ความสุขในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ณิรดา พราหมณ์ชู

คำสำคัญ:

ความสุขในการปฏิบัติงาน, พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับความสุขในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ทำงานในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 268 คน การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตามชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยพัฒนามาจาก จิราภรณ์ ภู่สมบูรณ์ (2556) พัฒนาจากแนวคิดของ Warr (2007) ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่  แบบสอบถามข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อความสุขในการปฏิบัติงาน และ ความสุขในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ แบบสอบถามส่วนที่ 2 และ 3 มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (CVI) เท่ากับ 1.0 และ 0.81 ตามลำดับ และค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อีต้า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

              ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสุขในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน จังหวัด

นครศรีธรรมราชโดยรวม อยู่ในระดับสูง (M= 3.55, SD = 0.67)  2) ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ด้านรายได้และค่าตอบแทนมีความสัมพันธ์กับความสุขในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < 0.05 (rsp = 0.114) ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านอื่น ๆ ไม่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการปฏิบัติงาน  3) ปัจจัยสิ่งแวดล้อม โดยรวมมีความสัมพันธ์ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < 0.01 (rsp = 0.628) กับความสุขในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ

               ข้อเสนอแนะ ความสุขในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ มีปัจจัยที่หลากหลาย ปัจจัยที่สำคัญ คือ รายได้ และค่าตอบแทน ดังนั้นผู้บริหารของโรงพยาบาลจึงควรให้ความสนใจในการพัฒนาบุคลากรให้มีความสุขในการปฏิบัติงานของพยาบาล และจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

References

กิดานัล กังแฮ. (2559). 10 เคล็ดลับการทำงานให้มีความสุข. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560,จากวิกิพีเดีย http:/www.thaihealth.or.th.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking). พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.
จิราภรณ์ ภู่สมบูรณ์. (2556). ความสุขในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง จังหวัดสกลนคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา).
จุฬาลักษณ์ บารมี. (2551). สถิติเพื่อการวิจัยทางสุขภาพและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS. ชลบุรี: ศรีศิลปการพิมพ์.
ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ. (2557). การสร้างความสุขในการทำงาน. HR Magazine, 12(141), 29-31.
ไตรทิพย์ ฦาชา. (2552). ความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดกำแพงเพชร. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปะศา
สาตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารการพัฒนา สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ, มหาวิทยาลัยแม่โจ้).
ทรรศวรรณ ขาวพราย. (2560). ความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์. วารสารมจร นครน่านปริทรรศน์, 1(1), 111-124.
นภาพร รักผกา. (2553). ผลการใช้โปรแกรมพัฒนาจิตลักษณะต่อพฤติกรรมการทำงานด้วยหัวใจของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารกองการพยาบาล,
37(3), 23-36.
เนตรสวรรค์ จินตนาวลี. (2553). ความสุขของการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลจังหวัดสมุทรสาคร.(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปกร).
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่ 5.กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดียจำกัด.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2551). ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การจัดการองค์กรพยาบาล ในศตวรรษที่ 21.พิมพ์ครั้งที่ 2 .กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เบญจพร ก้องบูลยาพงษ์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสุราษฏร์ธานี. วารสารพยาบาลตำรวจ, 8(2),
151-160.
ประทุมทิพย์ เกตุแก้ว. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณลักษณะของงาน ความสามารถในเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค กับความสุขในการทำงานของพยาบาล งานการ
พยาบาลผ่าตัด: กรณีศึกษาโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะศิลปะศาสตร์, มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์).
รัชนี หาญสมกุล. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการทำงานลักษณะงานกับความสุขในการทำงานของบุคลากรพยาบาลประจำการ
สถานพยาบาลสังกัดกรมราชทัณฑ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการ พยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
รัตนา ทองสวัสดิ์. (2552). วิชาชีพการพยาบาล: หลักการและแนวโน้ม = Professional nursing: Principles and trends. เชียงใหม่: ธนบรรณุการพิมพ์.
ลักษมี สุดดี. (2550). ความสัมพันธ์แรงจูงใจในการทำงาน การสนับสนุนทางสังคม ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กร กับความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาล
ทั่วไปเขตภาคกลาง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
วีรญา ศิริจรรยาพงษ์. (2556). ความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลโรงพยาบาลราธิบดี.(วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
(สาธารณสุขศาสตร์)สาขาวิชาเอกบริหาร, สาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล).
สิรินันท์ ขุนเพ็ชร์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัดโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาส
ราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศสาตร์, 4(2), 69-80.
อนุวัฒน์ ศุภชุติกุลจิรุตม์. (2556). HA Update 2016. สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน). กระทรวงสาธารณสุข, นนทบุรี.
อารีวรรณ อ่วมตานี. (2551). การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยปัจจัยเชิงผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน ของพยาบาลวิชาชีพ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
Davis, K. (1992). Human Behavior at Work Human Relation and Organization Behavior
Four edition. New York: McGraw-Hill.
Diener, E. (2003). New direction in subjective well-being: The science of happiness and proposal For a national index. The American Psychologist
Association, 1(2): 34-43.
Manion, J (2003). Joy at Work: Creating a positive workplace. Journal of Nursing Administration, 33 (12), 652-655.
Lu, L. and Shih, J.B. (1997). Personality and happiness: Is mental health a mediatoy Personality and Individual Differences. 22(1997): 137-155.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Haper and Row.
Warr, P (2007). Searching for happiness at work. The Psychologist, 20(12), 726-729.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30