ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสบการณ์ผู้ป่วยที่มารับบริการที่ห้องตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์

ผู้แต่ง

  • รัชลิตา สุวงษา นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • จิตภินันท์ ศรีจักรโคตร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ประสบการณ์ผู้ป่วย ห้องตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ คุณภาพบริการ

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาประสบการณ์ของผู้ป่วยที่มารับบริการที่ห้องตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสบการณ์ผู้ป่วยที่มารับบริการที่ห้องตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้ป่วยที่มารับบริการที่ห้องตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จำนวน 374 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามแบบสอบถามประสบการณ์ของผู้ป่วย และแบบสอบถามปัจจัยด้านคุณภาพบริการตามประสบการณ์ของผู้ป่วยที่มารับบริการห้องตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ซึ่งแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ได้ค่าสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์เท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช เท่ากับ 0.90 และ 0.95 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

                ผลการวิจัย พบว่า ระดับประสบการณ์ของผู้ป่วยที่มารับบริการที่ห้องตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.73 (SD=0.39) ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสบการณ์ผู้ป่วยที่มารับบริการประกอบด้วย ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ ด้านด้านความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจในผู้รับบริการ ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจได้ และ ด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ สามารถพยากรณ์ประสบการณ์ของผู้ป่วยที่มารับบริการที่ห้องตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ได้ร้อยละ 76.5 (R2= 0.765) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

งานบริการพยาบาล. (2565). สถิติจำนวนครั้งของผู้มารับบริการ ในแผนกงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก ในปี พ.ศ. 2562-2564. ขอนแก่น: โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ช่อดาว เมืองพรหม. (2562). ความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลธนบุรี. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสยาม.

ดวงสมร บุญผดุง, ฤๅเดช เกิดวิชัย, ณัฐพงษ์ เตชะรัตนเสฏฐ์, สุรมน จันทร์เจริญ และชาญเดช เจริญวิริยะกุล. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อจิตวิญญาณในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ใน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช. วารสารสมาคมนักวิจัย, 24(2), 40-50.

บัณฑิต สวรรยาวิสุทธิ์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อประสบการณ์ของผู้ป่วยได้รับการรักษาที่คลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร, 33(5), 451–456.

บุษกร คงผอม และวิวัฒน์ชัย อัตถากร. (2562). ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการต่อคุณภาพการให้บริการของศูนย์บริการสาธารณสุข 50 บึงกุ่ม. กรุงเทพฯ: สำนักอนามัย.

รื่นฤดี แก่นนาค และคณะ. (2561). ประสบการณ์การรับบริการของผู้มารับบริการแผนกการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (การศึกษานำร่อง). Srinagarind Medical Journal, 33(5), 38–44.

รุ่งทิพย์ นิลพัท. (2561). คุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจที่มีความสัมพันธ์กับการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้รับบริการโรงพยาบาลเปาโลรังสิต. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วรรณชนก จันทชุม. (2560). การเลือกตัวอย่างและการกำหนดตัวอย่าง. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2565). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 4 สถาบัน รับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). นนทบุรี: หนังสือดีวัน.

สำเริง งามสม และจันทนา แสนสุข. (2560). การรับรู้คุณภาพการบริการทางการแพทย์ส่งผลต่อความพึงพอใจและความภักดีของผู้ประกันตนในสถานพยาบาลภายในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ), 10(3), 1393-1408.

หน่วยรังสีวิทยา. (2564). สถิติทะเบียนผู้ป่วยที่มารับบริการที่ห้องตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ประจำปี 2562-2564. ขอนแก่น: ภาควิชารังสีวิทยา โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อภิญญา จําปามูล และคณะ. (2566). ประสบการณ์ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรม และออร์โธปิดิกส์โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.วารสารการวัดผลการศึกษา, 40(107), 386-398.

อังคณา วังทอง, อนุชิต วังทอง, ต่วนฮานาณี วัดเส็น และวันดี สุทธรังสี. (2557). มุมมองผู้รับบริการต่อการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในพื้นที่ต่างวัฒนธรรมบริบทอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 23(3), 35–44.

Bastemeijer, C.M., Boosman, H., Zandbelt, L., Timman, R., de Boer, D., & Hazelzet, J. A. (2020). Patient experience monitor (Pem): The development of new short-form Picker experience questionnaires for hospital patients with a wide range of literacy levels. Patient Related Outcome Measures, 11, 221.

Mulisa, T., Tessema, F., & Merga, H. (2017). Patients’ satisfaction towards radiological service and associated factors in Hawassa University Teaching and referral hospital, Southern Ethiopia. BMC Health Services Research, 17(1), 1-11.

O'Brien, J.A., & Marakas, G.M. (2006). Enterprise information systems. New York: McGraw-Hill.

Parasuraman, A., Zeithaml, V.A., & Berry, L.L. (1988). SERVQUAL: A Multiple-Item Scale for Measuring Consumer Perceptions of Service Quality. Journal of Retailing, 64, 12-40.

Picker Institute. (1999). The Picker Institute implementation manual. Boston: Picker Institute.

The Agency for healthcare Research and Quality. (2016). What Is Patient Experience?. Retrieved August 5, 2022, from https://kku.world/4akuc

Weiers, R.M. (2005). Introduction to Business Statistics. Pennsylvania: Duxbury Press.

Zachary, M.Bm., & GradDipHlthSc. (2010). The Patient Experience in Medical Imaging: A Qualitative Systematic Review (protocol). JBI Evidence Synthes

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-22