การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลมารดาหลังคลอดที่มี ภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง โรงพยาบาลนครปฐม
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแนวทางปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะความดันโลหิตชนิดรุนแรง 2) ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำแนวทางปฏิบัติไปใช้ 3) ศึกษาการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติทางการพยาบาล 4) ศึกษาผลลัพธ์หลังการนำแนวปฏิบัติทางการพยาบาลไปใช้ ประชากรเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 14 คน และกลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง จำนวน 52 คน กรอบแนวคิดประยุกต์ตามแนวปฏิบัติทางคลินิกของสภาวิจัยทางการแพทย์และสุขภาพแห่ง ชาติประเทศออสเตรเลีย (NHMRC, 1998) การพัฒนาแบ่งเป็น 2 ระยะ 1) การกําหนดประเด็น ปัญหา 2) การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม แบบสังเกต และแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงlสถิติเชิงพรรณา
ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง ประกอบด้วย 4 หมวดได้แก่ 1)ก่อนรับย้าย 2)การดูแลภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด 3)การดูแลภายหลัง 24 ชั่วโมง 4) การจำหน่ายและการติดตามหลังคลอด 2.ความเป็นไปได้ของการนำแนวปฏิบัติทางการพยาบาลไปใช้ โดยรวมอยู่ในระดับสูง (M= 4.11, SD = 0.28) 3. การปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ พบว่า สามารถปฏิบัติตามได้โดยรวมทั้ง 4 หมวด ร้อยละ 94.23 -100 4. ผลลัพธ์ทางการพยาบาลหลังการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาล พบว่า ไม่พบการเกิดภาวะแทรกซ้อนใด จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรงมีความเหมาะสมในการนำไปใช้
References
นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน.
จิตณัฏฐา สุทธิจำนง, ศศิกานต์ กาละ และสุรีย์พร กฤษเจริญ. (2559). ความต้องการการพยาบาลของ
หญิงตั้งครรภ์ความดันโลหิตสูงขณะรับการรักษาในโรงพยาบาล เพื่อก้าวข้ามภาวะวิกฤต. วารสาร
พยาบาลสงขลานครินทร์, 56, 132-145.
จันทนา ธรรมธัญญารักษ์. (2563). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกในการให้ยาระงับ
ความรู้สึกทั่วไปในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงที่มารับการผ่าตัดคลอดที่โรงพยาบาล
นครนายก. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย, 7(1), 41-56.
ระบบฐานข้อมูลเวชระเบียน โรงพยาบาลนครปฐม. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2564, จากวิกิพีเดีย https://www.nkpthospital.go.th.
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. (2558). แนวทางการปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์
แห่งประเทศไทย เรื่อง การดูแลภาวะครรภ์เป็นพิษ(Clinical practice guideline management of preeclampsia and eclampsia). สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2564, จากวิกิพีเดีย http://www. Med. cmu.ac.th.
รัตนา ด่านปรีดา. (2561). กรณีศึกษาผู้คลอดเฉพาะรายเรื่อง การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์แฝดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ชนิดรุนแรงและผ่าตัดคลอด. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 1(1), 70-89.
วัชรี จิตรนาวี, เบญจศิริ สกุลเทพ, ดวงใจ วุฒิชาน, และบุญญรัตน์ ซุงสุวรรณ. (2560). ผลของการวางแผนก่อนจำหน่ายมารดาหลังคลอดที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 31(1), 165-170.
ศรีเกียรติ อนันต์สวัสดิ์ (บรรณาธิการ). (2555). การพยาบาลสูติศาสตร์ เล่ม 3 (พิมพ์ครั้งที่ 12). นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.
สิรยา กิติโยดม และ เพ็ญวิมลศรีทอง. (2561). ความคลาดเคลื่อนในการรักษาภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรงในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 43(2), 153-161.
สีนวล รัตนวิจิตร (2560). การพยาบาลฉุกเฉินในสตรีตั้งครรภ์ที่มีการชักจากภาวะครรภ์เป็นพิษ. งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
สุภานัน ชัยราช. (2555). บทบาทพยาบาลกับการพยาบาลมารดาที่มีภาวะชัก ภาวะครรภ์เป็นพิษที่รุนแรงขณะตั้งครรภ์ที่ไม่ครบกำหนด ใน เอกชัย โควาวิสารัช, ปัทมา พรหมสนธิ,
บุญศรี จันทร์รัชชกูล (บรรณาธิการ) วิกฤติทางสูติศาตร์ที่รุนแรง: Sevrer Obstetric Crisis. กรุงเทพมหานคร: ทรี-ดี สแกน.
สุพัตรา ศิริโชติยะกุล และธีระ ทองสง. (2555). ความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์ ใน ธีระ ทองสง (บรรณาธิการ). สูติศาสตร์(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร. ลักษมีรุ่ง.
เปมิกา ใจสมุทร และ สิรยา กิติโยดม (2560) ผลของดัชนีมวลกายสตรีตั้งครรภ์ต่อระดับแมกนีเซียมในเลือดของสตรีภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรงหลังได้รับการรักษาด้วยแมกนีเซียมซัลเฟตโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. Thai Journal of Obstetrics and Gynaecology, 25(3), 159-166.
พิริยา ทิวทอง. (2552). ผลของโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการปฏิบัติตนที่สอดคล้องกับแผนการรักษาพยาบาลและความรุนแรงของโรคในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเนื่องมาจากการตั้งครรภ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).
พรศิริ เสนธิริ, สุดใจ ศรีสงค์, รัศมีแข พรหมประกาย, เพียงเพ็ญ สร้อยสุวรรณ, และ ขวัญฤดี โกพลรัตน์. (2560). การพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 32(2), 117-129.
พัชราภรณ์ เจียรนัยธนะกิจ. (2563). การพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง: กรณีศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 33(2), 12-23.
อรทัย ใจกว้าง. (2554). การพัฒนาแนวปฏิบัติเพื่อลดความไม่สุขสบายในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ชนิดรุนแรง โรงพยาบาลอุดรธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
Cunningham, FG., Leveno, KJ., Bloom, SL., Spong, CY., Dashe, JS., Hoffman, BL., Casey, BM., & Sheffield, JS. (2014). Williams obstetrics (24th ed.). New York: McGraw-Hill.
Department of Reproductive Health and Research. (2012). Managing Complications in Pregnancy and Childbirth: A guide for midwives and doctors. WHO Library Cataloguing-in-Publication Data.
Ferreira MBG, Silveira CF, Silva SR, Souza DJ, Ruiz MT.(2016). Nursing care for women with pre-eclampsia and/or eclampsia: integrative review. Rev Esc Enferm USP, 50(2), 320-330.
Joanna Briggs Institute for Evidence Based Nursing & Midwifery. (2008). Reviewers’ manual. Retrieved from http://www.joannabriggs.edu.au.
HDP CPG Working Group. Association of Ontario Midwives. (2012). Hypertensive Disorders of Pregnancy. Retrieved from http://www.aom.on.ca/
Health_Care _Professionals/ Clinical_Practice_Guidelines/.2012(Clinical Practice Guideline. McKinney, E., James, R., Murray, R, & Ashwill, J. (2009). Maternal-child nursing (3rd ed.). St Louis, MO: Saunders Elsevier.
National Institute for Health and Clinical Excellence. Hypertension in pregnancy: the management of hypertensive disorder during pregnancy. NICE clinicalguideline. Retrieved from http://www.guideline.gov/content.aspx?id=24122.
Pillitteri, A. (2013). Maternal & child health nursing: Care of the childbearing & childrearing family (7th ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.
Raney, JH, Morgan, MC, Christmas, A, Sterling, M, Spindler, H, Ghosh, R, Gore, A, et al. (2019). Simulation-enhanced nurse mentoring to improve preeclampsia and eclampsia care: an education intervention study in Bihar, India. BMC Pregnancy and Childbirth, 19(3), 41.
Ross, M. G. (2016). Eclampsia: Overview, Etiologic and Risk Factors for preeclampsia/ Eclampsia, Multiorgan System Effects. Medscape Reference Drugs, Diseases & Procedures. Medscape Reference drugs, Diseases & Procedures. Retrieved from http://emedicine.medscape.com.
Sheikh, S, Qureshi, RN, Khowaja, AR, Salam, R, Vidler, M, Sawchuck, D, Dadelszen, P, et al. (2016). Health care provider knowledge and routine management of pre-eclampsia in Pakistan. Reproductive Health, 13(2), 104.
Silva SCN, Alencar BR, Viduedo AFS, Ribeiro LM, Ponce de Leon CGRM, Schardosim JM. (2021). Management of severe preeclampsia in the puerperium: development and scenario validation for clinical simulation. Rev Bras Enferm, 74(6).
WHO. (2011). WHO recommendations for prevention and treatment of pre-eclampsia and eclampsia. WHO Library Cataloguing-in-Publication Data. Retrieved from www. who.int/reproductivehealth/publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว