ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อ ชะลอความเสื่อมของไต สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, โรคไตเรื้อรัง, ชะลอความเสื่อมของไต, อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อชะลอความเสื่อมของไต สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม วัดผลก่อน - หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร ซึ่งเลือกโดยวิธีการการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 30 คน ระยะเวลาศึกษารวม 7 สัปดาห์ เป็นระยะทดลอง 3 สัปดาห์ และระยะติดตามผล 4 สัปดาห์ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 ถึง เดือนมกราคม 2565 โปรแกรมซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นประกอบด้วยกิจกรรมการให้ความรู้ การใช้ตัวแบบ การสาธิตและฝึกปฏิบัติ นิเทศติดตามการเยี่ยมบ้าน และติดตามความต่อเนื่องในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อชะลอความเสื่อมของไตทางกลุ่มไลน์แอปพลิเคชัน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การรับรู้สมรรถนะแห่งตน พฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อชะลอความเสื่อมของไต วิเคราะห์ข้อมูลโดยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป วิเคราะห์ด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบด้วยค่า Chi-square, Independent t-test และ Repeated measure ANOVA
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อชะลอความเสื่อมของไต การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อชะลอความเสื่อมของไต และพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อชะลอความเสื่อมของไต ภายหลังการทดลอง และระยะติดตามผล สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05)
ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะในการสร้างเสริมสมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อชะลอความเสื่อมของไต สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครให้ดีขึ้นและมีความต่อเนื่อง โดยควรประยุกต์แนวคิดการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนโดยจัดกิจกรรมให้ความรู้ การใช้ตัวแบบ การสาธิตและฝึกปฏิบัติ รวมทั้งการนิเทศติดตามการเยี่ยมบ้านและกระตุ้นให้มีความรู้ต่อเนื่องผ่านกลุ่มไลน์เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการทำงานแก่อาสาสมัครสาธารณสุข
References
กรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2559). คู่มือการจัดการโรคไตเรื้อรัง (CKD) สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การ สงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์. กรุงเทพมหานคร: สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย.
กองการพยาบาสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. (2562). การอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแล เพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุโรคไตที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน. กรุงเทพมหานคร.
กองสร้างเสริมสุขภาพ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. (2557). หลักสูตรการอบรมเพิ่มพูนความรู้สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร. ลักษมีนานาภัณฑ์.
จิรัชยา สุวินทรากร. (2562). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุขในการเฝ้าระวัง และป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารพยาบาล, 68(1), 39-48.
ปิยนุช ภิญโย, กิตติภูมิ ภิญโย, สายสุดา จันหัวนา, วชิรศักดิ์ อภิพัฒฐ์กานต์, ธรณิศ สายวัฒน์ และอมรรัตน์ อัครเศรษสกุล. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างความสามารถแห่งตนต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ หมู่บ้านในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน จังหวัดขอนแก่น. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 37(3), 109-120.
ภัทรวดี โชติพิบูลย์ทรัพย์. (2567). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้งานแอปพลิเคชั่นเพื่อสุขภาพ. วารสารระบบสารสนเทศด้านธุรกิจ (JISB), 10(1), 43-55.
ภาวิณี พรหมบุตร, เอื้อจิต สุขพูล และปิยนุช ภิญโย. (2558). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชน ของจังหวัดแห่งหนึ่ง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 35(2), 113-128.
ระบบรายงานศูนย์บริการสาธารณสุข 3 บางซื่อ. (2562). รายงานการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามเกณฑ์.
สมพร พูลพงษ์ (2562). การประยุกต์ใช้โปรแกรมไลน์เพื่อการมอบหมายงานสำหรับกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14(3), 138-146.
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. (2565). แนวทางปฏิบัติสำหรับโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, สถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์, สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย), กรมอนามัย และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2559). คู่มือการอบรมพัฒนาศักยภาพการดำเนินงาน เพื่อลดโรคไตเรื้อรังสำหรับ อสม.
Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman and company.
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis of the behavioral scienes. New York : Lawrence Erlbaum Associattes.
Hill, NR., Fatoba, ST., Oke, JL., Hirst, JA CA., & Lasserson DS. (2016). Global prevalence of chronic kidney disease - a systematic review and meta-analysis. PLoS One, 11(7).
National Center for Chronic Disease Prevention and Health Promotion. (2014). National Chronic Kidney Disease Fact Sheet: CDC.
United states renal data system. CKD in the United States. [internet]. 2015. [cited 2022 March 3]. Available: http://www.ajkd.org/article/S0272-6386(16)00094-9/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว