ประสบการณ์การรับรู้ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่ติดสื่อสังคมออนไลน์ในเขตอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
สื่อสังคมออนไลน์, ประสบการณ์, ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
สื่อสังคมออนไลน์ได้ถูกนำมาใช้และพัฒนาอย่างรวดเร็ว คนส่วนใหญ่พูดถึงผลกระทบต่อการใช้ในกลุ่มเด็กในทิศทางที่เป็นผลลบโดยให้โทษมากกว่าผลดีที่จะเกิดขึ้น การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณา (Descriptive Research design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ประสบการณ์ การรับรู้ของผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยที่ภาวะการติดสื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน โดยเป็นผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ในเขตอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 12 คน โดยเป็นผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งมีเด็กปฐมวัยในความดูแลมีพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์สื่อสังคมออนไลน์ ในระดับมากถึงมากที่สุด เก็บข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถามด้านข้อมูลทั่วไปและพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์สื่อสังคมออนไลน์ และเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ โดยแบบสอบถามลักษณะกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา การวิจัยได้ผลสรุปดังนี้
1. พบว่าเด็กปฐมวัยในความดูแลของกลุ่มตัวอย่าง มีพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานในสื่อสังคมออนไลน์ ร้อยละ 81 (n=100) โดยเด็กปฐมวัยที่มีพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์สื่อสังคมออนไลน์ มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 3.41 ปี โดยช่วงอายุที่มีการติดสื่อสังคมออนไลน์มากสุดคือ อายุ 4 ปี - < 5 ปี เมื่อทำการวิเคราะห์ลักษณะพฤติกรรมการแสดงออกต่อการติดสื่อสังคมออนไลน์ของเด็กปฐมวัยในความดูแลของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง (= 2.54, S.D.= 1.169)
2. พบว่าจากประสบการณ์ที่ผ่านมาของผู้ให้ข้อมูล จำนวน 12 คน ผู้ให้ข้อมูลได้เสนอการรับรู้ต่อการให้เด็กปฐมวัยใช้สื่อสังคมออนไลน์ในทิศทางบวกที่เป็นประโยชน์มากกว่าผลกระทบที่จะได้รับ ทั้งนี้ผู้ให้ข้อมูลได้นำเสนอประสบการณ์การเลี้ยงดูอันเป็นมูลเหตุที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยในความดูแลของตน มีภาวะติดสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งมีประเด็นหลักที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ประเด็น คือ 1) การเลี้ยงดูของครอบครัว 2) ค่านิยมทางสังคมที่มีผลต่อครอบครัว และ 3) การดึงดูดใจของสื่อสังคมออนไลน์
References
พนิดา ชาตยาภา. (2559). เทคโนโลยีกับเด็กปฐมวัยใน ศตวรรษที่ 21. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 6(2), 151-162. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2561, จาก http://acad.vru.ac.th/Journal/journal% 206_2/6_2_12.pdf
ภาณุวัฒน์ กองราช. (2554). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นในประเทศไทย : กรณีศึกษา Facebook. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารเทคโนโลยีวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2561 จาก http://digi.library.tu.ac.th/thesis/it/1042/title- biography.pdf
ภัทริกา วงศ์อนันต์นนท์. (2557). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กและเยาวชน: Excessive Internet Usage Behavioral in Adolescents. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(2), 173-178. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2561, จาก https://www.tci- thaijo.org/index.php/JRTAN/article/download/25175/21435
สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2550). การศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวน ดุสิต.สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). บทวิเคราะห์สถานการณ์เด็กติดเกม. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2561, จาก http://www1.si.mahidol.ac.th/Healtygamer/sites/default/
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). การใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน. HEALTHYGAMER.NET. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2561, จากhttp://www.smhbkk.com/uploads/statistics/270715_232142.pdf
สำนักวิชาการ. (2558). การศึกษาของเด็กปฐมวัย หัวใจ สำคัญของการศึกษา. บทความวิชาการ, สำนัก วิชาการ สำนักเลขาธิการผู้แทนราษฎร สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2561 จาก http://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2558/hi2558-082.pdf
สุชีวา วิชัยกุล. (2558). การส่งเสริมการเจริญเติบโตและ พัฒนาการ. เอกสารวิชาการ. วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ. สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข . สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2561 จาก https://administer.pi.ac.th/uploads/eresearcher/upload_doc/2015/ academic/1432867351904378004446.pdf
Ausubel DP, Robinson FG. (1969). School learning: An introduction to educational psychology. New York: Holt, Rinehart and Winston.
Cheol Park and Ye Rang Park. (2014). The Conceptual Model on Smart Phone Addiction among Early Childhood. International Journal of Social Science and Humanity, Vol. 4, No. 2, March. Retrieved June, 25 2018, from https://pdfs.semanticscholar.org/ f4ac/ 2cade21f50efd3f75ecb35b6d97c0d437229.pdf
Downe-Wambolt, B. (1992). Content Analysis: Method, Applications and Issues. Health Care for Women International, 13, 313-321. Retrieved February, 22 2018, From https://doi.org/10.1080/ 07399339209516006
Hair JF, Anderson RE, Tatham RL, Black WC. (1998). Multivariate Data Analysis (5th Edition) New Jersy: Prentice Hall.
Hill, R. (1998). What sample size is “enough” in internet survey research? Interpersonal Computing and Technology: An Electronic Journal for the 21st Century, 6(3-4).
Isaac, S., & Michael, W. B. (1995). Handbook in research and evaluation. San Diego, CA: Educational and Industrial Testing Services.
Julious, S. A. (2005). Sample size of 12 per group rule of thumb for a pilot study. Pharmaceutical Statistics, 4, 287-291.
Kelman HC. (1958). Compliance, identification, and internalization: Three processes of attitude change. Journal of Conflict
Resolution, 2(1), 51-60. Retrieved February, 22 2018, from https://scholar.harvard.edu/ files/hckelman/files/Compliance _identification_and_internalization.pdf
Kwon, M. et al. (2013). Development and Validation of a Smartphone Addiction Scale (SAS). PLoS ONE. 8(12): 1-7.
Malterud, K., Siersma, V.D. and Guassora, A.D. (2016). Sample Size in Qualitative Interview Studies: Guided by Information Power. Qualitative Health Research, 26, 1753-1760. Retrieved February, 22 2018, from https://doi.org/10.1177/ 1049732315617444
NAEYC and the Fred Roger Center. (2016). Technology and Interactive Media as Tools in Early Childhood Programs Serving Children from Birth through Age 8. National Association for the Education of Young Children. Retrieved June, 25 2018, from https://www.naeyc.org/sites/default/ files/globally-shared/downloads/ PDFs/ resources/topics/PS_technology_WEB.pdf
Polit, D. F., & Hungler, B. P. (1999). Nursing research : Principles and methods (6th ed). Philadelphia: J.B. Lippincott.
Rovinelli, R. J. & Hambleton, R. K. (1976). On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion-Referenced Test Item Validity. Retrieved April, 4 2018, from http://files.eric.ed.gov/fulltext/ED121845.pdf
S. Seok, B. DaCosta. (2014). An Investigation into the Questionable Practice of Using Excessive Massively Multiplayer Online Game Play as a Marker of Pathological Video Game Dependence among Adolescent and Young Adult Male Players. Psychology, 5, 289-29. Retrieved June, 25 2018, from http://dx.doi.org/10.4236/psych.2014.54039
World Health Organization. (2018). Gaming addiction classified as disorder by WHO. Retrieved June, 28 2018, from http://www.bbc.co.uk/news/technology-42541404
Zulfu Genc. (2014). Parents, Perceptions about the Mobile Technology Use of Preschool Aged Children. Third Annaul International Conference Early Childood Care and Education. Social and Behavioral Sciences, 146; 55-60.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว