การพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติทางการพยาบาล สำหรับสตรีตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด โรงพยาบาลสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • บุบผาชาติ เพ็ญสุข โรงพยาบาลมุทรสาคร
  • พัชรินทร์ นาเมืองรักษ์ คณะพยาบาล มหาวิทยาลัยเมธารัถย์
  • มัลลิกา นวมเจริญ โรงพยาบาลมุทรสาคร

คำสำคัญ:

การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล สตรีตั้งครรภ์ เจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาแนวปฎิบัติทางการพยาบาลสำหรับสตรีตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด 2. ประเมินการปฎิบัติตามแนวปฏิบัติทางการพยาบาล และความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพหลังนำแนวปฏิบัติทางการพยาบาลไปทดลองใช้ 3. ประเมินผลทางการพยาบาลในสตรีตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพโดยเลือกแบบเจาะจง 22 คน และสตรีตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนดตามเกณฑ์คัดเข้า 50 คน กรอบแนวคิดประยุกต์ตามแนวปฏิบัติทางคลินิกของสภาวิจัยทางการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติประเทศออสเตรเลีย (NHMRC, 1998) การพัฒนาแบ่งเป็น แบ่งเป็น 3 ระยะ 1) ขั้นตอนการพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล  2) การนำแนวปฏิบัติไปทดลองใช้ 3) การประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติ  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบสังเกต แบบประเมินความเครียดด้วยสายตา และแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงสถิติ  เชิงพรรณา และเปรียบเทียบผลลัพธ์ในสตรีตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนดกลุ่มก่อนใช้ และหลังใช้แนวปฏิบัติด้วย Paired t-test Independent t-test และ Chi-squar test

               ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวปฏิบัติทางการพยาบาลสำหรับสตรีตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด ประกอบด้วย 5 หมวด คือ 1) ระยะก่อนรับใหม่ 2) ระยะการพยาบาล 24 ชั่วโมงแรก 3) ระยะการพยาบาลหลัง          24 ชั่วโมง  4) ระยะจำหน่าย และ5) ระยะติดตาม 2. การปฎิบัติตามแนวปฏิบัติทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ และความคิดเห็นหลังนำแนวปฏิบัติไปทดลองใช้โดยรวมอยู่ในระดับมาก (M= 2.97 ± 0.10 และ M= 2.96 ± 0.21 ตามลำดับ)  3. การประเมินผล พบว่า สตรีตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนดหลังใช้แนวปฏิบัติมีคะแนนเฉลี่ยความเครียดวันที่ 2 น้อยกว่าวันแรกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value< .001) ผลลัพธ์ทางการพยาบาลระหว่างกลุ่มก่อนใช้ และกลุ่มหลังใช้แนวปฏิบัติ พบความแตกต่างทางสถิติ (p-value< .05)  ดังนี้ อัตราการคลอดภายใน 48 ชั่วโมง, อัตราการคลอดครบกำหนด, อายุครรภ์ที่คลอด และ น้ำหนักทารกแรกคลอด ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า แนวปฏิบัติทางการพยาบาลสำหรับสตรีตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด มีประสิทธิผลในการนำไปใช้ ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อมารดาและทารก

References

กัลยา มณีโชติ และ นิจ์สากร นังคลา. (2560). การพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. วารสารกองการพยาบาล, 44 (2), 7-25

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. (2565). สถิติสาธารณสุขพ.ศ. 2562. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน.

จันทร์จีรา กลมมา. (2558). ผลของการสนับสนุนทางสังคมต่อความเครียดของสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, พรจิต จันโทภาส, คีตรา มยูขโชติ, บุญคีบ ใสโสม, และ ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง. (2564). รูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดตามกรอบมิติคุณภาพการบริการผู้คลอด. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 36(3), 503-511.

ชลทิชา รักษาธรรม. (2561). แนวปฏิบัติการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนดอย่างต่อเนื่อง. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหัวเฉียว)

ฐิติกานต์ ณ ปั่น, รุ้งตวรรณ์ ช้อยจอหอ, เยาวลักษณ์ เสรีเสถียร, เอมพร รตินธร, และเอกชัย โควาวาสารัช. (2557). ปัจจจัยที่มีผลต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์โรงพยาบาลอมก๋อย อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 10(2), 142-150.

ธรรมวรรณ์ บูรณสรรค์ และ สายใย ก้อนคำ. (2564). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลถึงบ้าน สำหรับหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด ในโรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา, 4(3), 50-56.

นวรัตน์ ไวชมภู และ อาภรณ์ คงช่วย. (2558). การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายหญิงตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกกำหนด. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 2(3), 114-128.

บุศรินทร์ เขียนแม้น, เยาวเรศ ก้านมะลิ, และ วรรณวิมล ทุมมี. (2565). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 15(3), 286-300.

เบญจวรรณ ละหุการ. (2560). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ร่วมกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้าต่อความเครียดในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)

ปิยาณี นักบุญ. (2554). การพัฒนาแนวทางการวางแผนจําหน่ายหญิงเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนดของงานห้องคลอด โรงพยาบาลนครพนม. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

โรงพยาบาลสมุทรสาคร. (2565, 2 กันยายน). ระบบฐานข้อมูลเวชระเบียน. https:// smkh.moph.go.th/skh/.

รัศมี พิริยะสุทธิ์, สุนันทา สงกา, พณาวรรณ พาณิชย์. (2561). การพัฒนารูปแบบการดูแลอย่างสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 4 (2), 376-388.

ละอองดาว ชุ่มธิ. (2554). ผลของการนวดกดจุดสะท้อนเท้าต่อการลดระดับความเครียดในมารดาวัยรุ่นหลังคลอด. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

ศิริวรรณ์ แสงอินทร์. (2557). การพยาบาลมารดาที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 22 (1), 27-38.

สุภาพร เลิศกวินอนันต์. (2557). การทบทวนอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการจัดการความเครียดในสตรีที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

สุรัชนา พงษ์ปรสุวรรณ์. (2557). การลดความเครียดโดยการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ติดต่อสื่อสารกับครอบครัวของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

สุรีพร กัฬหะสุต, พนิดา เชียงทอง, สุรัชนา พงษ์ปรสุวรรณ์, นุชมาศ แก้วกุลฑล, และ ศุจิรัตน์ ศรีทองเหลือง. (2565). ผลของโปรแกรมลดสิ่งก่อความเครียดร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมต่อความเครียดและอายุครรภ์เมื่อคลอดของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ที่เข้ารับการรักษาในห้องคลอดโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 16(1), 59-74.

สายฝน ชวาลไพบูลย์. (2553). คลอดก่อนกำหนด. กรุงเทพมหานคร: พีเอ.ลิฟวิ่ง.

อนงค์ เอื้อวัฒนา. (2557). การพัฒนาระบบการพยาบาลมารดาที่คลอดทารกก่อนกำหนด. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 32(3), 127-136.

Alita, R, Setyowati, Rachmawati, I.N. (2020). Relaxation Therapy in Pregnant Women With Premature Contractions: Evidence-Based Nursing Practice. Advances in Health Sciences Research, 30(1), 406-412.

Kao, M.H, Hsu, P.F, Tien, S.F, Chen, C.P. (2019). Effects of Support Interventions in Women ospitalized With Preterm Labor. Clinical Nursing Research. 2019, 28(6):726-743.

Maloni, J. A. (2010). Antepartum bed rest for pregnancy complications: Efficacy and safety for preventing preterm birth. Biological Research for Nursing, 12(2), 106-124.

NHMRC, (1998). A guide to the development, Implement and evaluation of clinical practice guidelines. Available from: http://www .nhmrc.gov.au/publications/_ files/ cp30. pdf.

Polit, D.F, & Hungler, B.P. (1999). Nursing research: principles and methods. (6th ed.) Philadelphia: J.B. Lippincott; 1999.

Sciscione, A. C. (2010). Maternal activity restriction and theprevention of preterm birth. American Journal of Obstetrics and Gynecology, 202,

-5.

Simpson, K. R., & Creehan, P. A. (2008). Perinatal nursing. Philadelphia : Lippincott Williams

Staneva A, Bogossian F, Pritchard M, Wittkowski, A. (2015). The effects of maternal depression, anxiety, and perceived stress during pregnancy on preterm birth: A systematic review. Women and Birth, 28 (1), 179–193.

WHO. (2018, 2 March). Preterm birth [Internet]. http: who.int/newroom/factsheet/detail/preterm-birth.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-22