การพัฒนาและการประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ โรงพยาบาลนครปฐม

ผู้แต่ง

  • วาสนา สายเสมา โรงพยาบาลนครปฐม
  • สมคิด เริงขำกลั่น โรงพยาบาลนครปฐม

คำสำคัญ:

การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล ประสิทธิผลแนวปฏิบัติทางการพยาบาล ผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา เพื่อพัฒนาแนวปฎิบัติทางการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ ศึกษาความคิดเห็นด้านความสามารถของพยาบาลในการปฏิบัติตามแนวปฎิบัติ และประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลหลังการนำแนวปฏิบัติไปใช้ในห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลนครปฐม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพ และบุคลากรทางการพยาบาลจำนวน 61 คน และกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบจากเวชระเบียน 88 ราย โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง การพัฒนาแบ่งเป็น 3 ระยะ 1) ขั้นตอนการพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล 2) การนำแนวปฏิบัติไปใช้จริง 3) การประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แนวปฏิบัติทางการพยาบาล  2) แบบสอบถามความคิดเห็นด้านความสมารถในการปฏิบัติ ค่าความเชื่อมั่น =0.81 3) แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ 4) แบบบันทึกผลลัพธ์ทางการพยาบาล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงสถิติ    เชิงพรรณา และเปรียบเทียบข้อมูลการบาดเจ็บโดยใช้ chi-square และเปรียบเทียบผลลัพธ์ในผู้ป่วยกลุ่มก่อนใช้ และหลังใช้แนวปฏิบัติด้วย Independent t-test

            ผลการวิจัย พบว่า 1. แนวปฏิบัติทางการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนที่1. การพยาบาลที่จุดเกิดเหตุและก่อนถึงโรงพยาบาล (Pre-hospital) มี 3 หมวดคือ การประเมินสถานการณ์  การประเมินระยะแรก (ขั้นตอนA-B-C) และการแจ้งข้อมูลกลับ ส่วนที่ 2. การพยาบาลแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน (In-hospital) มี 3 หมวดคือ การคัดกรอง การช่วยเหลือระยะแรก (ขั้นตอน A-B-C-D-E) และการจำหน่าย 2. ความคิดเห็นด้านความสามารถในการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติทางการพยาบาลหน่วย Pre-hospital และหน่วย In-hospital โดยรวมอยู่ในระดับมาก (M=3.96 ± 0.08 และ M= 3.93 ± 0.98 ตามลำดับ) 3. ผลลัพธ์ทางการพยาบาลหลังการใช้ แนวปฏิบัติด้านพยาบาลผู้ให้บริการ พบว่า ผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัดทั้งหมด และเปรียบเทียบผลลัพธ์ในผู้ป่วยบาดเจ็บหลังใช้แนวปฏิบัติ พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) คือ ความอิ่มตัวออกซิเจน ดัชนีภาวะช็อก ระยะเวลาที่ผู้บาดเจ็บที่มี GCS <9 ได้รับการใส่ ET Tube (p<0.001) สรุปได้ว่า แนวปฏิบัติทางการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบมีประสิทธิผลในการนำไปใช้เพื่อให้การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบในระยะก่อนถึงโรงพยาบาล และในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน สามารถสะท้อนถึงผลลัพธ์ที่ดีขึ้น

References

กัญญารัตน์ ผึ่งบรรหาร, ฐิติ ภมรศิลปธรรม, ลัดดา มีจันทร์. (2557). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบในภาวะวิกฤต โรงพยาบาลอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์, 6(1), 24-37.

กรมการแพทย์. (2561). MOPH ED. TRIAGE พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: กรมการแพทย์.

กรองได อุณหสูต. (2559). การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วย Multiple Injury ตามแนวทางการจัดการผู้ป่วยMultiple ตามหลักฐานเชิงประจักษ์.ประชุมเชิงปฎิบัติการ ครั้งที่2/2559; 11-12 มิถุนายน 2559 กรุงเทพฯ.

จารุพักตร์ กัญจนิตานนท์, สุชาตา วิภวกานต์, รัตนา พรหมบุตร. (2562). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้บาดเจ็บรุนแรงหลายระบบ โรงพยาบาลกระบี่. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(1), 339-349.

ดวงกมล สุวรรณ์.2559). ผลการใช้รูปแบบการจัดการรายกรณีต่อผลลัพธ์ในการจัดการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท].มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ธวัชชัย อิ่มพูล. (2564). การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บเบื้องต้น Initial assessment and management in Trauma: เอกสารประกอบการอบรม การดูแลผู้บาดเจ็บขั้นสูง รุ่นที่ 13 ใน ธวัชชัย อิ่มพูล, สุธิดา จันทร์จรัส และมงคล อัศวภูมิ กองบรรณาธิการ. ขอนแก่น: บริษัทเพ็ญพรินติ้ง.

นวลทิพย์ ธีระเดชากุล, นุชศรา พรมชัย, นงลักษณ์ พลแสน. (2561). ประสิทธิผลการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บหลายระบบด้วย Multiple Injury NursingManagement guideline แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 33(2), 165-177.

พนอ เตชะอธิก, สุนทราพร วันสุพงศ์, และ สุมนา สัมฤทธิ์รินทร์. (2554). ผลการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพยาบาลผู้บาดเจ็บที่หน่วยผู้ป่วยนอกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 30(4), 65-74.

มะลิสา โรจนหิรัณย์. (2563). ประสิทธิผลการใช้แนวทางปฏิบัติในการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 28(3), 413-425.

ณภัคคนันท์ ยุวดี, จินดา ผุดผ่อง, นพพรพงศ์ ว่องวิกย์การ และ นฤมล จันทร์สุข. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการรายกรณีผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ โรงพยาบาลอุทัยธานี. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 9(3), 280-296.

เยาวลักษณ์ ผุยหัวโทน และ จุไรพร กนกวิจิตร. (2563). การศึกษาระบบการคัดกรองผู้ป่วยฉุกเฉินแผนกผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่.

รักรุ่ง ด่านภักดี. (2559). การประเมินประสิทธิผลในการดูแลผู้บาดเจ็บหลายระบบของพยาบาลก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติ. ชัยภูมิเวชสาร, 36(1), 50-59.

ราชวิทยาลัยศลยแพทย์แห่งประเทศไทย. (2556). การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บเมื่อแรกรับ: แนวทางการรักษาพยาบาลด้านศัลยกรรม Clinical practice guidelines in surgery.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2558). คู่มือทางการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดลําดับการบริบาล ณ ห้องฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์ที่กพฉ.กําหนด.นนทบุรี สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน.

สุพัตรา อยู่สุข และคณะ.(2560).พัฒนารูปแบบการดูแลภาวะช็อกจากการเสียเลือดในผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบโรงพยาบาลสวรรค์ประชานรักษ์.วารสารการแพทย์. 42(6), 90-101.

Baker, CC, Oppenheimer, L, Stephens, B, Lewis, FR, Trunkey, DD. (1980). Epidemiology of trauma deaths. Am J Surg, 140(1), 144–50.

Butcher, N. E., & Balogh, Z. J. (2014). Update on the definition of polytrauma. European Journal of Trauma and Emergency Surgery, 40(2), 107–111.

Hasler,R.M., Nuesch,E., Juni, P., Bouamra,O., Exadaktylos A. K., Lecky, F. (2011). Systolic bloodpressure below 110 mmHg is associated withincreased mortality in blunt major trauma patients: multicentre cohort study. Resuscitation, 82: 1202-27.

NAEMT. (2014). Prehospital trauma life support. 8th ed. Jones & Bartlett learning.

Newberry, L. (2003). Emergency nursing principle and practice. Philadephia: Mosby.

NHMRC, (1998). A guide to the development, Implement and evaluation of clinical practice guidelines. Available from: http://www .nhmrc.gov.au/publications/_files/cp30.pdf.

NSW ITIM. (2016). Major trauma in NSW 2015. A report from the NSW trauma registry.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-17 — Updated on 2024-03-20

Versions