พัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST segment ยกขึ้น ในระยะวิกฤต งานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

ผู้แต่ง

  • มรรยาท ขาวโต
  • สุรเชฎฐ์ กุคำใส

คำสำคัญ:

ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน การพัฒนาแนวปฏิบัติ วิจัยเชิงปฏิบัติการ

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้เป็นเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST segment ยกขึ้น ในระยะวิกฤต และวิเคราะห์แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในระยะวิกฤต งานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี ขั้นตอนการศึกษาประกอบไปด้วย 4 ระยะ ตามแนวคิดการใช้วงจรการปฏิบัติการของเคมมิสและแมคทากาท (Kemmis & Mc Taggart, 1988) ได้แก่ ระยะรวบรวมข้อมูลและวางแผน ระยะการปฏิบัติการ ระยะสังเกตการณ์ และระยะการสะท้อนกลับ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์จากแบบสอบถาม และแบบสังเกต และการสนทนากลุ่ม จากแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างโดยสถิติเชิงวิเคราะห์ได้แก่ Independent t-test

       ผลจากการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาพบว่าผลจากการมีส่วนร่วมและการประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างสร้างสรรค์ระหว่างทีมสหวิชาชีพได้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในระยะวิกฤต งานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี และผลการนำแนวปฏิบัติการดูแลไปใช้พบว่า ความรู้ของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST segment ยกขึ้นระยะวิกฤตอยู่ในระดับสูงคิดเป็นร้อยละ 100 พยาบาลปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST segment ยกขึ้นระยะวิกฤต โดยรวมอยู่ในระดับมีความครบถ้วน และการนำแนวปฏิบัติไปใช้ผู้ป่วยได้รับการเปิดหลอดเลือดด้วยยาละลายลิ่มเลือด (door to needle time) ภายใน 30 นาทีแตกต่างกับก่อนใช้แนวปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value <.05

References

กระทรวงสาธารณสุข HDC version 4. (2562). สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2562, จากวิกิพีเดีย https://hdcservice.moph.go.th.

กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. (2561). บทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ. นนทบุรี : สำนักพิมพ์สื่อตะวัน.

ณรงค์กร ชัยวงศ์ และปณวัตร สันประโคน. (2562). ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน: ความท้าทายของ
พยาบาลฉุกเฉินในการดูแลผู้ป่วยระยะวิกฤติ.วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ, 43-51.

วรรณิภา เสนุภัย และคณะ. (2562). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน แผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์.วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ,11 , 104-116.

ศศิธร ช่างสุวรรณ์ และคณะ. (2561). การพัฒนาระบบการพยาบาลระยะฉุกเฉินในผู้ป่วย STEMI งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทยปีที่, 8, 372-384.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2549). การวิจัยการตลาดฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ธรรมสาร จำกัด.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2562, จากวิกิพีเดีย
https://www.ha.or.th/TH/AboutUs.

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2557). แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี 2557. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ศรีเมืองการพิมพ์.

สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2551). มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

อรวดี กาลสงค์. (2563). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับยา Streptokinase ของโรงพยาบาลสะเดา. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์,10 (2), 38-53.

โอษิษฐ์ บำบัด และปิยาภรณ์ ศิริจันทร์ชื่น. ผลของการพัฒนาระบบการส่งต่อ STEMI FAST PASS ในเครือข่ายโรคหัวใจเชียงราย-พะเยา. เชียงรายเวชสาร, 13(1).

Bloom. B.S. (1968). Mastery learning. UCLA – CSEIP Evaluation Comment. 1 (2) Losangeles.
University of California at Los Angeles

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner (3rd ed.). Geelong, Australia:
Deakin University Press

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27