ผลระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับบริการตามแนวทางการให้บริการผู้ป่วยสถานการณ์พิเศษ (COVID-19): กรณีศึกษา โรงพยาบาลบ้านลาด

ผู้แต่ง

  • ศมณัฐ บุญเลิศ

คำสำคัญ:

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม แนวทางการให้บริการผู้ป่วยสถานการณ์พิเศษ (COVID-19)

บทคัดย่อ

           การวิจัยแบบผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ก่อนและหลังได้รับบริการตามแนวทางการให้บริการผู้ป่วยสถานการณ์พิเศษ (COVID-19) 2. ศึกษาปัญหาความต้องการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ และ 3. พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในวิถีใหม่ กลุ่มตัวอย่างสำหรับวิธีการเชิงปริมาณ คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 45 คน และวิธีการเชิงคุณภาพ คือ เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการในคลินิกเบาหวาน จำนวน 8 คน และผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสำรวจภาวะสุขภาพ ประเด็นคำถามสำหรับการอภิปรายกลุ่ม  และแนวคำถามปลายเปิดสำหรับสัมภาษณ์เจาะลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา

           ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม ก่อนและหลังได้รับบริการด้วยสถิติ Paired t-test พบว่า ค่าระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม หลังรับบริการตามแนวทางการให้บริการผู้ป่วยสถานการณ์พิเศษ (COVID-19) ต่ำกว่าก่อนรับบริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=3.52, p=.001)

          2. ปัญหาและความต้องการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่พบ คือผู้ป่วยบางรายได้รับยาล่าช้า และระบบฐานข้อมูลส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยไม่เป็นปัจจุบัน เจ้าหน้าที่มีข้อเสนอให้พัฒนาระบบฐานข้อมูลและระบบ Telemedicine จัดให้มีระบบให้คำปรึกษาผ่านไลน์ หรือโทรศัพท์รวมทั้งส่งเสริมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ส่วนผู้ป่วยโรคเบาหวานพบว่า ผู้ป่วยพึงพอใจต่อระบบส่งยาที่บ้านอย่างต่อเนื่อง แต่ต้องการทราบผลระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อให้สามารถจัดการตนเองได้ถูกต้อง และผู้ป่วยสูงอายุต้องการให้มีการติดตามเยี่ยมหรือมีระบบให้คำปรึกษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพใกล้บ้าน

             ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในวิถีใหม่ คือ ควรพัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ป่วยและการรักษาเพื่อให้สามารถส่งต่อข้อมูลและติดตามผลการรักษา รวมถึงการให้คำปรึกษาได้ต่อเนื่อง พัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 วิถีใหม่ โดยสร้างเครือข่ายความร่วมมือของทีมสุขภาพตามนโยบาย 3 หมอของกระทรวงสาธารณสุข และสนับสนุนอุปกรณ์ที่จำเป็น ได้แก่ เครื่องเจาะน้ำตาล แผ่นตรวจระดับน้ำตาลในชุมชน

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด-19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1). (เอกสารอัดสำเนา).

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือแนวทางการดำเนินงานNCD Clinic Plusปี 2563. กรุงเทพมหานคร:อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564ก). กรมควบคุมโรค รณรงค์วันเบาหวานโรค ปี 2564 ตระหนักถึงการดูแลรักษาโรคเบาหวาน ให้ได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง.สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2565, จาก https://ddc.moph.go.th

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564ข).คู่มือแนวทางการดำเนินงาน NCD Clinic Plus& Online. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

ธวัชชัย สัตยสมบูรณ์ และยุวนุช สัตยสมบูรณ์. (2563). รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและการสนับสนุนการจัดการตนเองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบHypertension and type 2 Diabetes Mellitus Patients: A Systematic Review on the Chronic Care Model (CCM) and Self-Management Support (SMS).วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 7(2), 232-243.

นวพร ดำแสงสวัสดิ์, พนัสยา วรรณวิไล, อภิสิทธิ์ เชื้อคำเพ็ง, มาลี คำคง. (2563). เปรียบเทียบการจัด บริการแบบบูรณาการ และยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางแก่ผู้ ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ตามการรับรู้ของผู้ให้บริการอำเภอหาดใหญ่ และอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการ สาธารณสุขชุมชน, 7(03), 17-17.

ณัฐภัสสร เดิมขุนทด, รัชนีวรรณ ขวัญเจริญ, ชาญวัฒน์ ชวนตันติกมล, พิชญ์ พหลภาคย์ และสว่างจิต สุรอมรกูล. (2564). ผลของการติดตามสุขภาพทางไกลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ดี.วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง,65(ฉบับเพิ่มเติม), 1-16.

โรงพยาบาลบ้านลาด. (2564). รายงานสถิติข้อมูลผู้ป่วยโรงพยาบาลบ้านลาด. (เอกสารอัดสำเนา)

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560 : Clinical Practice Guideline for Diabetes 2017. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ปทุมธานี: ร่มเย็น มีเดีย จำกัด.

อภิรุจี สมัย สกุลพัฒนา. (2565). ผลการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานชนิ ที่ 2 จากการได้รับ ความรู้ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ ณ โรงพยาบาลท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว, 5(2), 93-101.

อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์. (2563). รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ:อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

American Diabetes Association Professional Practice Committee. (2022). 1. Improving Care and Promoting Health in Populations: Standards of Medical Care in Diabetes—2022. Diabetes Care, 45(Supplement_1), S8-S16.

Borries, T. M., Dunbar, A., Bhukhen, A., Rismany, J., Kilham, J., Feinn, R., & Meehan Sr, T. P. (2019). The impact of telemedicine on patient self-management processes and clinical outcomes for patients with Types I or II Diabetes Mellitus in the United States: A scoping review. Diabetes & Metabolic Syndrome: Clinical Research & Reviews, 13(2), 1353-1357.

Creswell, J. W., & Clark, V. L. P. (2017). Designing and conducting mixed methods research. Sage publications.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G* Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior research methods, 39(2), 175-191.

Felix, H. C., Andersen, J. A., Willis, D. E., Malhis, J. R., Selig, J. P., & McElfish, P. A. (2021). Control of type 2 diabetes mellitus during the COVID-19 pandemic. Primary care diabetes, 15(5), 786-792.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-22