การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เข้าร่วม และไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุตำบลสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ปัญจพจน์ วิมลรัตนชัยศิริ

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ คุณภาพชีวิต ชมรมผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

                 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมและไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่เข้าร่วมและไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในในชมรมผู้สูงอายุตำบลสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มละ 100 คน เป็นการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics)  ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Independent      t-test

                 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุตำบลสามชุก ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี (M =3.26, SD=0.24) เมื่อจำแนกรายด้าน ได้แก่ ด้านการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านการออกกำลังกายและด้านโภชนาการอยู่ในระดับดี (M = 3.48, 3.47, 3.39 และ 3.27 ตามลำดับ) ส่วนด้านการจัดการกับความเครียดและด้านการพัฒนาจิตวิญญาณอยู่ในระดับค่อนข้างดี         (M =3.02 และ 3.01 ตามลำดับ) สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สูงอายุที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุตำบลสามชุก มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างดี (M =3.09, SD =0.31) เมื่อจำแนกรายด้านพบว่าอยู่ในระดับดี เฉพาะด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ  (M =3.33) นอกจากนั้นอยู่ในระดับค่อนข้างดี ได้แก่ ด้านโภชนาการ ด้านการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านการออกกำลังกาย ด้านการพัฒนาจิตวิญญาณและด้านการจัดการกับความเครียด (M =3.22, 3.16, 3.12, 2.89 และ 2.83 ตามลำดับ) คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุตำบลสามชุกอยู่ในระดับค่อนข้างดี ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านร่างกาย ด้านความสัมพันธ์ทางสังคมและด้านจิตใจ  (M =3.51, 3.41, 3.20 และ 3.06 ตามลำดับ) สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุตำบลสามชุก  มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับค่อนข้างดีเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมและด้านร่างกาย (M =3.30 และ 3.18 ตามลำดับ)  ส่วนด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านจิตใจอยู่ในระดับค่อนข้างไม่ดี (M =2.90 และ 2.89 ตามลำดับ) ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุพบว่า กลุ่มผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุ มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านการออกกำลังกาย ด้านการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านการจัดการกับความเครียด และโดยภาพรวม ดีกว่าผู้สูงอายุที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05, 0.01, 0.01, 0.05, และ 0.01 ตามลำดับ ยกเว้นพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุด้านโภชนาการ และด้านการพัฒนาจิตวิญญาณที่พบว่าไม่แตกต่างกัน และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุกลุ่มผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และโดยภาพรวมดีกว่าผู้สูงอายุที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01, 0.05, 0.01, 0.05 และ 0.01 ตามลำดับ ด้วยเหตุนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุน และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุตำบลสามชุกอย่างเท่าเทียมและต่อเนื่อง โดยเฉพาะพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ     ด้านการออกกำลังกาย ด้านการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านการจัดการกับความเครียด และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานประจําปี กรมอนามัย 2562. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2559). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI). นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต.
กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2560).ยุทธศาสตร์กรมกิจการผู้สูงอายุ 20 ปี ประจำปี พ.ศ. 2561-2580. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์สามลดา.
กู้เกียรติ ก้อนแก้ว ภาณุมาศ ทองเหลี่ยมและศิริยากร ทรัพย์ประเสริฐ. (2562). ปัจจัยพยากรณ์คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีภาวะติดบ้าน อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสาร
วิชาการสาธารณสุข. 28 (3), 394-401.
กฤษดา พรหมสุวรรณ์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุตำบลหนองไม้แก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหา
บัณฑิต.สาขาวิชาการจัดการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครินทร์).
จักรกริช ภูพงษ์ ประยุทธ คำผาสุวรรณและป้อมเพชร พนาลิกุล. (2560). พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาเปรียบเทียบผู้ที่ยังทำงานเพื่อหารายได้กับผู้ที่ไม่ได้
ทำงาน ตำบลทัพหลวงอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร).
จันทนา สารแสง. (2561). คุณภาพชีวิตและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุตำบลทุ่งข้าวพวง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร
มหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่).
