การเปรียบเทียบความสามารถในการใช้งานข้อเข่าระหว่างก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการบริหารข้อเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ดารารัตน์ นวมทอง โรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช
  • วรรณภา ลีพิทักษ์วัฒนา โรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช
  • อินทร์ธีรา พัฒน์ปรียากุล โรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม, โปรแกรมการบริหารข้อเข่า, ความสามารถในการใช้งานข้อเข่า

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้งานข้อเข่าก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการบริหารข้อเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมโรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่มารับการตรวจรักษาแผนกผู้ป่วยนอกออร์โธปิดิกส์โรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช จำนวน 30 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือโปรแกรมการบริหารข้อเข่า แบบประเมินความสามารถในการทำงานของข้อเข่า ฉบับภาษาไทย เก็บข้อมูลระยะก่อนการทดลอง หลังทดลองสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างความสามารถในการใช้งานข้อเข่าก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการบริหารข้อเข่าด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนซ้ำ

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการใช้งานข้อเข่าดีขึ้นหลังจากได้รับโปรแกรมการบริหารข้อเข่าในสัปดาห์ที่ 4 และดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในสัปดาห์ที่ 8 ดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการบริหารเข่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

ข้อเสนอแนะ โปรแกรมการบริหารข้อเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ช่วยให้ความสามารถในการใช้งานข้อเข่าดีขึ้น เมื่อปฏิบัติอย่างต่อเนื่องทุกวัน โปรแกรมการบริหารข้อเข่า เป็นการส่งเสริมสุขภาพในรูปแบบที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมและสามารถใช้บริหารกล้ามเนื้อเข่าด้วยตนเองที่บ้านได้สะดวก

References

ชัญญาวีร์ ไชยวงศ์, วีระกาญจน์ สุเมธานุรักขกูล, ดารา พร รักหน้าที่, รจนา วรวิทย์ศรางกูร และรุ่งนภา ประยูรศิริศักดิ์.(2559). ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อสมรรถภาพทางกายและการลดความเจ็บปวดของผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ,34(4),133-141.

ธนบดี ชุ่มกลาง และรุจิรา ดวงสงค์.(2555).ผลของโปรแกรมส่งเสริมออกกำลังกายโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการบรรเทาความปวดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา.วารสารวิจัยมข.,12(1), 45-56. 

นงพิมล นิมิตอานันท์.(2557). สถานการณ์ทางระบาดวิทยาและการประเมินความเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อมในคนไทย.วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 185-194.

นารีรัตน์ สังวรวงษ์พนา.(2560). การบริหารข้อเข่าเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฎเพชรบุรีวิจัยเพื่อแผ่นดินไทยที่ยั่งยืน ครั้งที่ 7 สหวิทยาการสู่ไทยแลนด์ 4.0 เล่ม 2,15 กรกฎาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.เพชรบุรี: สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

นัยนา สังคม.(2551). ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการออกกำลังกายร่วมกับการให้ความรู้ต่อความรุนแรงของอาการของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมวัยผู้ใหญ่.(วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

เบญจมาศ ม่วงทอง.(2544). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า.(วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).

ปารวีร์ มั่นฟัก, ราตรี สุพรมมา, สุวัฒนา เกิดม่วง, อนุสรา คงบัว และอรนุช นุ่นละออง.(2561).ผลของโปรแกรมการบริหารกล้ามเนื้อเข่าด้วยยางยืดต่อการบรรเทาความรุนแรงของภาวะข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(1),93-109.

ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย.(2554). แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุขโรคข้อเข่าเสื่อมพ.ศ.2554.สืบค้นเมื่อ20 มกราคม 2561, จาก www.chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/document/1606610146554495425.pdf

โรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช.(2560).เวชสถิติทะเบียนผู้ป่วย สุพรรณบุรี: โรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช.

วิโรจน์ กวินวงศ์โกวิท และคณะ.(ม.ป.ป.).คู่มือโรคข้อเข่าเสื่อม-คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม2561.จาก https://med.mahidol.ac.th/ortho/sites/default/files/public/file/pdf/knee_book_0.pdf

ศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ จังหวัดชลบุรี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.(2554).คู่มือการดูแลตนเองโรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหวิชาชีพ.ชลบุรี: บริษัท บียอนด์ พับลิสชิ่ง จากัด.

สุชิตา ปักสังคเน, อุดมศักดิ์ มหาวีรวัฒน์ และปิติ ทั้งไพศาล.(2554).การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองต่อการลดความเจ็บปวดและความพึงพอใจของผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม.วารสารวิจัยมช., 16(1), 1-10.

สุภาพ อารีเอื้อ และนภาภรณ์ ปิยขจรโรจน์.(2551).ผลลัพธ์ของโปรแกรมการให้ข้อมูลและการออกกำลังกายที่บ้านสำหรับผู้ป่วยโรคเข่าเสื่อม.วารสารสภาการพยาบาล,23(3),72-83.

สุรวุฒิ ปรีชานนท์ และสุรศักดิ์ นิลกานุวงศ์.(2548). ตำราโรคข้อ.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:เอส.พี.เอ็น.การพิมพ์.

Bandura, A. (1977). Self-Efficacy: Toward unifying theory of behavioral change. Phychological Review, Journal TOC,84(2),191-215.

Bandura, A. (1997).Self-Efficacy: The exercise of control. New York: W.H.Freeman and Company.

Damush, T.M.,Perkins, S.M.,Mikesky, A.E. & Roberts M.(2005). Motivational factors influencing older adults diagnosed with knee osteoarthritis to join and maintain an exercise program. Journal of Aging and Physical Activity,13(1), 45-60.

Lee,L.L., Artur,A. & Avis, M.(2008). Using self-efficacy theory to develop interventions that help older people overcome psychological barriers to physical activity: a discussion paper. Internation Journal of Nusing Studies, 45(11),1690-1699.

Team Lumenis.(12 ธันวาคม 2554).My Body Now: ประเมินดัชนีมวลกาย.สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม2561. จาก www.thelumenis.com

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-01