ผลของบทเรียนออนไลน์เรื่องภาวะโภชนาการเกินในเด็กต่อความรู้และทัศนคติของประชาชน

ผู้แต่ง

  • นฤมล เอกธรรมสุทธิ์
  • สิรารักษ์ เจริญศรีเมือง
  • ทับทิม ปัตตะพงศ์
  • ชลลดา ติยะวิสุทธิ์ศรี
  • รุ่งทิวา หวังเรืองสถิตย์
  • สาวิตรี ลิ้มกมลทิพย์
  • ธิติรัตน์ ราศิริ

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Designs) แบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนเรียนและหลังเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของบทเรียนออนไลน์เรื่องภาวะโภชนาการเกินในเด็กต่อความรู้และทัศนคติของประชาชน กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนตำบลดอนทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 370 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย  1)บทเรียนออนไลน์เรื่องภาวะโภชนาการเกินในเด็ก 2)แบบสอบถามความรู้เรื่องภาวะโภชนาการเกินในเด็ก และ 3)แบบสอบถามทัศนคติเรื่องภาวะโภชนาการเกิน แบบสอบถามทั้ง 2 ชุด มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.76 และ 0.83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Paired Samples t- test

        ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้ของประชาชนหลังเรียนบทเรียนออนไลน์เรื่องภาวะโภชนาการเกินในเด็กหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และคะแนนเฉลี่ยทัศนคติของประชาชนเมื่อเรียนออนไลน์เรื่องภาวะโภชนาการเกินในเด็กหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า บทเรียนออนไลน์เรื่องภาวะโภชนาการเกินในเด็ก สามารถพัฒนาความรู้และทัศนคติของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะควรพัฒนาบทเรียนออนไลน์ในเรื่องอื่นๆให้สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของประชาชนเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และทัศนคติที่ดียิ่งขึ้น

References

กัลยาณี โนอินทร์. (2560). ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในวัยเรียนและวัยรุ่นไทย. วารสารพยาบาลทหารบก,

(พิเศษ), 1–8.

กมลรัฐ อินทรทัศน์. (2557). ทฤษฎีการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ. นนทบุรี.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กรุงเทพธุรกิจ. (2565, 4 มีนาคม). "โรคอ้วน" กระทบเศรษฐกิจ 13.2% ของงบประมาณสาธารณสุขทั่วโลก.

สืบค้นวันที่ 2 มกราคม 2565 จากวิกิพิเดีย https://www.bangkokbiznews.com

คมสิทธิ์ สิทธิประการ, วิกรม ฉันทรางกูร และภัชญาภา ทองใส .(2561). ผลสัมฤทธิ์การเรียนการอ่านขั้นสูง

โดยการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

สืบค้นวันที่ 2 มกราคม 2565 จากวิกิพิเดีย https://riss.rmutsv.ac.th.

จักรินทร์ ปริมานนท์, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ และสมเกียรติยศ วรเดช, (2561). ภาวะโภชนาการและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะโภชนาการในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี: การทบทวนวรรณกรรม. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(1), 329-342.

จิรนันท์ ช่วยศรีนวล, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ และสมเกียรติยศ วรเดช. (2562). ความฉลาดทางสุขภาพต่อการ

ป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียน. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 5(1), 1-13.

ชัชวาลย์ เพ็ชรกอง และพรรณี บัญชรหัตถกิจ. (2562). ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารสุขศึกษา, 42(2), 23–32.

ดารินทร์ ซอโสตถิกุล, (2564, 28 กรกฎาคม). โรคอ้วนในเด็กกับยุค New Normal. สืบค้นวันที่ 2 มกราคม 2565 จากวิกิพิเดีย https://chulalongkornhospital.go.th.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ปลุกโลกการสอนให้มีชีวิตสู่ห้องเรียนแห่งศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สานักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.).

ธัญลักษณ์วดี ก้อนทองถม, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม และอาภาวรรณ หนูคง. (2561). ผลของโปรแกรมการควบคุมน้ำหนักต่อพฤติกรรมการบริโภคและพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน. วารสารพยาบาลศาสตรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 30(2), 28-40.

บุญทิพย์ สิริธรังศรี. (2563). การจัดการเรียนการสอนออนไลน์สู่กรอบมาตรฐานวิชาชีพการสอนและสนับสนุนการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์, 2(3), 1-17.

ประศักดิ์ สันติภาพ. (2562). การเปลี่ยนทัศนคติด้วยการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงในการส่งเสริมความรอบ

รู้สุขภาพ. วารสารการพยาบาลสุขภาพและการศึกษา, 2(4), 13-21.

ผลิดา หนุดละ, ปิยะนุช จิตตนูนท์ และกาญจน์สุนภัส บาลทิพย์. (2560). ผลของโปรแกรมการเตือนตนเองด้านการบริโภคอาหารโดยใช้อินเตอร์เน็ตต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและน้ำหนักตัวในวัยรุ่นที่มีภาวะโภชนาการเกิน. วารสารสภาการพยาบาล, 32(1), 32–46.

มณีเนตร วรชนะนันท์. (2564). การศึกษาเกี่ยวกับทัศนคติของวัยรุ่นไทยในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อ

อาหารไทยโดยใช้ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์. วารสารสวนสุนันทาวิชาการและวิจัย, 15(2)

(กรกฎาคม-ธันวาคม), 26-40.

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์ และจรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบ

ออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้

จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 , 14(34), 285-298.

เยาวนารถ พันธุ์เพ็ง. (2563). การสื่อสารสุขภาพผ่านสื่อสังคมเครือข่ายกับกลุ่มโรค NCDs ตามแนวคิด

“สร้างนําซ่อม” วารสารสหศาสตรศรีปทุมชลบุรี, 6(1), 56-67.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานภาวะโภชนาการงานอนามัยโรงเรียน.

สืบค้นวันที่ 2 มกราคม 2565 จากวิกิพิเดีย https://hdcservice.moph.go.th.

ศิรดา เสนพริก. (2560). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถของตนเองในเด็กที่มี

ภาวะน้ำหนักเกิน ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนขจรเกียรติศึกษา จังหวัดภูเก็ต.วารสารการ

พัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(2), 297-314.

อรณิชา โพธิ์หมื่นทิพย์. (2564). ประสิทธิผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคอ้วนของ

นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา.สืบค้นวันที่ 2 มกราคม 2565 จากวิกิ พิเดีย https://www.mnrh.go.th.

อัจฉรา นาเมือง และพรรณี บัญชรหัตถกิจ. (2563). ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ ในการป้องกันโรคอ้วนของบุคลากรที่มีภาวะน้ำหนักเกินของศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 13(3), 78-89.

เอกราช ดีเลิศ และ พรพรรณ ประจักษ์เนตร. (2558). ผลของนวัตกรรมการสื่อสารเรื่องภาวะโภชนาการเกิน

ที่มีผลต่อความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติของเด็กประถมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญา

มหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารหารศาสตร์).

Alibak M, Talebi H, Neshatdoost H. (2019). Development and Validation of a Test Anxiety Inventory

for Online Learning Students. Journal of Educators Online: 16(2). 112-121.

Brown CL, Halvorson EE, Cohen GM, Lazorick S, Skelton JA. Addressing Childhood Obesity:

Opportunities for Prevention. Pediatr Clin North Am. 2015;62(5):1241-1261.

Bloom, B.S. (1975). Taxonomy of Education. David McKay Company Inc., New York.

Bureau of Nutrition, Ministry of Public Health. (2006).The fifth national nutrition survey of Thailand 2003

Report. Bangkok: Express Transportation Organization Printing.(in Thai)

Chaisri J, Klungtumneim K, Buajarean H. Clinical NursingPractice Guidelinefor Managementof Obesity

in Children: the Synthesis of Thesis. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 2014;15(2):360-

(in Thai)

World Health Organization. (2018, June). Global Strategy on Diet, Physical Activity and Health

[Internet]. Retrived form: http://who.int/Dietphysicalactivity/child hood/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-28