เปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดก่อน และหลังการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลเพื่อค้นหาและจัดการกับภาวะวิกฤต กลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

ผู้แต่ง

  • กันยารัตน์ ม้าวิไล

คำสำคัญ:

อัตราตาย การติดเชื้อในกระแสเลือด สมรรถนะพยาบาล

บทคัดย่อ

               การติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นกลุ่มอาการที่มีความยุ่งยากซับซ้อน เสี่ยงสูงพยาบาลจึงควรมีสมรรถนะในการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาอย่างรวดเร็ว ปลอดภัย โอกาสเสียชีวิตจะลดลง การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิตของกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด และสมรรถนะพยาบาลก่อนและหลังการพัฒนาสมรรถนะเพื่อค้นหาและจัดการกับภาวะวิกฤตผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช ประชากร คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช ทั้งหมด จำนวน 15 คน และผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช  จำนวน  91 ราย  เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย 1) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลเพื่อการค้นหาและจัดการกับภาวะวิกฤตในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด 2) แบบประเมินและพัฒนาสมรรถนะพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามและแบบสังเกตสมรรถนะที่พึงประสงค์  ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และตรวจหาความเที่ยงของแบบสอบถามประเมินความรู้, ทัศนคติ, ทักษะ ด้วยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ เท่ากับ 0.72 , 0.92, 0.94 ตามลำดับ และภาพรวมทั้งฉบับ เท่ากับ 0.83  และ 2) ทะเบียนการรับและจำหน่ายผู้ป่วยของหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสถิติค่าที และไคสแควร์

                ผลการวิจัย พบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยสมรรถนะพยาบาลเพื่อค้นหาและจัดการกับภาวะวิกฤตกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช โดยรวมหลังการพัฒนา  ( = 4.62, SD = 0.31) สูงกว่าก่อนการพัฒนา ( = 4.17, SD = 0.35) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .01)  2) อัตราการเสียชีวิตกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดก่อนการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลร้อยละ 34.78 และหลังการพัฒนาร้อยละ 17.78  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ( = 3.387, p <  .05)

                ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้  1) พัฒนาสมรรถนะพยาบาลเพื่อค้นหาและจัดการกับภาวะวิกฤตกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในหอผู้ป่วยที่ดูแลผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวให้ครอบคลุมทุกหน่วยบริการ 2) นำรูปแบบสมรรถนะที่พึงประสงค์ไปประยุกต์ใช้พัฒนาสมรรถนะพยาบาลรายโรคที่มีความเสี่ยงสูง Top 5 ของการเสียชีวิต

References

ชลธิชา โภชนกิจ. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์.(วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และ
สังคม,มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.)
ชุติมา เขตต์อนันต์. (2557). ปัจจัยทำนายสมรรถนะพยาบาลไตเทียม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.)
ทรนง พิราลัย. (2562). HA UPDATE 2019. นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน).
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2550). การวัดเจตคติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. อุบลราชธานี: วิทยาออฟเซทการพิมพ์.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2550). ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การจัดการองค์กรพยาบาลในศตวรรษที่ 2.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรัศนี อัมพุธ. (2552). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตต่อความเป็นอิสระในงานของพยาบาลวิชาชีพ.
(วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.)
ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช. (2549). Siriraj Nurses Competency Dictionary. กรุงเทพฯ:พี.เอ.ลิฟวิ่ง จำกัด.
พงศธร ลิมปนเวทย์สกุล. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะหลักด้วยองค์ประกอบร่วมของคุณลักษณะแรงงานในห่วงโซ่อุปทานธุรกิจการจัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ.
(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.)
เพ็ญจ็นทร์ แสนประสาน, ดวงกมล วัตราดุล และบุปผาวัลย์ ศรีล้ำ. (2560). การพยาบาลเพื่อความปลอดภัย สมรรถนะพยาบาล CVT. (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2). พิมพ์ครั้งที่ 1
กรุงเทพฯ: สุขุมวิทการพิมพ์จำกัด.
เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, อุไร พานิชยานุสนธิ์, ลัดดาวัลย์ ทัดศรี, เสาวลักษณ์ เจริญสิทธิ์, พริ้มเพรา สาครชัยพิทักษ์, มยุรี ปริญญวัฒน์, ... รุ่งนภา ป้องเกียรติชัย (2549). การจัดการ
ทางการพยาบาลสู่การเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ: สุขุมวิทการพิมพ์ จำกัด.
ภัทรจิตร ตันกูล. (2542). การสอนฝึกประสบการณ์ของอาจารย์พยาบาล ระดับความเครียดที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคปฏิบัติ และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง
ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี. มหาวิทยาลัยมหิดล.
ภาวิณี วัยปัทมะ. (2552). สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพหน่วยผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการ
พยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.)
มยุรฉัตร ด้วงนคร. (2558). การพัฒนากรอบสมรรถนะของพยาบาลวชิาชีพ หอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. (การค้นคว้าแบบอิสระหลักสูตรปริญญา
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.)
มุกดา พรมแก้วงาม. (2549). การพัฒนาแบบพฤติกรรมสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพตามบันไดวิชาชีพการพยาบาล งานการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม. (การค้นคว้าแบบอิสระ
หลักสูตร พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย, วิทยาลัยเซนต์หลุยส์.)
วรรณดี ภู่ภิรมย์. (2561). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อความสามารถในการเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจเพาะเชื้อของพยาบาลวิชาชีพ และอัตราการปนเปื้อนเชื้อ
จุลชีพในตัวอย่างเลือดที่ส่งตรวจเพาะเชื้อ. วารสารวิชาการแพทย์. เขต 11 32(3).
วัชราภรณ์ เชษฐบุรี. (2555). การพัฒนากรอบสมรรถนะของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ โรงพยาบาลลำพูน.(การค้นคว้าแบบอิสระหลักสูตรปริญญาพยาบาลศาสตรมหา
บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.)
วิจิตรา กุสุมภ์ (บรรณาธิการ). (2560). การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต : แบบองค์รวม = Critical Care Nursing : A Holistic Approach. พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วน
สามัญนิติบุคคล สหประชาพาณิชย์.
วิจิตรา กุสุมภ์.(2556). กระบวนการพยาบาล : การนำไปใช้ในคลินิก. กรุงเทพฯร: บพิธการพิมพ์.
วิเชียร ทวีลาภ. (2534). นิเทศการพยาบาล. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองธรรม.
วีณา จิระแพทย์ และ เกรียงศักดิ์ จิระแพทย์.(2550). การบริหารความปลอดภัยของผู้ป่วยของผู้ป่วย. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
ศศิธร อินทุดม. (2555). การพัฒนากรอบสมรรถนะของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ โรงพยาบาลแพร่. (การค้นคว้าแบบอิสระหลักสูตรปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.)
ศิริญญ์ รุ่งหิรัญ. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหา
บัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล,มหาวิทยาลัยอีสเทิร์น.)
ศิริพร จิรวัฒน์กุล, อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย, ศรีประภา ปิยะศิริศิลป์, รุ่งอรุณ โตศักดิ์ภราเลิศ, ดวงตา กุลรัตนญาณ, จินตนา ยูนิพันธ์, …วิภาวี เผ่ากันทรากร (มกราคม-มิถุนายน
2540). สมรรถนะที่จำเป็นของพยาบาลวิชาชีพในการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช.วารสารวิจัยทางการพยาบาล, 1(1), 53-70.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2561). เป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยของประเทศไทย พ.ศ. 2561 Patient Safety Goals : SIMPLE Thailand
2018. พิมพ์ครั้งที่ 1 นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน).
สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย.(2557). Critical Care Medicine: The Smart ICU กรุงเทพมหานคร: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์.
สํานักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข.(2561). แผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561.นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
สุจินต์ วิจิตรกาญจน์. (2559). การพัฒนาบุคลากรพยาบาล ใน เอกสารการสอนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพการพยาบาลหน่วยที่ 6-10 นนทบุรี. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุรัตน์ ทองอยู่ ,ไชยรัตน์ เพิ่มพิกุล.(2556). แนวทางการรักษาผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีภาวะ severe sepsis/septic shock. (ฉบับปรับปรุง) โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราช
พยาบาล: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุวิทย์ มูลคำ, อรทัย มูลคำ. (2545). 21 วิธีจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาระบบความคิด. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
อนุชตรา วรรณเสวก. (2562). กลยุทธ์การเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลผู้ปฏิบัติงานด้านโรคมะเร็งในโรงพยาบาลมะเร็ง สังกัดกรมการแพทย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.)
อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล และ กิตตินันท์ อนรรฆมณี. (2560). HA Update 2017. นนทบุรี:สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน).
อภิญญา จำปามูล. (2548). สมรรถนะของพยาบาลและการสร้างแบบประเมิน. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเรื่องการพัฒนาสมรรถนะด้านการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาล
วิชาชีพ งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. ขอนแก่น: โรงพยาบาลขอนแก่น.
อรุณรัตน์ ศรีจันทร์นิตย์. (2539). การศึกษาการประเมินผลการปฏิบัติงานของหัวหน้าหอผู้ป่วย ในโรงพยาบาลของรัฐ. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการ
พยาบาลบัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.)
อัจฉรา สุทธิพรมณีวัฒน์. (2545). สมรรถนะในการปฎิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ในโรงพยาบาลชุมชนเขต 10เชียงใหม่ (การค้นคว้าแบบอิสระหลักสูตรปริญญา พยาบาล
ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.)
อัญชลี อ้วนแก้ว. (2552). การพัฒนาความสามารถบุคลากรพยาบาลเชิงสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยนรีเวชกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี. (การศึกษาอิสระหลักสูตรปริญญา
พยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.)
อิทธิศักดิ์ พลงาม.(2550). การพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลประจำการ กลุ่มงานการบริการผู้ป่วยในศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. (ปริญญา
พยาบาลศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.)
Al-Khafaji, A.H. & Sharma, S. (2010), Multisystem Organ Failure of Sepsis. http://emedicine.com/orficle/169640-Overview Retrieved 2/14/2010.
Benner, P (1984)From Novice tonExpert: Excellence and Power in Clinical Nursing Practice California : Addison-Wesley
Boyatzis, R. (1992). TheCompetency Manager-A Modes for Effective Performmance. New York: John Wiley & Sons.
Burns, N., & Grove, S.K. 2005. The practice of nursing research : Conduct, critique and Utilization. 5th ed. Philadelphia : Elsevier
Fey, M., &Miltner, R. (2000). A competency-based orientation program for new graduate nurses. Journal of Nursing Administration, 30, 126-132.
Garavan, T.N. and McGuire, D. (2001). Competencies and Workplace Learning: Some reflections on the Rhetoric and the Reality. Journal of Workplace
Learning.13 (4): 144-163.
Haas, S. A. (1992). Coaching: Developing key players. Journal of Nursing Administration, 22(6), 54-58.
Jones, I., and Johnson. M. (2008). What is the role coronary care nurse?.A review of the literature. European Journal of Cardiovascular Nurseing? 7 :
163-170.
Laframboise, L.N. (2005). Manage of Client with Shock and Multisystem Disorders. In J.M. Black & J.H. Hawks. Medical-Surgical Nursing Clinical
Management for Positive Outcomes. 7th ed. pp. 2443-2478. St. Louis : Elsevier Sauders.
Lindberg, E (2006). Competence in critical care what is it and how to gain it : A qualitative study from the staff’s point of view. Dimension of Critical
Care Nursing 25 :77 – 81.
Marrelli, A. F.Tondara, J., & Hoge, M.A. (2005). Strategies for developing competency model. Administration and Policy in Mental Health, 32(5),
533-561.
McLagan, P.A. (1997). Competencies: The Next Generation Training & Development, 51 (4) (1997), pp. 40-47
Nee, P.A. (2006). Critical Care in The Emergency Department: Severe Sepsis shock. http://amj.bmj.com/cgi/cotent/abstract/23/9/713. Retrieved
9/10/2007.
Ramos, O.L. (2007). Severe sepsis. http://www.uspharmacist.com/oldformat.asp?uri=newlook/fole/feat/sepsis.htm. Retrieved 9/10/2007
Scott B. Parry. (1997). Evaluating the impact of Training. Alexandria, Virginia: American Society for Training and Development.
Taylor, K. (2000). Tackling the issue of nurse competency. Nursing Management (September 2000) 35-37
Timby, B.K, & Smith, N.E. (2014). Medical Surgical Nursing. Philadelphia: Lippincott Williums & Wilkins

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30