การศึกษาผลการปฏิบัติงานของอาจารย์พยาบาลสังกัดสถาบันการศึกษาของรัฐ
คำสำคัญ:
สถาบันการศึกษาของรัฐ, ผลการปฏิบัติงาน, อาจารย์พยาบาลบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปฏิบัติงานของอาจารย์พยาบาล สังกัดสถาบันการศึกษาของรัฐ กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจากอาจารย์พยาบาลประจำ ซึ่งปฏิบัติงานสอนภาคทฤษฎี ภาคทดลอง หรือ ภาคปฏิบัติ ในสังกัดสถาบันการศึกษาของรัฐ ในปี 2560 จำนวน 60 สถาบัน จำนวน 3,091 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้สถาบันที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 26 สถาบัน จำนวน 615 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดผลการปฏิบัติงาน 7 ด้านได้แก่ 1) ด้านการสอนและการออกแบบการเรียนการสอน 2) ด้านการวัดผลและการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ 3) ด้านการสอนภาคปฏิบัติ 4) ด้านการพัฒนาองค์ความรู้ 5) ด้านการประสานงาน 6) ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ และ 7) ด้านการรักษาวัฒนธรรม มีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงของแบบวัดผลการปฏิบัติงาน เท่ากับ .947 ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า อาจารย์พยาบาลประจำสังกัดสถาบันการศึกษาของรัฐมีผลการปฏิบัติงานระดับดีมาก คือ ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ ( =4.58 S.D.= .49) รองลงมาคือ ระดับดี ได้แก่ ด้าน การรักษาวัฒนธรรม ( =4.50 S.D.= .47) ด้านการสอนภาคปฏิบัติ ( =4.49 S.D.= .48) ด้านการสอนและการออกแบบการเรียนการสอน ( =4.43 S.D. = .49) ด้านการวัดผลและการประเมินผลการจัดการเรียน ( =4.33 S.D.= .51) ด้านการประสานงาน ( =4.31 S.D.= .52) และด้านการพัฒนาองค์ความรู้ ( =3.68 S.D.= .82) ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ผู้บริหารสถาบันการศึกษาควรตระหนักถึงปัจจัยที่สนับสนุนแก่อาจารย์พยาบาลสังกัดสถาบันการศึกษาของรัฐ ในด้านการสร้างหรือพัฒนาองค์ความรู้ใหม่
References
ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2556). กระบวนการเรียนรู้ : ความหมาย แนวทางการพัฒนา และปัญหาข้อข้องใจ.(พิมพ์ครั้งที่1).กรุงเทพมหานคร:บริษัทพัฒนา คุณภาพวิชาการ จำกัด.
บุญทิพย์ สิริธรังศรี. (2555) สภาพการจัดการศึกษาพยาบาลในประเทศไทย, วารสารพยาบาล, 61 (4) : 57-64.
บุญส่ง สุประดิษฐ์ (2560). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของอาจารย์พยาบาลสังกัดสถาบันการศึกษาของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ และ รัชนี สรรเสริญ ( 2555) การบูรณาการ: กระบวนทัศน์ในการประกันคุณภาพการศึกษา. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 5(2) : 2-13.
มณี อาภานันทิกุล วรรณภา ประไพพานิช สุปราณี เสนาดิสัย และ พิศสมัย อรทัย. (2557). จริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลไทยตามการรับรู้ของผู้บริหารทางการพยาบาล. วาสารสภาการพยาบาล, 29(2)ซ 5-20.
ระพิน ผลสุข (2558). การปฏิบัติการทางคลินิกของอาจารย์พยาบาลในประเทศไทย. วารสารพยาบาล, 64 (2) : 42-48.
รอซีกีน สาเร๊ะและคณะ ((2560). การบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและสาธารณสุขภาคใต้, 4 (3) :151-159.
วิไลวรรณ ทองเจริญ สุชาติ ตันธนะเดชา และ ปทีป เมธาคณวุฒิ (2552). องค์ประกอบและตัวบ่งชี้มาตรฐานวิชาชีพอาจารย์พยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์, 28(4) : 55-66.
วิไลวรรณ ทองเจริญ สุชาติ ตันธนะเดชา และ ปทีป เมธาคุณวุฒิ (2553). องค์ประกอบและตัวบ่งชี้มาตรฐานวิชาชีพอาจารย์พยาบาล. Journal of Nursing Science 28(4): 55-66. Supplement
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ. (2553). เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2552. (11 มกราคม 2553). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 127 ตอนพิเศษ 3 ง. หน้า 43 และเอกสารแนบท้ายประกาศ.
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (2554) เรื่อง มาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2554. (24 เมษายน 2554). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 128 ตอนพิเศษ 47 ง. หน้า 44-46.
สภาการพยาบาล (2552). ประกาศสภาการพยาบาล เรื่องสมรรถนะวิชาชีพพยาบาล. Retrieved from June, 10, 2017,from http://www.tnmc.or.th/files/2016/09/page-44708/_28294.pdf
สภาการพยาบาล (2560). รายชื่อสถาบันที่เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิตทั่วประเทศที่ได้รับการรับรองจากสภาการพยายาบาล. Retrieved June, 10, 2017, from http://www.tnmc.or.th/files/2010/12/page448/1_1_11575. pdf
สภาการพยาบาล. (2556). คู่มือการรับรองสถาบันการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2556. กรุงเทพมหานคร : จุดทอง.
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (2556). เรื่อง โครงการผลิตและพัฒนาการจัดการศึกษา สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ ปีการศึกษา 2557-2560. Retrieved June, 10, 2017, from http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program2-3.jsp.topserl= 99307592&key.
อรสา พันธ์ภักดี และคณะ. (2553). รูปแบบการจัดการศึกษาและการพัฒนาอาจารย์เพื่อผลิตพยาบาลปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงในปะเทศไทย. วารสารสภาการพยาบาล, 25 (3) : 89-107.
Beres J. (2006). Staff development to university faculty: Reflections of a nurse educator. Nursing Forum; 43(3): 141-145.
Boerner, S., Eisenbeiss, S.A. and Griesser, D. (2007). Follower behavior and organizational performance:The impact of transformational leaders. Journal of Leadership & Organizational Studies.13 (3):15-26.
Borman, W. C., & Motowidlo, S. J. (1997). Task performance and contextual performance: The meaning for personnel selection research. Human Performance, 10(2), 99-109. Retrieved from http://dx.doi.org/10.1207/s15327043hup1002_3.
Kalb, KA. (2008). Core competencies of nursing educators: Inspiring excellence in nurse educator practice. Nursing Education Perspective, 29(4): 217-219.
Meskell, P., Murphy, K. and Shaw, D. (2009). The clinical role of lecturers in nursing in Ireland: Perceptions from key stakeholder groups in nurse education on the role. Nurse Education Today, 29 (7): 784-790.
Motowidlo, S. J., & Schmit, M. J. (1999). Performance assessment in unique jobs. In D. R. Ilgen & E. D. Pulakos (Eds.), The changing nature of job performance: Implications for staffing, motivation, and development. (pp. 56–86). San Francisco, CA: Jossey-Bass.
Nardi DA, Gyurko CC. (2013). The global nursing faculty shortage: status and solutions for change. Journal Nursing Scholars. 45(3):317-26. Retrieved from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23895289
Organ, D. W. (1988). Organizational citizenship behavior: The good soldier syndrome. Lexington, MA: Lexington Books.
Potempa KM, Redman RW, Landstrom G. (2009). Human resources in nursing education: A worldwide crisis. Collegian Journal of the Royal of Nursing Australia, 16(1): 19-23
Sessums, S. (2016).What is OBE?: Unboxing outcomes-based education. Retrieved from http://www.d21.com/blog/what-is-obe/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว