มุมมองของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน

ผู้แต่ง

  • กชพร พงษ์แต้ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ปริมล หงษ์ศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • สุทธิศักดิ์ สุริรักษ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative descriptive approach) นี้ มีวัตถุประสงค์เข้าใจมุมมองของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย ปัญหา อุปสรรค และผลกระทบที่เกิดขึ้นระหว่างการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในเขตภาคเหนือ ผู้ให้ข้อมูลคือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 6 ราย และผู้ดูแลผู้ป่วย จำนวน 9 ราย คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง (purposive sampling) รวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แก่นสาระ (thematic Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลรับรู้และสะท้อนมุมมองถึงสถานการณ์ ปัญหา และความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน จำแนกได้เป็น 3 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นที่ 1 การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่าน ประเด็นที่ 2 ปัญหาและอุปสรรคการดูแลในระยะเปลี่ยนผ่าน และประเด็นที่ 3 การสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่าน สรุป ผลการศึกษาเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังเผชิญกับอุปสรรคปัญหาในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน ตลอดจนเป็นแนวทางในการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านแก่ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่าน

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2566).สถิติสาธารณสุข 2565. https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2023/11/Hstatistic65.pdf

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2562). รายงานผลการศึกษา โครงการทบทวนสถานการณ์และผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประเทศไทย. https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1036320200810073233.pdf

ธัญพิมล เกณสาคู, เตือนใจ สินอำไพสิทธิ์, และวีรยุทธ ศรีทุมสุข. (2563). ประสิทธิผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลการวางแผนจำหน่ายต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การกลับเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาลและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบอุดตัน. วารสารพยาบาลทหารบก. 21(3), 215-224.

นันทกาญจน์ ปักษี, ทิฏฐิ ศรีวิสัย, และเสน่ห์ ขุนแก้ว. (2564). การเตรียมความพร้อมญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตามแนวคิดรูปแบบการดูแลตามระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 13(1), 47-61.

นันทกาญจน์ ปักษี, ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม, สุปรีดา มั่นคง, และสิริรัตน์ ลีลาจรัส. (2559). ผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และญาติผู้ดูแลในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านต่อความพร้อมในการดูแล ความเครียด การปรับตัว และความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับของญาติผู้ได้รับ. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 22(1), 65-80.

พรทิพย์รตา สุขรื่นบุลภรณ์. (2564). กรณีศึกษา การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน. วารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช. (1)2, 113-129.

สมศักดิ์ เทียมเก่า. (2566). 13 ปี เส้นทาง การ เรียน รู้ และ พัฒนา Stroke Fast Track ของ ประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 17(1), 191-199.

สุชาวดี เสนาสนะ, พัชรี คมจักรพันธ์, และแสงอรุณ อิสระมาลัย. (2560). การพัฒนาโปรแกรมการฝึกทักษะผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 7(2), 212-222.

ศรารินทร์ พิทธยะพงษ์. (2561). สถานการณ์ ปัญหา และอุปสรรคการดูแลผู้ป่วยหลังการเกิดโรคหลอดเลือดสมองระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 11(2), 26-39.

Chen, L., Xiao, L. D., Chamberlain, D., & Newman, P. (2021). Enablers and barriers in hospital‐to‐home transitional care for stroke survivors and caregivers: A systematic review. Journal of Clinical Nursing, 30(19-20), 2786-2807. https://doi.org/10.1111/jocn.15807

Civelek, G. M., Atalay, A., & Turhan, N. (2016). Medical complications experienced by first-time ischemic stroke patients during inpatient, tertiary level stroke rehabilitation. Journal of Physical Therapy Science, 28(2), 382-391.

Lincoln YS, Guba EG. Naturalistic inquiry. California: Sage Publications; 1985.

Lin, S., Wang, C., Wang, Q., Xie, S., Tu, Q., Zhang, H., ... & Redfern, J. (2022). The experience of stroke survivors and caregivers during hospital-to-home transitional care: a qualitative longitudinal study. International journal of nursing studies, 130, 104213.

https://doi.org/10.1016/j.ijnurstu.2022.104213

Lin, S., Xie, S., Zhou, J., Tu, Q., Wang, C., & Chen, L. (2023). Stroke survivors', caregivers' and nurse coaches' perspectives on health coaching program towards hospital‐to‐home transition care: A qualitative descriptive process evaluation. Journal of Clinical Nursing, 32(17-18), 6533-6544. https://doi.org/https://doi.org/10.1111/jocn.16590

Naylor, M. D., Brooten, D. A., Campbell, R. L., Maislin, G., McCauley, K. M., & Schwartz, J. S. (2004). Transitional care of older adults hospitalized with heart failure: a randomized, controlled trial. Journal of The American Geriatrics Society, 52(5), 675-684.

https://doi.org/10.1111/j.1532-5415.2004.52202.x

Pucciarelli, G., Lee, C. S., Lyons, K. S., Simeone, S., Alvaro, R., & Vellone, E. (2019). Quality of life trajectories among stroke survivors and the related changes in caregiver outcomes: a growth mixture study. Archives of Physical Medicine and Rehabilitation, 100(3), 433-

https://doi.org/10.1016/j.apmr.2018.07.428

Sandelowski, M. (2000). Whatever happened to qualitative description. Research in Nursing & Health, 23(4), 334-340. https://doi.org/10.1002/1098-240X(200008)23:4<334::AID-NUR9>3.0.CO;2-G

See Toh, W. X. S., Lim, W. H. J., Yobas, P., & Lim, S. (2022). The experiences of spousal and adult child caregivers of stroke survivors in transitional care: a qualitative systematic review. Journal of Advanced Nursing, 78(12), 3897-3929. https://doi.org/10.1111/jan.15420

Sewell, K., Tse, T., Harris, E., Matyas, T., Churilov, L., Ma, H., ... & Carey, L. M. (2021). Pre-existing comorbidity burden and patient perceived stroke impact. International Journal of Stroke, 16(3), 273-279. https://doi.org/10.1177/1747493020920838

Zhao, J., Zeng, Z., Yu, J., Xu, J., Chen, P., Chen, Y., ... & Ma, Y. (2021). Effect of main family caregiver’s anxiety and depression on mortality of patients with moderate-severe stroke. Scientific Reports, 11(1), 1-9. https://doi.org/10.1038/s41598-021-81596-8

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-25