เจษฎา นกน้อยและวรรณภรณ์ บริพันธ์. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา.วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 9(3), 96-107.
ฉวีวรรณ อุปมานะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. เอกสารประกอบการประชุม
วิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 3 “นวัตกรรมที่พลิกโฉมสังคมโลก”, 564-576.
ทิพวรรณ พุฒดอน (2560). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุก่อนและหลังเข้าโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลหนองหัวแรต อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา.
วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 3(2), 73-89.
เทศบาลตำบลสามชุก. (2563). รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2562.
ธีระวัฒน์ โพธิ์วัฒน์และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประสบความสำเร็จในชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดพิจิตร. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 28(2), S6-S15.
ธิดารัตน์ เลิศวิทยากุล. (2561). “การทำนายภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุตามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ”.วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย. 8 ฉบับพิเศษ,
287-307.
เบญจพร สว่างศรีและเสริมศิริ แต่งงาม. (2556). การดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุอำเภอสามชุกจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
1(2), 128-137.
ปัทมา ผาติภัทรกุล ผุสดี ก่อเจดีย์ พเยาว์ พงษ์ศักดิ์ชาติ ศิริธร ยิงเรงเริง ชุติมา บูรพาและประภาส จักรพล. (2561). ประสิทธิผลโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพของ
ผู้สูงอายุในชุมชน.วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 12 ฉบับพิเศษ, 52-60.
พัชราภรณ์ พัฒนะ ฉวีวรรณ บุญสุยาและอรนุช ภาชื่น. (2562). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดสระบุรี. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
กระทรวงสาธารณสุข. 42 (1), 103-114.
พัชรี วงศ์ฝั้น. (2562). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ : การประยุกต์ใช้ทฤษฏี PRECEDE ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. รวมบทความวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 345-357.
ภัทราภรณ์ ด้วงเรือง. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 6(1),
122-34.
ภัทรรดา อุ่นกมล. (2562). การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม การรับรู้คุณค่าของตนเองและความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร.วารสารสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 22(1), 125-136.
มนฑิญา กงลาและจรวย กงลา. (2558). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตําบลท่าไฮ อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี. เอกสาร
ประกอบการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2 วันที่ 18-19 มิถุนายน 2558 ณ วิทยาลัย
นครราชสีมา อําเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา, 101-107.
ยุพิน ทรัพย์แก้ว. (2559). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
นครศรีธรรมราช.วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 9(2), 25-39.
ยุภา โพผา สุวิมล แสนเวียงจันทร์ และทัศนีย์ พฤกษาชีวะ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาปัจจัยเชิงลึกบ้านคลองโยงหมู่ที่ 1.วารสาร
พยาบาลทหารบก. 18 ฉบับพิเศษ, 266-275.
ฤทธิชัย แกมนาคและสุภัชชา พันเลิศพาณิชย์. (2559). รูปแบบการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย ตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัด
เชียงราย. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาวิชาการ “ราชภัฏนครสวรรค์วิจัย ครั้งที่ 1”, 975-987.
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช. (2560). รายงานผลการวิจัยการพัฒนาศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) เพื่อ
การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจังหวัดนครศรีธรรมราช : กรณีศึกษา ศพอส. จำนวน 26 ศูนย์.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). รายงานการศึกษาข้อสมมุติเพื่อใช้ในการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583 (ฉบับปรับปรุง).
กรุงเทพฯ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
อภินันท์ สนน้อย. (2560). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารชุมชนวิจัย.11(2), 21-38.
อรนิษฐ์ แสงทองสุข. (2563). การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย:กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนนทบุรี. รายงานการวิจัย. คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Health Data Center อำเภอสามชุก. (2562).
Pender, N. J., Murdaugh C. L. and Parsons M. A. (2006). Health Promotion in Nursing Practice.(5th ed). New Jersey: Pearson Education, Inc.
Walker S. N., Sechrist K. R., & Pender, N. J. (1987). The Health-Promoting Lifestyle Profile: Development and psychometric characteristics. Nursing
Research. 36(2), 76-81.
United Nation. (2015). World populations ageing 2015. New York: Author
United Nations, Department of Economic and Social Affairs, Population Division. (2018a). World urbanization prospects: The 2018 revision. New York:
United Nations.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31