ผลของการประคบร้อนร่วมกับประคบเย็นและการนวดหลังต่อความเจ็บปวดและพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดของผู้คลอดวัยรุ่นครรภ์แรก
คำสำคัญ:
การประคบร้อนร่วมกับประคบเย็น การนวดหลัง ความเจ็บปวดระยะคลอดบทคัดย่อ
การบรรเทาปวดโดยไม่ใช้ยาในระยะรอคลอด เป็นวิธีปลอดภัยที่พยาบาลผดุงครรภ์ควรปฎิบัติการพยาบาลเพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้คลอดวัยรุ่นครรภ์แรกสามารถเผชิญกับความทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวดในระยะที่ 1 ของการคลอดได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของการประคบร้อนร่วมกับประคบเย็นและการนวดหลัง ต่อความเจ็บปวด และพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะที่ 1 ของการคลอดของผู้คลอดวัยรุ่นครรภ์แรก กรอบแนวคิดประยุกต์ทฤษฎีควบคุมประตู กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้คลอดอายุ 15-19 ปี แบ่งเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 22 คน ได้แก่ 1. กลุ่มประคบร้อนร่วมกับประคบเย็น 2. กลุ่มนวดหลัง และ 3.กลุ่มการพยาบาลตามปกติด้วยเทคนิคการหายใจ รวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความเจ็บปวดด้วยตนเอง และแบบประเมินพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวด โดยวัดผลหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติ One Way ANOVA
ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มประคบร้อนร่วมกับประคบเย็น และกลุ่มนวดหลัง มีคะแนนเฉลี่ยความเจ็บปวดโดยรวม น้อยกว่ากลุ่มได้รับการพยาบาลตามปกติด้วยเทคนิคการหายใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (M= 5.13, 4.88, 6.16 ตามลำดับ, p<.001) และมีพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดโดยรวม มากกว่ากลุ่มการพยาบาลตามปกติด้วยเทคนิคการหายใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (M= 7.62, 7.37, 6.63 ตามลำดับ, p<.001) แสดงให้เห็นว่า การประคบร้อนร่วมกับประคบเย็น และการนวดหลังโดยประยุกต์ทฤษฎีควบคุมประตู มีผลทำให้ความเจ็บปวดของผู้คลอดวัยรุ่นครรภ์แรกลดลง และทำให้มีพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดที่เหมาะสม
References
จิราวรรณ คล้ายวิเศษ, ศรีสมร ภูมนสกุล และ จรัสศรี ธีระกุลชัย. (2560). ผลของการนวดและ/หรือการประคบร้อน ต่อระดับความปวดในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว และการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของผู้คลอดครรภ์แรก. Rama Nurs J. ,26(3), 263-276.
จุฬาภรณ์ คำวงษา. (2561). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในระยะคลอดโดยพยาบาลต่อระดับความเจ็บปวดและพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในหญิงวัยรุ่นครรภ์แรกโรงพยาบาลบึงกาฬ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 26(3), 164-175.
ฉวี เบาทรวง. (2526). ผลของการให้ความรู้อย่างมีแบบแผนและการสัมผัสต่อการลดความวิตกกังวล และพฤติกรรมการเผชิญความเครียดในระยะคลอด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
ดาริกา วรวงศ์. (2554). ผลการใช้เทคนิคการหายใจ การลูบหน้าท้องและการนวดก้นกบต่อการลดความเจ็บ ปวดและความพึงพอใจในมารดาที่ไม่เคยผ่านการคลอดในระยะที่ 1ของการคลอด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
ทัศนีย์ คล้ายขำ. (2555). ผลของการนวดร่วมกับการประคบร้อนต่อความเจ็บปวด และการเผชิญความเจ็บปวดของผู้คลอดครรภ์แรก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).
นุชสรา อึ้งอภิธรรม. (2554). ผลของการประคบเยนและการประคบรร้อนต่อความเจ็บปวดในการคลอดของผู้คลอดครรภ์แรก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
เบ็ญจมาภรณ์ ชูช่วย. (2558). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในระยะคลอดโดยพยาบาลต่อระดับความเจ็บปวดและพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในหญิงวัยรุ่นครรภ์แรก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).
พุทธชาด แก้วยา และ ศิลปชัย ฝั้นพะยอม. (2561). ความกลัวการคลอดบุตรของมารดาวัยรุ่นในระยะหลังคลอดและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. พยาบาลสาร,45(4), 26-36.
รังสินี พูลเพิ่ม, อุบลรัตน์ ระวังโค และ ขวัญเรือน ด่วนดี. (2556). ผลของการใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นประคบหน้าท้องต่อการลดความเจ็บปวดและการลดระยะเวลาของระยะปากมดลูกเปิดเร็วในมารดาครรภ์แรก. วารสารพยาบาลทหารบก, 14(3), 67-76.
ศศิธร พุ่มดวง. (2551). การลดปวดในระยะคลอดโดยไม่ใช้ยา. สงขลา: บริษัท อัลลายด์เพรส จํากัด.
Anderson, C., & McGuinness, T. (2008). Do teenage mothers experience childbirth as raumatic. Journal Of Psychosocial Nursing & Mental Health Services, 46(4), 21-24
Cevik, S.A., Karaduman, S. (2019). The effect of sacral massage on labor pain and anxiety: A randomized controlled trial. Japan Academy of Nursing Science, 17(1), e12272.
Gallo, SR., Santana, L.S., Jorge Ferreira, C.S., Marcolin, C.A., PoliNeto, B.O., Duarte, G,
Quintana, S.M. (2013). Massage reduced severity of pain during labour: a randomised
Trial. Journal of Physiotherapy, 59(2), 109-116.
Hartrick, C. T., Kovan, J. P., & Shapiro, S. (2003). The numeric rating scale for clinical pain
measurement: A ratio measure?. Pain Practice J, 3(4), 310-316.
Lowdermilk, D.L. (2012). Labour and birth process. In D.L. Lowdermilk, S.E. Perry, K. Cashion, & K.R. Alden (eds). Maternity and woman’ health care (10 th ed). St.Louis: Mosby.
Murray, S. S., & McKinney, E. S. (2010). Foundations of maternal - newborn and women's health nursing (5" ed.). Maryland Heights: Saunders.
Melzack, R., & Wall, P. D. (2003). Pain management. China: Churchill Livingstone.
Ranjbaran M, Khorsandi M, Matourypour P, Shamsi M. (2017). Effect of Massage Therapy on Labor Pain Reduction in Primiparous Women: A Systematic Review and Meta-analysis of Randomized Controlled Clinical Trials in Iran. Iran J Nurs Midwifery Res, 22(4), 257-261.
Sauls, D. J. (2010). Promoting a positive childbirth experience for adolescents. Journal of Obstetric,Gynecologic, and Neonatal Nursing, 39(6), 703-712.
Taavoni, S., Sheikhan, F., Abdolahian, S., Ghavi, F. (2016). Birth ball or heat therapy? A randomized controlled trial to compare the effectiveness of birth ball usage with sacrum-perineal heat therapy in labor pain management. Complementary Therapies in Clinical Practice, 24, 99-102.
WHO. (2010). Position paper on mainstreaming adolescent pregnancy in efforts to make pregnancy safer. Geneva : World Health Organization.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว