การศึกษาผลของการจัดการศึกษาแบบสหวิชาชีพ เรื่องอาหารสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน ในนักศึกษาอุดมศึกษา จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
การศึกษาแบบสหวิชาชีพ อาหารสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Research) แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง (one group pretest-posttest design) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้และเข้าใจบทบาทตามสาขาวิชาชีพ ความสามารถในการทำงานเป็นทีม และความรู้เกี่ยวกับอาหารสำหรับผู้สูงอายุ ของนักศึกษาอุดมศึกษาก่อนและหลังการเรียนการสอน เครื่องมือในการวิจัยคือ รูปแบบการจัดการศึกษาแบบสหวิชาชีพเรื่อง อาหารสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบไปด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้และเข้าใจบทบาทตามสาขาวิชาชีพ แบบสอบถามความสามารถในการทำงานเป็นทีมของสหวิชาชีพ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับอาหารสำหรับผู้สูงอายุ ตัวอย่างในการศึกษาเป็นนักศึกษาของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดสุรินทร์ 3 สถาบัน ได้แก่ นักศึกษาของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดสุรินทร์ 3 สถาบัน ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ นักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ และนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอิสาน วิทยาเขตสุรินทร์ รวมจำนวน 54 คน คัดเลือกตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนาและสถิติทดสอบที (Paired t-test)
ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการศึกษาค่าเฉลี่ยการรับรู้และเข้าใจบทบาทตามสาขาวิชาชีพ ค่าเฉลี่ยความสามารถในการทำงานเป็นทีมของสหวิชาชีพ และค่าเฉลี่ยความรู้ เรื่อง อาหารสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการศึกษาแบบสหวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p=.031, p<.001, และ p<.001 )
References
ธานี กล่อมใจ นันทิกา อนันต์ชัยพัทธนา และทักษิกา ชัชวรัตน์. (2562). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสหสาขาวิชาชีพในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง.วารสารพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา, 20(3), 125-138.
นงลักษณ์ วิรัชชัย .(2555). วิธีการที่ถูกต้องและทันสมัยในการกำหนดขนาดตัวอย่าง. รายงานประกอบการบรรยายในโครงการ Research Zone จัดโดยศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, (12–20).
ทรัพสิริ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา สรัฐ ฤทธิ์รณศักดิ์ ณิศรา ระวียัน และวาสนา จักรแก้ว. (2564). การจัดการเรียนการสอนจากประสบการณ์ตามสภาพจริงตามรูปแบบกิจกรรมประสบการณ์. วารสารธรรมศาสตร์, 40 (2), 116-129.
วณิชา ชื่นกองแก้ว. (2561). คู่มือการจัดการศึกษาแบบสหวิชาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลิฟวิ่ง จำกัด.
วณิชา ชื่นกองแก้ว. (2559). คู่มือการจัดการศึกษาแบบสหวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ.ลิฟวิ่ง จำกัด.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. (2558). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
สถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ประจำปี 2559. นครปฐม : พริ้นเทอรี่.
สุณี เศรษฐเสถียร. (2558). รูปแบบการเรียนแบบสหวิชาชีพ ณ กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลอุดรธานี. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร, 25(2), 65-70.
อติญาณ ศรเกษตรินและคณะ.(2563).ผลการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อทักษะการทำงานร่วมกันระหว่างทีมสหวิชาชีพ.วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 6(1), 125-135.
David A. Kolb, Richard E. Boyatzis &Charalampos Mainemelis. (2001). Experiential Learning Theory: Previous Research and New Directions. In Robert J. Sternberg, Li-fang Zhang. (Eds.), Perspectives on Thinking, Learning, and Cognitive Styles. (pp. 22-29). New York: Routledge.
Della Freeth Maggi Savin-Baden & Jill Thistlethwaite. (2018). Interprofessional Education. In
Tim Swanwick,Kirsty Forrest & Bridget C. O'Brien.(Eds.), Understanding Medical Education: Evidence, Theory, and Practice, (3rd ed.). (pp. 191-206).London: The Association for the Study of Medical Education.
World Health Organization. (2010). Health Professions Networks Nursing & Midwifery Human
Resources for Health. Framework for Action on Interprofessional Education &
Collaborative Practice, Geneva, Switzerland.
World Health Organization. (2016). World Health Statistics 2016: Monitoring health for the
SDGs. Age – data should cover the full life course, Villars-sous-Yens, Switzerland.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว