ประสิทธิผลของการพัฒนาศักยภาพด่านครอบครัว เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ทางถนน อำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ธนบดี โจทย์กิ่ง

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล ประสิทธิผลของด่านครอบครัว การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนน

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory action research: PAR) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนาศักยภาพด่านครอบครัว เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนน อำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาศักยภาพด่านครอบครัว ในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนน   2) ประเมินประสิทธิผลศักยภาพด่านครอบครัว ในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนน กลุ่มตัวอย่างคือ ตัวแทนหน่วยงานภาคราชการ 21 คน และ ประชาชนจากครัวเรือนในพื้นที่ 4 ตำบล ของอำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 115 คน ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยทำการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถาม ทำการศึกษาโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth Interview) การสนทนากลุ่ม (focus group discussion) และการจัดโครงการอบรม ทำการศึกษาระหว่างเดือน มกราคม – ธันวาคม พ.ศ. 2564

             ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาศักยภาพด่านครอบครัว ในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ประกอบด้วย        3 ขั้นตอน คือ 1)  การสร้างความรู้ (Appreciation: A) 2) การสร้างแนวทางการพัฒนา (Influence: I) 3) การสร้างแนวทางปฏิบัติ (Control : C) ประสิทธิผลศักยภาพด่านครอบครัว ในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนน พบว่า หลังการเข้าโครงการอบรม กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน สูงกว่าก่อนเข้าร่วมการอบรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ไชยภูมิ สิทธิวัง. (2555). การจัดทำแผนงานชุมชนแบบมีส่วนร่วม (PAR) โดยการประยุกต์ใช้เทคนิค A-I-C. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2565 จากวิกิพิเดีย https://www.dmcr.go.th.

นิพนธ์ ศุขปรีดี. (2537) . ประมวลสาระชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการฝึกอบรมหน่วยที่ 8-11. นนทบุรี:

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เมธิกา ไกรนที วันชัย ธรรมสัจการ และอุทิศ สังขรัตน์. (2020). ครอบครัว: สถาบันหลักทางสังคมกับบทบาทการพัฒนามนุษย์แบบองค์รวม. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 33(1), 1 – 16.

วิไลวรรณ บัวชุม. (2559). ประสิทธิผลการจัดการความปลอดภัยทางถนนตามยุทธศาสตร์ 5E เพื่อลดอุบัติเหตุทางถนนของสำนักงานขนส่งจังหวัดเพชรบุรี. (ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์).

ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน. (2563). การเปรียบเทียบทางสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2565 จากวิกิพิเดีย https://www.thairsc.com.

สมบูรณ์ จิตต์พิมาย. (2564). ผลการจัดการด่านชุมชนเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนน อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 7(1), 237 – 255.

สินธุ์ สโรบล. (2552). วิธีวิทยาวิจัยเพื่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาชุมชน: บทสังเคราะห์งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในประเทศไทยและประสบการณ์จากต่างประเทศ. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.

สิริทรัพย์ สีหะวงษ์ และ สุพัตรา ดีดวงพันธ์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเลี้ยงดูกับพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 19(3), 165 – 172.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอลำทะเมนชัย. (2563). รายงานอุบัติเหตุ 2562 – 2563. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา.

สุพิมล ขอผล และคณะ. (2557). การใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการดื่มสุราในชุมชนหมู่บเนหนองเต่าคำใหม่ ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 2(3), 313 – 324.

อุทัยทิพย์ เจี่ยวิวรรธน์กุล. (2553). การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม: แนวคิด หลักการ และบทเรียน. กรุงเทพฯ.

พี.เอ.ลิฟวิ่ง.จำกัด.

Cohen J. (1977). Statistical power for the behavioral sciences. 2nd ed. New York: Academic Press.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.

Kemmis, S and Ma Taggart, R. (Eds.). (1988). The Action Research Planner. 3rd ed. Geelong, Australia:

Deakin University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-28