ผลลัพธ์การขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนารูปแบบการนิเทศติดตามงานเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System: DHS) จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พัชรากาญจน์ คงทวีพันธ์

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ศึกษาผลลัพธ์การขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนารูปแบบการนิเทศติดตามงานเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System: DHS) จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษากระบวนการพัฒนารูปแบบการนิเทศติดตามงานเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ในการลดปัจจัยเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงของประชาชน  จังหวัดเชียงใหม่ 2. พัฒนาศักยภาพเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอในการลดปัจจัยเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงของประชาชน จังหวัดเชียงใหม่ 3. ประเมินผลกระบวนการพัฒนารูปแบบการนิเทศติดตามงานเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ในการลดปัจจัยเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูงของประชาชน จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งการวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth  Interview)   และการสนทนากลุ่ม ( Focus  Group  Discussion )ในรูปแบบการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

                 ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการพัฒนารูปแบบการนิเทศติดตามงานเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ มีกระบวนการในการพัฒนาทั้งหมด 4 กระบวนการประกอบด้วย 1.การพัฒนาศักยภาพบุคลากร  2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วม 3. พัฒนาระบบการดำเนินงาน  4. สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดูแลสุขภาพ  ผลลัพธ์ในการพัฒนาศักยภาพ พบว่า เครือข่ายมีความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานมากขึ้น ได้เรียนรู้ความล้มเหลวจากวิธีการทำงานเดิม เรียนรู้ที่จะพัฒนาวิธีการทำงานใหม่เพื่อให้ประสบความสำเร็จ  มีระบบฐานข้อมูลที่เชื่อถือได้ สามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ ชุมชนมีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้ กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงลดลงในปี 2559 ลดลงจากปี 2558 ร้อยละ 2.91                 

                 ข้อเสนอแนะ ในการขับเคลื่อนการทำงานโดยการประสานความร่วมมือกับเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ใช้กรอบบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ในการขับเคลื่อนการพัฒนางานสุขภาพด้านอื่นๆ ได้ในทุกกิจกรรมของการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนารูปแบบการนิเทศติดตามงานเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System: DHS) จังหวัดเชียงใหม่ ส่งผลให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงลดลงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

References

การบริหารจัดการ. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2555, จากวิกิพีเดีย https://www.gotoknow.org/posts/162766.
คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา.(2543). รายงานระบบสุขภาพประชาชาติ:ข้อเสนอการปฏิรูประบบสุขภาพสืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540.
กรุงเทพ.
จินตนา พรสัมฤทธิ์โชค. (2555). ประโยชน์ของการนิเทศงาน: เอกสารประกอบการสอนในคลินิกวิชาปฏิบัติการบริหารการพยาบาล. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่.
จรัส สุวรรณเวลา. (2543). มุมมองใหม่ระบบสุขภาพ. กรุงเทพ: บริษัทดีไซน์จำกัด.
ธีระ วรธนารัตน์.แนะลงทุนระบบสาธารณสุขประเทศ ยึด 6 Building Blocks of Health System. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2558, จากวิกิพีเดีย
http://www.hfocus.org/content/2015/09/10875
นารีรัตน์ จิตรมนตรี, และสาวิตรี ทยานศิลป์. (2556). รายงานการวิจัยตัวแบบการดูแลที่ดีของครอบครัวและชุมชนเขตเมืองและกรุงเทพมหานคร. คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัย
มหิดล.
ปรีดี แต้อารักษ์ และคณะ. (2557). การประเมินผลการพัฒนา DHS เครือข่ายบริการที่ 8 จังหวัด อุดรธานี.
พวงเพชร เฉิดฉันท์พิพัฒน์. (2547). รายงานการประเมินศักยภาพการพึ่งพาตนเองด้านสาธารณสุขของชุมชน.
โสภณ เมฆธน.การนำเสนอเส้นทางการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพอำเภอ(Road map to DHS). สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2557, จากวิกิพีเดีย
http://slideplayer.in.th/slide/2228756/
สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล. (2558). 6 เสาหลักของระบบสุขภาพ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 9 (2) .
สุรีย์ภรณ์ เลิศวัชรสกุล, และสุทธิพร ชมพูศรี. (2556). กระบวนการบริหารจัดการเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภออย่างเป็นเอกภาพ, จังหวัดพะเยา: กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบ
บริการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. (2558). เอกสารการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติรอบที่ 2 ประจำปี 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31