ผลของการสอนปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในวิชาปฏิบัติบริหารทางการพยาบาลต่อทักษะทางปัญญาของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • จรูญลักษณ์ ป้องเจริญ
  • จักรกฤษณ์ ลูกอินทร์
  • ดารินทร์ พนาสันต์
  • ลักขณา ศิรถิรกุล

คำสำคัญ:

ทักษะทางปัญญา หลักฐานเชิงประจักษ์ ปฏิบัติบริหารทางการพยาบาล

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Designs ) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสอนปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในวิชาปฏิบัติบริหารทางการพยาบาลต่อทักษะทางปัญญาของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี ที่เรียนวิชาปฏิบัติบริหารทางการพยาบาล จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คนและกลุ่มควบคุม 30 คน การคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้โปรแกรม G*power 3.1.9.4  เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  2 ส่วน ได้แก่ 1) วิธีการจัดการเรียนการสอนตามขั้นตอนการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของเฟมมิ่งและเฟนตัน (Flemming. & Fenton , 2002) และ 2 ) แบบวัดทักษะทางปัญญาชุดที่ 1 และชุดที่ 2 มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์ของแอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.79 และ 0.74 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที

        ผลการวิจัย พบว่าค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนทักษะทางปัญญาหลังการสอนปฏิบัติการพยาบาลของกลุ่มทดลองโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในวิชาปฏิบัติบริหารทางการพยาบาล  มากกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  และเมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่าค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานคะแนนทักษะทางปัญญาหลังการสอนปฏิบัติการพยาบาลของกลุ่มทดลองโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในวิชาปฏิบัติบริหารทางการพยาบาลมากกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนตามปกติทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  ข้อเสนอแนะควรนำวิธีการสอนตามขั้นตอนการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อเพิ่มทักษะทางปัญญาของนักศึกษาพยาบาลไปใช้ในวิชาปฏิบัติทางการพยาบาลอื่นๆ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ประกาศเรื่องมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ.2552.

เกียรติกำจร กุศล เสาวลักษณ์ วงศ์นาถ และอุไร จเรประพาฬ. (2551). ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ ปัญหาเป็นหลักต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น. การพยาบาลและการศึกษา, 1(2), 32-45.

คณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). ประกาศแนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดม
ศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ พิมพ์ครั้งที่ 6. กรงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณีและคณะ. (2554). ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์และการคิดอย่างมี วิจารญาณ: การบูรณาการในการจัดการเรียนรู้.กรุงเทพฯ: สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
ราชบัณฑิตยสถาน.

ทัศนีย์ เกริกกุลธร. (2555). การพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์: ขั้นตอนการปฏิบัติและกรณีศึกษา.
พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับปรับปรุง). สระบุรี: โรงพิมพ์ไทยศิริ.

ธนพร แย้มสุดา. (2551). การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางพยาบาลศาสตร์. สารวิทยาลัยพยาบาล
กองทัพเรือ, 7(3), 8-17.

นุสรา นามเดชและคณะ. (2560). ผลของการสอนปฎิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในวิชา
ปฏิบัติ การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางสุภาพจิตต่อทักษะทางปัญญาของนักศึกษา.วารสารวิทยาลัย
พยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 33(2), 111-121.

นุสรา ประเสริฐศรี มณีรัตน์ จิรัปปภาและอภิรดี เจริญนุกูล. (2559). ผลของโปรแกรมการสอนตามแนวคิดการ ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ต่อสมรรถนะการพยาบาล ตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในนักศึกษาพยาบาลวารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 17 (3) ,145-155.

นิธิภัทร บาลศิริ. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต : การ
ประยุกต์ใช้โมเดลพัฒนาการพหุระดับแบบผสม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชฌาย์วีร์ สินสวัสดิ์และชุมชนนักปฏิบัติ. (2560). แนวปฏิบัติการการสอนเพื่อพัฒนาทักษะทางปัญญา.
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี.

พิริยลักษณ์ ศิริศุภลักษณ์. (2556). การสอนนักศึกษาพยาบาลเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ.
วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 19(2), 5-19.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี. (2563). รายงานผลคุณภาพบัณฑิตในการปฏิบัติงานของบัณฑิต
ที่จบในปีการศึกษา 2562 ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ สาขาพยาบาล
ศาสตร์. เอกสารอัดสำเนา.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. Hillsdale, New Jersey: Lawrence
Erlbaum Associates.

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A.-G. (2009). Statistical power analysis using G*Power 3.1:
Test for correlation and regression analyses. Behav Res Methods , 41(11), 49-60.

Flemming, K., & Fenton, M. (2002). Making sense of research evidence to inform decision making. In C.
Thompson & D. Dowding (Eds.). Clinical decision making and judgment in nursing. Edinburgh :
Churchill Livingstone, 109-129.

Fin, P. (2005). Critical thinking: Knowledge and skills for Evidence-Based Practice. Language, Speech,
and Hearing Service in School, 42, 69-72.
Melnyk, B. M., Fineout-Overholt, E., Stillwell, S. B., & Williamson, K. M. (2010). Evidence-based
practice: step by step: the seven steps of evidence-based practice. AJN The American Journal of Nursing, 110(1), 51-53.

Melnyk B.M., Fineout-Overholt, E. (2015). Evidence-based practice in nursing & healthcare: Aguide to
best practice. 3 rd ed. Philadelphia: Wolters Kluwer Health.

The Joanna Briggs Institute. (2014). Reviewers’ Manual 2014 Edition. Australia: Solito Fine Colour
Printers. Retrieved May 1, 2016 from http: www.joannabriggs.org/assets/
docs/sumari/reviewersmanual.

Thiel, L. & Ghosh, Y. (2008). Determining Registered Nurses’ Readiness for Evidence-Based Practice.
Worldviews on Evidence-Based Nursing, 5(4), 182–192.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27