดีย http://www.med.cmu.ac.th/dept/anes/2012/images/Lecture2015/Opioids.pdf.
ปิยะดา บุญทรง และคณะ . (2559). การสำรวจผลการระงับปวดหลังผ่าตัดที่ห้องพักฟื้นของโรงพยาบาล มหาราชนครเชียงใหม่. วิสัญญีสาร, 42, 21-32.
มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล. (2550).พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
ยศพล เหลืองโสมนภา และศรีสุดางามขำ. (2556). ความสนใจต่อความปวด. วารสารศูนย์การศึกษา แพทยศาสตร์คลินิกพระปกเกล้า, 30, 83-93.
สุกัญญา เดชอาคม, อังศุมาศ หวังดี และอัญชลา จิระกุลสวัสดิ์. (2557). การพยาบาลผู้ป่วยในห้องพักฟื้น. วิสัญญีสาร, 40, 46-62.
หร่อกีบ๊ะ บุญโส๊ะ, สุมาลี ฉันทวิลาส และมาริสา สุวรรณราช. (2557). การพัฒนาและประเมินผลความเป็นไปได้ในการนาแนวปฏิบัติไปใช้ในการจัดการกับความปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 1, 43-64
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว