การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองด้วยผู้ป่วยมาตรฐานเพื่อส่งเสริมความรู้ ความมั่นใจในความสามารถของตนเองและทักษะการสอสารเพื่อการบำบัด
คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง ความรู้ ความมั่นใจ ทักษะการสื่อสารเพื่อการบำบัดบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองด้วยผู้ป่วยมาตรฐานเพื่อส่งเสริมความรู้ ความมั่นใจในความสามารถของตนเอง และทักษะการสื่อสารเพื่อการบำบัด โดยแบ่งการดำเนินการออกเป็น 4 ขั้น ดังนี้ 1) การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการจัดการเรียนรู้ 2) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ในนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี จำนวน 30 คน กลุ่มที่ 1-5 และ 4) การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ในนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี จำนวน 75 คน กลุ่มที่ 6-15โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยให้นักศึกษาทำแบบวัดความรู้เรื่องการสื่อสารเพื่อการบำบัด แบบสอบถามวัดความมั่นใจ ในความสามารถของตนเอง แบบประเมินทักษะการสื่อสารเพื่อการบำบัดก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนประเมินก่อนและหลังการใช้รูปแบบโดยใช้สถิติทดสอบที (paired t-test) ซึ่งเครื่องมือวิจัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นทุกขั้นตอน ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือการวิจัย โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน หาความตรงเชิงเนื้อหาโดยใช้ดัชนีความสอดคล้อง มีค่าอยู่ระหว่าง 0.80-0.96 และ หาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้ Cronbach’s Alpha Coefficient มีค่าอยู่ระหว่าง 0.75-0.97
ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองด้วยผู้ป่วยมาตรฐานสำหรับนักศึกษาพยาบาล มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การกำหนดวัตถุประสงค์ครอบคลุม ความรู้ ความมั่นใจและทักษะการสื่อสารเพื่อการบำบัดของผู้เรียน 2) เนื้อหาเน้นสาระสำคัญเกี่ยวกับการสื่อสารเพื่อการบำบัดที่มีความเฉพาะเจาะจงในแต่ละสถานการณ์ 3) โจทย์สถานการณ์มีความหลากหลายในผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตแต่ละพฤติกรรม 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง ครบทุกระยะ 5) มีแนวทางการสะท้อนคิดที่ชัดเจนตรงประเด็น และเสริมสร้างพลังใจชี้ให้นักศึกษาเห็นศักยภาพของตนเอง 6) การประเมินผลเป็นรายบุคคลให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสามารถที่เปลี่ยนไปอย่างเป็นรูปธรรม และการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า ผลคะแนนเฉลี่ยของความมั่นใจในความสามารถของตนเอง และผลคะแนนเฉลี่ยของทักษะการสื่อสารเพื่อการบำบัดของนักศึกษาพยาบาล สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
References
ดวงกมล หน่อแก้ว . (2558). การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงทางพยาบาลศาสตร์ศึกษา.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 31 (3), 112-122.
ดวงใจ พรหมพยัคฆ์, วราภรณ์ สัตยวงศ์, จุฑามาศ รัตนอำภา, ภาวดี เหมทานนท์และวิไลภร รังควัต. (2562) . ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงร่วมกับการส่งเสริมทักษะการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลต่อพฤติกรรมการสะท้อนคิดและความสามารถในการตัดสินใจทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 25 (2), 57-71.
พรรณี ปานเทวัญ . (2559). การพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่21 กับการเรียนรู้เชิงรุกในวิชาชีพพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก , 17(3), 17-24.
ละมัด เลิศล้ำ, ชนิดา ธนสารสุธี, สุภาเพ็ญ ปานะวัฒนพิสุทธิ์ และชัชรีย์ บำรุงศรี. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 6 ฉบับพิเศษ, 43-58.
วงเดือน สุวรรณคีรี อรพิน จุลมุสิ และฐิติอาภา ตั้งค้าวานิช .(2559). การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองสำหรับนิสิตนักศึกษาพยาบาล.วารสารพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 28(2), 1-14.
ศิริชัย กาญจนวาสี .(2559). การวิจัยและพัฒนาการศึกษาไทยใน.วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 8(2), 1-18.
สมจิตต์ สินธุชัย และกันยารัตน์ อุบลวรรณ. (2560) การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง: การนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(1), 29-38.
สุภาเพ็ญ ปานะวัฒนพิสุทธิ์, ละมัด เลิศล้ำ และชนิดา ธนสารสุธี. (2562). การพัฒนารูปแบบโจทย์สถานการณ์เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริง. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28ฉบับพิเศษ, 33-41.
Dwi, B., Zuhroidah, I and Sujarwadi, M. (2020).The Effectiveness of Standardized Patient and Role-play Simulation Methods in Improveing Self-confidence and Therapeutic Communication Skills of Nursing Students. Nursing Health Journal, 9(1) .https://doi.org/10.36720/nhjk.vail.128.
Gibbs, G. (1998) Learning by doing: A guide to teaching learning methods. London:FEU.
Jeffries. P.R. and Rogers. K. J. (2012). Theoretical Framework For Simulation Design in Simulation in Nursing Education. USA: Laerdal Medical Corporation.
Kolb, D.A. (1999)Kolb learning cycle. (Online). Retrieved from http:// www.ldu.leeds.ac.uk/ldu/sddu_multimedia/images/kolb_cycle.gif.
Irwin, A. and Colella, C. (2020). Use of standardized Patient in mental health simulation. Journal of mental Health and Addiction Nursin, 4(1), 26-29.
Peplau, H. (1952). Interpersonal relations: A theoretical framework for application in nursing. New York:
G. Putnam & Sons.
Susanne, A. F. (2019). Learning to communicate professionally in Norman, L. K. and Debbie, S. Psychiatric Nursing. Missouri : Elsevier.
Suzanne, H. C., Natalia, D. A., and Ranjit, K. D. Teaching and Evaluating Therapeutic Communication in Suzanne, H. C.(2018). Simulated Scenarios. In Simulated Scenarios for Nursing Educator . New york : Springger Publishing Company, LLC.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว