การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มัลติมีเดีย เรื่อง หลักการดูแลทารกแรกเกิดขั้นพื้นฐาน 7 ประการ สำหรับนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ชลลดา ติยะวิสุทธิ์ศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • สาวิตรี ลิ้มกมลทิพย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดีย, หลักการดูแลทารกแรกเกิดขั้นพื้นฐาน 7 ประการ, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มัลติมีเดีย เรื่อง หลักการดูแลทารกแรกเกิดขั้นพื้นฐาน 7 ประการ สำหรับนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช  ปีการศึกษา 2564 จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียเรื่องหลักการดูแลทารกแรกเกิดขั้นพื้นฐาน 7 ประการ สำหรับนักศึกษาพยาบาล  2) แบบทดสอบก่อนเรียน ขณะเรียน และหลังเรียน ทั้ง 3 แบบประเมินได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา ระหว่าง 0.80-1.00 และได้ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตร คูเดอร์-ริชาร์ดสัน KR-20 เท่ากับ 0.71, 0.73, 071 ตามลำดับ 3) แบบประเมินความ  พึงพอใจ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าได้เท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนาและ paired t-test

           ผลการวิจัย พบว่า 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มัลติมีเดีย เรื่อง หลักการดูแลทารกแรกเกิดขั้นพื้นฐาน 7 ประการ สำหรับนักศึกษาพยาบาล มีประสิทธิภาพ 99.22/85.52 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้หลังเรียน (M=29.93 , SD=3.48) สูงกว่าคะแนนความรู้เฉลี่ยก่อนเรียน (M=16.90, SD=3.04) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มัลติมีเดียในระดับมากที่สุด (M=4.66, SD=0.41)

            ข้อเสนอแนะ ควรนำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มัลติมีเดีย เรื่องหลักการดูแลทารกแรกเกิดขั้นพื้นฐาน 7 ประการ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาล ในรายวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น

References

ภัทรณัชชา โชติคุณากิตติ, และ วันฤดี สุขสงวน. (2565). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การออกแบบวิจัย. https://rsuirlibrary.rsu.ac.th/handle/123456789/1704

ราชกิจจานุเบกษา. (2565). กฎกระทรวง มาตรฐานการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565. https://www.mhesi.go.th/index.php/all-legal/76-ministerial-regulation/7209-2565.html

พรรณพิไล ศรีอาภรณ์, นุชนาต สุนทรลิ้มศิริ, พจนีย์ ภาคภูมิ, นิศาชล รักสกุล, ปริญญา คลี่สกุล, และอดิศักดิ์ พวงสมบัติ. (2563). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียเรื่องบทบาทของ พยาบาลในการวางแผนครอบครัวหลังคลอด. พยาบาลสาร, 47(1), 25-34.

สภาการพยาบาล. (2565). สภาการพยาบาลจัดการประชุมวิชาการพยาบาลศาสตร์ศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 6. https://www.tnmc.or.th/news/630

สุภาภรณ์ อุดมลักษณ์, และ ทักษิกา ชัชวรัตน์. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของวิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(1), 113-125.

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ. (2563). การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning). กรุงเทพ: สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ.

อมรรัตน์ ผาละศรี, รัตนเพ็ญพร ข่าขันมะลี, สุวรรณี มณีศรี, อณัญญาลาลุน, และ ลนาไพร ขวาไทย. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการรู้เท่าทันและการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศกับ พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 27(1), 43-57.

Anderson, R.C., & Pearson, P.D. (1984). A schema-theoretic view of basic processes in reading. In P.D. Pearson (Ed.), Handbook of Reading Research (pp.255-291). New York: Longman.

Crichton, S., Kopp, G. (2006). Multimedia technologies, multiple intelligences, and teacher professional development in an international education project. Innovative Online, 2(3).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-03