ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรของประชาชน ชุมชนประตูช้างตก ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • สาโรจน์ เพชรมณี
  • จินตนา เพชรมณี
  • ศิราสรณ์ บรรจงเกลี้ยง
  • อัจฉรา ศรีแสง
  • ศรัญญา สีทอง

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ พฤติกรรมการใช้สมุนไพร สมุนไพร

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรของประชาชนในชุมชนประตูช้างตก ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช และเพื่อประเมินพฤติกรรมการใช้สมุนไพรโดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 182 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling, SRS) รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional survey research) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติไคสแควร์ (Chi-square) และสถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)

        ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 67.6  มีรายได้ระหว่าง 5,001-10,000 บาท/เดือน ร้อยละ 37.4 มีโรคประจำตัวหรืออาการหรือความผิดปกติของร่างกายร้อยละ 64.3 การศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่าร้อยละ 48.9 ประกอบอาชีพเกษตรกรร้อยละ 28.1  มีประสบการณ์การใช้สมุนไพร้อยละ 86.8 และเคยปลูกสมุนไพรร้อยละ 48.9 มีพฤติกรรมการใช้สมุนไพรอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ร้อยละ 84.6 และพบว่า ปัจจัยนำด้านความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่าปัจจัยส่วนบุคคล  ปัจจัยเสริมและปัจจัยเอื้อมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value >0.05) 

References

ชฎาธาร สระถึง กนกกร มอหะหมัดอัสมาอ์ อาแซ คอรีเยาะ อะแซ อุดมลักษณ์ คงประสม และศันสนียา ไทยเกิด. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการรักษาบาดแผลของประชาชน ตำบลกระดังงา อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา.รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเครือข่าย ภาคใต้ ครั้งที่3: ขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสู่นวัตกรรม สร้างมูลค่าเพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน. คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ธนพร สืบอินทร์. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรอภัยภูเบศรของผู้บริโภคในจังหวัดปราจีนบุรี. (การค้นคว้าอิสระ).(บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

นภัสรัญชน์ ฤกษ์เรืองฤทธิ์. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ยาสมุนไพรในโรงพยาบาลอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี .(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

ภัทรพร ธนสารโสภิณณ. (2558). การศึกษาปัจจัยที่ส่งงผลต่อความพึงพอใจในการใช้ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค (Organic Beauty Product) ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระ).สาขาวิชาการการจัดการเชิงกลยุทธ์.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ยุวดี วงษ์กระจ่าง และวสุ ศุภรัตนสิทธิ. (2557). สมุนไพรกับยาแผนปัจจุบัน. วารสารหมอชาวบ้าน. 36 (428)

รัตนาภรณ์ ชูทอง. (2564). การแพทย์เสริมและการแพทย์ทางเลือก (Complementary and Alternative Medicine).ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและเวชศาสตร์ป้องกัน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วริญญา เมืองช้าง (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนในอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

วิไลวรรณ ชัยณรงค์ (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรเพื่อรักษาเบื้องต้นของประชาชนในเขตอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม. (2560). การประชุมวิชาการโครงการเพิ่มพูนสมรรถนะด้านสมุนไพรให้แก่เภสัชกรทุกสายงาน. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สัณฐิตาพร กลิ่นทอง (2560). พฤติกรรมการใช้สมุนไพรรักษาโรคของประชาชนในจังหวัดเพชรบุรี.รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏเพชรบุรีวิจัยเพื่อแผ่นดินไทยที่ยั่งยืน ครั้งที่ 7 “สหวิทยาการ สู่ไทยแลนด์ 4.0”. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2559). แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ.2560-2564. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, กระทรวงสาธารณสุข.

สาโรจน์ เพชรมณี. (2558). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สมุนไพรเพื่อการดูแลสุขภาพในจังหวัดนครศรีธรรมราช. การประชุมวิชาการระดับชาติการแพทย์แผนไทย ครั้งที่ 1. จังหวัดนครศรีธรรมราช.

สาโรจน์ เพชรมณี และสุปรีชา แก้วสวัสดิ์. (2557). การพัฒนาศักยภาพกลุ่มเสี่ยงระยะก่อนความดันโลหิตสูงในชุมชนประตูช้างตก ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 6(23), 1002-1012.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ(2557). ข่าวประชาสัมพันธ์สำนักงานสถิติแห่งชาติพฤติกรรมการดูแลรักษาตนเองด้วยแพทย์แผนไทยและสมุนไพรของครัวเรือนศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ.

สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนครศรีธรรมราช. (2560). คู่มือมาตรฐานการใช้ยาสมุนไพรจังหวัดนครศรีธรรมราช (1). จังหวัดนครศรีธรรมราช.

อุทัยวรรณ พงษ์บริบูร์. (2557). การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมด้วยภูมิปัญญาไทย. วารสารพยาบาลตำรวจ, 2(6), 250-262.

ผกากรอง ขวัญข้าว. (2563).สาระการประชุมประจำปี การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกครั้งที่ 17 . ศูนย์การค้าและการประชุมอิมแพคเมืองทองธานี.

Allabi, A.C., Busia, K., Ekanmian, V., Bakiono, F. (2011)The use of medicinal plants in self-care in the Agonlin region of Benin. Journal of Ethnopharmacology. 133(1).

Benzie IFF, & Wachtel-Galor S. (2011). Herbal Medicine: An Introduction to Its History, Usage,
Regulation, Current Trends, and Research Needs. In Herbal Medicine: Biomolecular
and Clinical Aspects: Francis Group, LLC.

Krejcie, R. V., and Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activi- ties”
Educational and Psychological Mea- surement. 30, 607 – 610

Gedif, T. and Hahn, H. (2003) The Use of Medicinal Plants in Self-Care in Rural Central
Ethiopia. Journal of Ethnopharmacology, 87, 155-161.

Green, L. And M. Krueter. 1999. Health Promotion Planning An Education Approach (3ed).
Toronto: Mayfield Publishing Company.

Green, L.W. and Kreuter, M.W. (2005). Health Program Planning: An Educational and Ecological Approach. 4th edition. NY: McGraw-Hill Higher Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27