ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ ของพยาบาลวิชาชีพงานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลศรีประจันต์

ผู้แต่ง

  • จุฬาพร ขำดี โรงพยาบาลศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, การปฏิบัติ, การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ

บทคัดย่อ

          วิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research)  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ  และการปฏิบัติป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพของพยาบาลวิชาชีพงานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลศรีประจันต์ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพงานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลศรีประจันต์ จำนวน 30 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ เก็บข้อมูลเดือนกุมภาพันธ์ 2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และsimple regression

           ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ อยู่ในระดับสูงร้อยละ 80.0 มีทัศนคติการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ อยู่ในระดับสูง ร้อยละ93.3 และมีการปฏิบัติการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพอยู่ในระดับสูง ร้อยละ100.0 อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์รายข้อพบว่า    กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้ที่ได้น้อยกว่าร้อยละ50 ได้แก่ เรื่องการสวมถุงมือ เมื่อสัมผัสผิวหนังผู้ป่วยทั่วไป เรื่องวิธีการทำความสะอาดเมื่อเลือดเปื้อนพื้น เรื่องการสวมถุงมือ เมื่อดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา และเรื่องการสวมเอี๊ยมป้องกันเมื่อต้องเช็ดตัวผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ ในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.398, p<.05) ส่วนความรู้ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

           ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ ควรส่งเสริมความรู้ในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพที่ถูกต้องให้กับพยาบาลวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และปฏิบัติการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพได้อย่างถูกต้อง

References

กำธร มาลาธรรม. (2563). สถานการณ์เชื้อดื้อยา. https://www.hfocus.org/content/2020/01/18388

คณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล โรงพยาบาลศรีประจันต์. (2565) .รายงานอัตราการติดเชื้อประจำปี (2562–2565). โรงพยาบาลศรีประจันต์.

จุไร บาระมี,อะเคื้อ อุณหเลขกะ, และพิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น. (2564). การดำเนินการและอุปสรรคในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาหลายขนานของโรงพยาบาลชุมชน. พยาบาลสาร, 48(2), 95–106.

ชลธิศ บุญร่วม, อะเคื้อ อุณหเลขกะ, และวันชัย เลิศวัฒนวิลาศ. (2563). ปัจจัยทำนายการปฏิบัติการป้องกัน การแพร่กระจายเชื้อดื้อยาของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลศูนย์. พยาบาลสาร, 47(2), 133-142.

ญานิกา ศักดิ์ศรี. (2561) . ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติ ในการป้องกันการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัดในระยะผ่าตัดของพยาบาลห้องผ่าตัด [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์. (2556). การใช้แบบจำลองKAPกับการศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติการป้องกันการติด เชื้อเอชไอวี/เอดส์ของคนประจำเรือไทย. วิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8(2), 84-102.

ทองเปลว ชมจันทร์, และประภาพรรณ สิงห์โต. (2565). การติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนานในผู้ป่วย แผนก

อายุรกรรม. การพยาบาลและสุขภาพ สสอท., 4(3), 1-16.

ปิยะฉัตร วิเศษศิริ,อะเคื้อ อุณหเลขกะ, และนงเยาว์ เกษตร์ภิบาล. (2015). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการ ปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาของบุคลากรพยาบาล แผนกอายุรกรรม ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. พยาบาลสาร, 42(3), 119-134.

ประภัสสร เดชศรี, นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล, และนงค์คราญ วิเศษกุ. (2021). ผลของกลยุทธ์หลากหลายวิธีต่อความรู้และการ ปฏิบัติการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนานในพยาบาลหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤต โรงพยาบาลศูนย์. พยาบาลสาร, 48(3), 154-166.

พรพิมล อรรถพรกุศล, พรนภา เอี่ยมลออ, จิราภรณ์ คุ้มศรี, สินจัย เขื่อนเพชร, นิภาพร ช่างเสนา, และนัยนา วัฒนากูล. (2021). ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันและควบคุมการติด เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. การพยาบาลและสุขภาพ สสอท., 3(3), 1 – 15.

ยุวลี ฉายวงศ์. (2564). ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็งของ พยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี. กรมการแพทย์, 48(3), 191-201.

ศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ (NARST). (2565). สถานการณ์เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ ปี 2000-2022. http://narst.dmsc.moph.go.th/data/AMR%2000-2022-12M.pdf

อรุณี นาประดิษฐ์. (2557). ความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติงานตามหลักการแพร่กระจายเชื้อของบุคลากร. ศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 33(1), 6-19.

Launiala, A. (2009), How much can a KAP survey tell us about people s knowledge, attitudes, and practices some observations from medical anthropology research on malaria in pregnancy in Malawi. Anthropology Matters Journal, 11, 1-13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-03