ความเครียดระหว่างการเรียนออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตำบลหนองรี อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
ความเครียด การเรียนออนไลน์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดในระดับ ที่ส่งผลต่อชีวิตประจำวันของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาระหว่างการเรียนออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ตำบลหนองรี อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 152 ราย ระหว่างธันวาคม 2565-มกราคม 2566 โดยใช้แบบแบบสอบถามประเภทตอบเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square test, Mann-Whitney U test และการถดถอยพหุโลจิสติก
ผลการวิจัยพบว่า ความเครียดของกลุ่มตัวอย่างในระดับที่ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน คิดเป็นร้อยละ 76.97 ซึ่งปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีความเครียดของกลุ่มตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัญหาค่าใช้จ่ายในครอบครัว (OR=5.15, 95% CI=2.14–12.44) ความไม่พร้อมของสถานที่ (OR=2.90, 95% CI=1.25–6.76) และระยะเวลาในการเรียนออนไลน์ (OR=2.58, 95% CI=1.10–6.02)
โรงเรียนควรสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการเรียนออนไลน์ กำหนดระยะเวลาการเรียนออนไลน์ ในแต่ละคาบเรียนให้มีความเหมาะสม และให้คำแนะนำกับผู้ปกครองเกี่ยวกับการจัดสถานที่เรียนออนไลน์ให้เหมาะสม นอกจากนี้ควรจัดการเฝ้าระวังและการคัดกรองความเครียด รวมถึงระบบการให้คำปรึกษาและการช่วยเหลือนักเรียน ที่มีความเครียดในระดับที่ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยลดความเครียดของนักเรียนในระหว่างการเรียนออนไลน์
References
กรมสุขภาพจิต. (2541). คู่มือคลายเครียด. กรุงเทพฯ: ดีไซน์ คอนดักชั่น.
กาญจนา ลือมงคล. (2564). ความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาที่มีการเรียนออนไลน์ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร, 41(2), 1-20.
นิศากร โพธิมาศ, สุนทรีภรณ์ มีพริ้ง และมาลินี อยู่ใจเย็น. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในการเรียนออนไลน์ ความยืดหยุ่นทางอารมณ์ และการเผชิญความเครียดของนิสิตพยาบาล ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 37(3). 142-152.
ประเสริฐ เกิดมงคล, พิเชษฐ อุดมสมัคร และจันทนา ฤทธิ์สมบูรณ์. (2565). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ของนักเรียนระดับมัธยม ในอำเภอแกลง จังหวัดระยอง. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 9(1), 121-140.
พรนภา พัฒนวิทยากุล, และคณะ. (2564). ความเครียดระหว่างการเรียนออนไลน์ในช่วงการระบาดของโรคโควิด19 ของ นักศึกษาแพทย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 29(4), 273-85.
โรจกร ลือมงคล. (2565). ความเครียดในการเรียนออนไลน์ช่วงการระบาดของโรคโควิด-19: กรณี ศึกษาในนักเรียนมัธยมศึกษาของโรงเรียนคอนสวรรค์อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารศูนย์อนามัย ที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 16(3), 772-783.
สิประภา บุผาวรรณา, ประจวบ แหลมหลัก และอนุกูล มะโนทน. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ต่อความเครียดในนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 จังหวัดพะเยา. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 7(4), 128-128.
อนันต์ โลหะพัฒนะบำรุง. (2565). สภาวะอารมณ์ที่ไม่คงที่ในวัยรุ่น. วารสารเพื่อเยาวชนของมูลนิธิเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ, 13(47), 63-76
อังคณา พูลทอง และดวงใจ ดวงฤทธิ์. (2565). ปัจจัยทำนายภาวะเครียดจากการเรียนการสอน ออนไลน์ของนักศึกษาเภสัชศาสตร์. ศรีนครินทร์เวชสาร, 37(1), 32-37.
Akriti, G., & Sunayna, B. (2016). Effect of stress on self-efficacy and emotional intelligence among college students of humanities and sciences: A study on gender differences. International Journal of Applied Research, 2(12), 318-328.
Bayham, J., & Fenichel, E. P. (2020). Impact of school closures for COVID-19 on the US health-care workforce and net mortality: a modelling study. Lancet Public Health, 5(5). 271-278.
Daniel, W. W. (1999). Biostatistics: a foundation for analysis in the health sciences. New York: John Wiley & Sons.
Flack, C. B., Walker, L., Bickerstaff, A., Earle, H., & Margetts, C. (2020). Educator perspectives on the impact of COVID-19 on teaching and learning in Australia and New Zealand. Australia: Pivot Professional Learning.
Hossain, M. J., Ahmmed, F., Rahman, S. M. A., Sanam, S., Emran, T. B., Mitra, S. (2021). Impact of online education on fear of academic -delay and psychological distress among university students following one year of COVID-19 outbreak in Bangladesh. Heliyon, 7(6): e07388.
Wang, J., Liu, W., Zhang, Y., Xie, S., & Yang, B. (2021). Perceived stress among Chinese medical students engaging in online learning in light of COVID-19. Psychology research and behavior management, 14(1), 549-562.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว