ผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการและการเจริญเติบโต ของทารกคลอดก่อนกำหนดต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลบุตร

ผู้แต่ง

  • จารุวรรณ สนองญาติ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ลักขณา ศิรถรกุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • เนติยา แจ่มทิม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ยุคนธ์ เมืองช้าง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ภาวดี เหมทานนท์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

บทคัดย่อ

          การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุน และให้ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการและการเจริญเติบโตของทารกคลอดก่อนกำหนดต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลบุตรทั้งยังมีการติดตามดูแลหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลต่อเนื่อง ถึง อายุ 6  เดือน การวิจัยนี้ใช้แนวคิดการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ มารดาที่มีบุตรเป็นทารกคลอดก่อนกำหนด แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยเก็บข้อมูลในกลุ่มทดลองจนครบ 40 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของมารดาและทารกคลอดก่อนกำหนดแบบประเมินความรู้ และแบบสังเกตพฤติกรรมของมารดาในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ทั้งหมดได้นำมาคำนวณหาค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (CVI) ได้อยู่ในช่วง 0.6-1  และตรวจสอบความเที่ยงของแบบประเมินความรู้และแบบสังเกตพฤติกรรม โดยนำเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลไปหาค่าความเชื่อมันแบบคูเดอร์ริชาร์ดสัน (Kuder-Richardson) โดยใช้สูตร KR-20 ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินความรู้ของมารดาในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด เท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย Independent t-test และ Dependent t-test  

           ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้ของมารดาในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม และค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมของมารดาในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ซึ่งการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมฯสามารถเพิ่มความรู้ และพฤติกรรมการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดของมารดาได้ ดังนั้นพยาบาลควรนำมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ต่อไป

References

งานอนามัยแม่และเด็ก. (2562). โภชนาการในเด็ก. https://hdcservice.moph.go.th.

จินตนา เกษมศิริ, นฤมล ธีระรังสิกุล และศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์. (2562). ผลของโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการต่อพฤติกรรมของมารดาในการส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนด. วารสารเกื้อการุณย์, 26(2), 52-65.

ชนิกานต์ ชาญเดช. (2558). ปัจจัยทำนายความสามารถของมารดาในการดูแลบุตรวัยขวบปี แรกในเขตกรุงเทพมหานคร. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 21(1), 20-37.

ภากร ชูพินิจ รอบคอบ. (2565). เรื่องผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความรู้และพฤติกรรมของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, 7(1), 18-32.

ณัฐนิชา ศรีละมัย .(2559). ศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองของมารดาในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 8(2), 83-94.

นัยรัตน์ ดุลยวิจักษณ์, พนิดา อยู่ชัชวาล และชมลรรค กองอรรถ. (2563). ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผน และการมีส่วนร่วมของมารดาต่อการปฏิบัติบทบาทมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดคลอดครบกำหนดที่ได้รับการส่องไฟ โรงพยาบาลบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 23(3), 92-103.

ปรีดา อุ่นเสียม. (2560). การมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะวิกฤต โรงพยาบาลพัทลุง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4 (ฉบับพิเศษ เมษายน 2560), 61-74.

พนิดา อยู่ชัชวาล และชมลรรค กองอรรถ .(2563). ที่ศึกษาผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนและการมีส่วนร่วมของมารดาต่อการปฏิบัติบทบาทมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดคลอดครบกำหนดที่ได้รับการส่องไฟ โรงพยาบาลบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 23(3), 92-103.

สุวารี โพธิ์ศรี. (2559). ผลของโปรแกรมการเตรียมจำหน่ายทารกคลอดก่อนกำหนดโดยใช้ทฤษฎีความสำเร็จตามเป้าหมายต่อพฤติกรรมการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดของมารดาที่บ้าน.[วิทยานิพนธ์ปริญญาโท] จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วนิดา ภวภูตานนท์. (2562). เรื่องการพัฒนาระบบการจำหน่ายที่ส่งเสริมการดูแลอย่างต่อเนื่องในทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อยโรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(5), 604-616.

ศิริพร มีหมู่ และจินตนา ตั้งวรพงศ์ชัย. (2560). ศึกษาผลของโปรแกรมสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดน้ำหนักน้อยของมารดาหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดกึ่งวิกฤต โรงพยาบาลศรีนครินทร์. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 40(4), 21-30.

หทัยรัตน์ เรืองเดชณรงค์ และธีระ ทองแสง. (2560). Update on preterm labor. เชียงใหม่: ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Cohen, J. (1990). Things I have learned (so far). American Psychologist, 45, 1304-1312.

Ballard JL., Khoury JC., Wedig k., Wang L., Eilers-Walsman BL., Lipp R. (1991). The new Ballard Score, expanded to include extremely premature infants. Journal pediatric, 119, 417- 423.

Orem, D., Taylor, S., & Renpenning, K. (2001). Nursing: Concepts of practice (6 ed.). St.Louis:

Mosby Year Book.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-17