การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 3 Self เพื่อส่งเสริมความยึดมั่นผูกพันทางการเรียนของผู้เรียนระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • รุ่งอรุณ ปิยะฤทธิ์
  • จันทรัศม์ บุญมี
  • อัปสรสิริ เอี่ยมประชา
  • ศิชา สังวารวงษ์

คำสำคัญ:

ความยึดมั่นผูกพันทางการเรียน รูปแบบการเรียนการสอน 3 self การตระหนักรู้ในตนเอง การประเมินตนเองการเรียนรู้แบบนำตนเอง

บทคัดย่อ

           การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 3 Self  เพื่อส่งเสริมความยึดมั่นผูกพันทางการเรียนของผู้เรียนระดับปริญญาตรี กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย (เก็บข้อมูลความต้องการในการพัฒนารูปแบบฯ) คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 36 คน มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความยึดมั่นผูกพันทางการเรียนของผู้เรียนก่อนการใช้รูปแบบฯ มีการวัดทั้งหมด 3 ด้าน คือ ด้านปัญญา ด้านอารมณ์ และด้านพฤติกรรม ทั้งหมดรวม 15 ตัวชี้วัด และคำถามปลายเปิด 1 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่าเฉลี่ย และการหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

             ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 3 Self  มีหลักการ คือ เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมเข้ามามีบทบาทในการกำหนดการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน และมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้ของตนเอง โดยถือว่าเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสามารถพัฒนาความยึดมั่นถือมั่นด้านปัญญา ด้านอารมณ์ และพฤติกรรมของผู้เรียนได้ด้วยตนเอง เพื่อให้การจัดการเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีขั้นตอน 5 ขั้นได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 Self – investigate (สำรวจ) ขั้นตอนที่ 2 Self - set goal (สนใจ) ขั้นตอนที่ 3 Strategic for learning (เรียนรู้) ขั้นตอนที่ 4 Show (แสดง) และขั้นตอนที่ 5 Self-reflection (สะท้อน)

References

นพมาศ ว่องวิทยากุล และอวยพร เรืองตระกูล. (2558). การพัฒนาโปรแกรมเพื่อส่งเสริมความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา: การทดลองแบบอนุกรมเวลา. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 10(4), 113-124.

ปาจรีย์ หวังรุ่งกิจ, สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล และ สิริวรรณ ศรีพหล. (2561). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะความยึดมั่นผูกพันในวิชาการของนักศึกษาปริญญาตรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

เรณุมาศ มาอุ่น. (2559). การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารเทคโนโลยี

ภาคใต้, 9(2), 169-176.

Barkley, E. F. (2018). Terms of engagement: Understanding and promoting student engagement in today’s college classroom. In Deep active learning (pp. 35-57). Springer, Singapore.

Barkley, E. F., & Major, C. H. (2020). Student engagement techniques: A handbook for college faculty. John Wiley & Sons.

Boud, D. (2013). Enhancing learning through self-assessment. Routledge.

Bouchard, P. (2009). Pedagogy without a teacher: What are the limits. International Journal of self-directed learning, 6(2), 13-22.

Brownhill, S. (2022). Asking more key questions of self-reflection. Reflective Practice, 23(2), 279–290.

Candy, P. C. (1991). Self-direction for lifelong learning: A comprehensive guide to theory and Practice. San Francisco: Jossey-Bass.

Charbonneau-Gowdy, P., & Chavez, J. (2019). 3 M Model for Uncovering the Impact of Multi level Identity Issues on Learners’ Social Interactive Engagement Online. Electronic Journal of e-Learning, 17(2), pp131-143.

Christenson, S., Reschly, A. L., & Wylie, C. (2012). Handbook of research on student engagement (Vol. 840). New York: Springer.

Eckroth-Bucher, M. (2010). Self-awareness: A review and analysis of a basic nursing concept. Advances in Nursing Science, 33(4), 297-309.

Falchikov, N., & Goldfinch, J. (2000). Student peer assessment in higher education: A meta-analysis comparing peer and teacher marks. Review of educational research, 70(3), 287-322.

Fredricks, J. A., Blumenfeld, P. C., & Paris, A. H. (2004). School engagement: Potential of the concept, state of the evidence. Review of educational research, 74(1), 59-109.

Halverson, L. R., & Graham, C. R. (2019). Learner engagement in blended learning environments: A conceptual framework. Online Learning, 23(2), 145-178.

Ketonen, E. E., Haarala-Muhonen, A., Hirsto, L., Hänninen, J. J., Wähälä, K., & Lonka, K. (2016). Am I in the right place? Academic engagement and study success during the first years at university. Learning and Individual Differences, 51, 141-148.

Knowles, M. S. (1975). Self-directed learning: A guide for learners and teachers.

Knowles, M. S., Holton, E. F. I., & Swanson, R. A. (2015). The adult learner: The definitive classic in adult education and human. Florence: Taylor and Francis, 265.

Marks, H. M. (2000). Student engagement in instructional activity: Patterns in the elementary, middle, and high school years. American educational research journal, 37(1), 153-184.

Maker, J. C., & Neilson, A. B. (1995). Teaching models in education of the gifted. 2nd ed. Texas: ProEd.

Mezirow, J. (1977). Transformative Learning: Theory to Practice. New Directions For Adult And

Salamati, P. (2012). Lifelong learning; why do we need it? Procedia - Social and Behavioral Sciences, 31,

-403. https://doi.org

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-22