การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักศึกษาพยาบาล: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ
คำสำคัญ:
การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง การคิดอย่างมีวิจารณญาณ นักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงส่งเสริมให้เกิดการคิดอย่างมีวิจารณณของนักศึกษาพยาบาล การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและผลลัพธ์ของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงต่อการคิดอย่างมีวิจารญาณของนักศึกษาพยาบาล การศึกษาที่นำมาทบทวนเป็นรายงานการวิจัยกึ่งทดลอง และวิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยรายงานเป็นภาษาไทย ในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ Thai Jo และ ThaiLis ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555–2565 ซึ่งพบรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ และผ่านการคัดกรองตามเกณฑ์การคัดเข้าเพื่อทำการทบทวน จำนวน 10 เรื่อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์สรุป เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะทั่วไปของงานวิจัยพบว่า เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริงเพียงอย่างเดียว จำนวน 9 เรื่อง ร้อยละ 90 และมีการจัดการเรียนการสอนร่วมกับการใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน จำนวน 1 เรื่อง ร้อยละ 10 การศึกษาส่วนใหญ่มีกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา 31-64 ราย ใช้ระยะเวลา 30–60 นาที ในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง ขั้นนำ – ขั้นสรุปผลการเรียนรู้ จำนวน 7 เรื่อง ร้อยละ 70 และนำแนวคิดการศึกษาทางการพยาบาลด้วยสถานการณ์จำลอง (the nursing education simulation framework) ของ Jefferies (2005) มาประยุกต์ใช้ จำนวน 8 เรื่อง ร้อยละ 80 การสะท้อนคิดตามแนวทางของกิบป์ (Gibbs, 1988) ร้อยละ 100 ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลได้ กลุ่มนักศึกษาที่เหมาะสมต่อสถานการณ์ กลุ่มละ 3–4 คน แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะก่อนทดลอง ระยะดำเนินการทดลอง แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน 1) ขั้นนำ (Pre – brief) 2) ขั้นปฏิบัติสถานการณ์ (Scenario running) และ 3) ขั้นสรุปผลการเรียนรู้ (Debrief) และระยะหลังทดลอง ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะว่า การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงเป็นกลยุทธ์การสอนที่มีประสิทธิภาพในการเรียนการสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ ผลลัพธ์จากการเรียนรู้ส่งผลให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณาญาณ ดังนั้นจึงควรจัดให้มีการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติกับนักศึกษาพยาบาลทุกชั้นปี เพื่อส่งเสริมให้เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ เพื่อวางแผนการพยาบาลและตัดสินใจในการดูแลให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีแก่ผู้ป่วย
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์. http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/news/news6.php
ขวัญฤทัย พันธุ, สุพรรณี เปี้ยวนาลาว, จิตติมา ดวงแก้ว และพิศิษฐ์ พลธนะ. (2563). ผลของการเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้โดยใช้ BSCI-MODELต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี สถาบันพระบรมราชชนก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 3(2), 46–62.
จิรภัค สุวรรณเจริญ, อติญาณ์ ศรเกษตริน และชุติมา มาลัย. (2560). รูปแบบการจัดการเรียน การสอนที่ส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต. วารสารพยาบาลสาร, 44(4), 177-188.
ธูปทอง กว้างสวาสดิ์. (2561). การสอนคิดวิจารณญาณ. วารสารราชพฤกษ์, 16 (3), 1-9.
ดวงกมล หน่อแก้ว. (2558). การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงทางพยาบาลศาสตร์ศึกษา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 31(3), 112-122.
ดวงใจ พรหมพยัคฆ์, วราภรณ์ สัตยวงศ์, จุฑามาศ รัตนอัมภา, ภาวดี เหมทานนท์ และวิไลพร รังควัต. (2562). ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณืจำลองเสมือนจริงร่วมกับการส่งเสริมทักษะการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลต่อพฤติกรรมการสะท้อนคิด และความสามารถในการตัดสินใจทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 25(2), 57–71.
ดิเรก วรรณเศียร. (2560). MACRO model: รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21. http://regis.dusit.ac.th
ตรีชฎา ปุ่นสำเริง, สุพรรณี กันหดิลก, รุ่งรวี ประเสริฐศรี และศรีประไพ อินทร์ชัยเทพ. (2564). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน และสถานการณ์เสมือนจริงที่มีต่อการรับรู้ทักษะการตัดสินทางคลินิก และทักษะการตัดสินใจทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 14(1), 14–32.
พนารัตน์ วิศวเทพนิมิตร, อุบล สุทธิเนียม และเสมอจันทร์ ธีระวัฒน์สกุล. (2563). ผลของการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงในการเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อค ต่อความพึงพอใจ ความมั่นใจในตนเองในการเรียนและการตัดสินใจทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 14(3), 59 – 70.
ระพีพัฒน์ หาญโสภา, พระมหาศุภชัย ศุภกิจโจ, ประยุทธ ชูสอน, สุทธิพงษ์ สนสุวรรณ และมณฑกานต์ บุ่งเสน่ห์. (2563). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ Learning Management in 21st Century: Theory toward Implementation. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 20(2), 163-172.
วโรดม เสมอเชื้อ, กวินวรา นาวินประเสริฐ, นัยนา เมธา และณยฎา สรวิสูตร. (2563). การเรียนการสอนทางการพยาบาลโดยใช้หุ่นจำลองผู้ป่วยเสมือนจริงสมรรถนะสูง Teaching and Learning in Nursing by High-Fidelity Patient Simulation. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ, 26(1), 1–12.
วันดี แก้วแสงอ่อน, อุทุมพร ดุลยเกษม และทสุทัศน์ เหมทานนท์. (2564). การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริง: จากห้องเรียนสู่การเรียนรู้ด้วยโปรแกรมออนไลน์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(11), 96-111.
วรรณี ตปนียากร, จินดามาศ โกศลชื่นวิจิตร, กัลยารัตน์ อนนท์รัตน์, สุภาพร วรรณสันทัด และปรัศนี สมิธ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อทักษะการให้เหตุผลทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 10(1), 70–77.
ศุภรัตน์ แจ่มแจ้ง, วิรดา อรรถเมธากุล, รัตนา นิลเลื่อม และนาตยา วงศ์ยะรา. (2564). ผลของการเรียนรู้โดยใช้สถานการณืจำลองเสมือนจริงต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาล และความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(3), 178–194.
ศรีวรรณ มีบุญ, สุทธาทิพย์ ทุมมี, และสิรินันท์ เจริญผล. (2565). การพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมนักศึกษาในรายวิชาปฏิบัติหลักการ และเทคนิคการพยาบาล ด้วยสถานการณ์จำลองในหอผู้ป่วยเสมือนจริง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 5(1), 147 – 161.
สภาการพยาบาล. (2558). คู่มือส่งเสริมจริยธรรมสำหรับองค์การพยาบาล: กลไกและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุดทอง จำกัด.
สุภัทรา สีเสน่ห์, จักรพันธ์ กึนออย, ศิริกุล การุณเจริญพาณิชย์ และสมคิด รูปงาม. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริง ต่อความรู้ การตัดสินใจทางคลินิกและ ทักษะการปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ระยะวิกฤติ: กรณีศึกษา. วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ, 23(1), 123–133.
สมจิตต์ สินธุชัย และ กันยารัตน์ อุบลวรรณ. (2560). การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง:การนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน Fidelity Simulation Based Learning: Implementation to Learning and Teaching Management. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(1), 29-38.
สมจิตต์ สินธุชัย, กันยารัตน์ อุบลวรรณ และสุนีย์รัตน์ บุญศิลป์. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยสถานการณ์จำลองเสมือนจริงต่อความรู้ความพึงพอใจ และความมั่นใจในตนเองของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 4 ในการฝึกปฏิบัติรายวิชาฝึกทักษะทางวิชาชีพก่อนสำเร็จการศึกษา. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 23(1), 113-127.
เสาวพฤกษ์ ช่วยยก, กมลชนก ทองเอียด, ฐิตารีย์ พันธุ์วิชาติกุล และสดากาญจน์ เอี่ยมจันทร์ประทีป. (2565). ผลของการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริงต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ, การปฏิบัติทักษะทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่มีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นเฉียบพลัน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขขภาคใต้, 9(2), 93-107.
Alfaro - LeFevre, R. (2013). Critical thinking, clinical reasoning, and clinical judgment: A practical approach to outcome-focused thinking (5th ed.). St. Louis, MO: Saunders Elsevier.
Chaleoykitti, S., Kamprow, P., & Promdet, S. (2014). Patient Safety and Quality of Nursing Service. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15(2), 66-70. (in Thai)
Chernikova, O., Heitzmann, N., Stadler, M., Holzberger, D., Seidel, T., & Fischer, F. (2020). Simulation-Based Learning in Higher Education: A Meta-Analysis. Review of Educational Research, 90(4), 1-43.
Facione, P. A. (2015). Critical Thinking: What It Is and Why It Counts. Available at: http://www.insight assessment.com/pdf_files
Garzonis, K., Mann, E., Wyrzykowska, A., Kanellakis, P. (2015). Improving Patient Outcomes: Effectively Training Healthcare Staff in Psychological Practice Skills: A Mixed Systematic Literature European Journal of Psychology, 11(3), 535-556.
Gibbs, G. (1988). Learning by doing: A guide to teaching and learning methods. Oxford: Oxford.
INACSL Standards Committee. (2016). INACSL Standards of best practice: Simulation Debriefing. Clinical Simulation in Nursing, 12(S), S21-S25.
Jeffries, P. (2005). A framework for designing, implementation, and evaluating simulations used as teaching strategies in nursing. Nursing education perspectives, 26(2), 96 - 103.
Joanna Briggs Institute. (2011). Joanna Briggs Institute Reviewers’ Manual. 2011 Edition, University of Adelaide, Adelaide.
Kolb, D. A. (1984). Experience learning: Experience as the source of learning and development. New Jersey: Prentice-Hall.
Lasater, K. (2007). Clinical judgment development: Using simulation to create an assessment rubric. J Nurs Educ, 46(11), 496-503.
Rhodes, M. L., & Curran, C. (2005). Use of the human patient simulator to teach clinical judgment skills in a baccalaureate nursing program. Computers, Informatics, Nursing, 23, 256 - 262.
Sirisupluxana, P. (2013). Teaching Nursing Students to Develop Critical Thinking Skills. The Journal of Boromarajonani College of Nursing, NakhonRatchasima, 19(2), 5-19. (in Thai).
Stenseth, H. V., Steindal, S. A., Solberg, M. T., Ølnes, M. A., Mohallem, A., Sørensen, A. L., Strandell-Laine, C., Olaussen, C., Aure, C. F., Riegel, F., Pedersen, I., Zlamal, J., Martini, J, G., Bresolin, P., Linnerud, S. C. W., Nes, A. A. G. (2022). Simulation-Based Learning Supported by Technology to Enhance Critical Thinking in Nursing Students: Protocol for a Scoping Review. JMIR Res Protoc, 11(4), e36725. doi: 10.2196/36725. PMID: 35373777; PMCID: PMC9016502.
Tanner, C. A. (2006). Thinking like a nurse: A research-based model of clinical judgment in nursing. J Nurs Educ, 45(6), 204 - 211.
The Nursing Council of Thailand. Act Professional Nursing and Midwifery. (2005). Amended by the Nursing and Midwifery (No. 2), Available at: http://www.tnc.or.th/law/index.html.
Thor, A. H., Inger, A. R., Hanne, H., & Ida, T. B. (2018). The Impact of New Pedagogical Intervention on Nursing Students, Knowledge Acquisition in Simulation-Based Learning: A Quasi-Experimental Study. Nursing Research and Practice. https//doi.org.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว