สภาพการดำเนินงานการจัดการข้อมูลในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าร่วมกันของภาคีเครือข่ายระบบสุขภาพปฐมภูมิ จังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
โรคพิษสุนัขบ้า, การจัดการข้อมูล, ภาคีเครือข่ายสุขภาพ, ระบบสุขภาพปฐมภูมิบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานการจัดการข้อมูลในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าร่วมกันของภาคีเครือข่ายระบบสุขภาพปฐมภูมิ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย พยาบาลหน่วยบริการปฐมภูมิ เจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์ ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดการโรคพิษสุนัขบ้า จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวคำถามการสนทนากลุ่ม เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อสรุปประเด็นสำคัญ ตรวจสอบความถูกต้องและ ความเชื่อมั่นของผลการวิจัยด้วยการเก็บข้อมูลและการตรวจสอบแบบสามเส้า
ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินการจัดการข้อมูลในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าร่วมกับภาคีเครือข่ายระบบสุขภาพปฐมภูมิ สามารถสรุปผลการวิจัยเชิงคุณภาพได้เป็น 7 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) การบูรณาการข้อมูลและการสื่อสารระหว่างภาคีเครือข่าย 2) การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและชุมชน 3) ความท้าทายและแนวทางการพัฒนา 4) การจัดการสัตว์จรจัด 5) การพัฒนาระบบการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล 6) การสร้างความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของชุมชน และ 7) การบริหารจัดการทรัพยากรและงบประมาณ
ดังนั้นจึงควรมีการวิจัยและพัฒนาพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางที่เชื่อมโยงข้อมูลจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนและวิเคราะห์ข้อมูล การวางแผน และตัดสินใจในการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
กรมควบคุมโรค. (2566). แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าแห่งชาติ. กระทรวงสาธารณสุข.
กรมควบคุมโรค. (2567). กรมควบคุมโรคแนะ “เข้าพรรษาสุขใจ สุขภาพไทยแข็งแรง” เสริมภูมิคุ้มกัน ลดปัจจัยเสี่ยงโรค ตลอดช่วงเข้าพรรษา. ค้นคว้าจาก https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=44654
กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). คู่มือการสร้างและประเมินพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์ กรุงเทพฯ.
กรมปศุสัตว์. (2566). รายงานประจำปี 2566. https://drive.google.com/file/d/1Nyw3Exx2onqxKrecvuo_kMWs-DHbpIxO/view
คณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า. (2560). แผนยุทธศาสตร์ โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ปี 2560-2563.
https://pvlo-pre.dld.go.th/webnew/images/stories/report/rebies2566/301Yuttasart60-63.pdf
วิภาดา สุวรรณดี และคณะ. (2564). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้าต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคของประชาชนในชุมชน. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 35(2), 78-92.
ศุภมาส พันธ์เชย. (2561). โรคพิษสุนัขบ้า. วารสารกระบี่เวชสาร, 1(2), 49-61.
สมชาย ใจดี และคณะ. (2565). ปัจจัยความสำเร็จในการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานเพื่อควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า: กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 52(1), 45-58.
Burnard, P. (1991). A method of analyzing interview transcripts in qualitative research. Nurse
Education Today, 11(6), 461-466.
Cleaveland, S., Hampson, K., Haydon, D. T., Lembo, T., Townsend, S. E., & Meslin, F. X. (2022). The global elimination of dog-mediated human rabies: The time is now. The Lancet Global Health, 10(3), e392-e400.
Denzin, N. K., Lincoln, Y. S., MacLure, M., Otterstad, A. M., Torrance, H., Cannella, G. S., et al. (2018). Critical qualitative methodologies reconceptualization and emergent construction. International Review of Qualitative Research. doi.org/10.1525/irqr.2017.10.4.482
Hampson, K., Abela-Ridder, B., Bharti, O., Knopf, L., Léchenne, M., Mindekem, R., ... & Zinsstag, J. (2019). Modelling to inform prophylaxis regimens to prevent human rabies. Vaccine, 37, A166-A173.
Mahapatra, M., Sayalel, K., Msechu, J., Kinney, E., Tapia, E., Byarugaba, D. K., ... & Mazet, J. A. (2021). Smartphone-based surveillance system for early detection and control of animal diseases in low-resource settings. Frontiers in Veterinary Science, 8, 647-697.
United Against Rabies Collaboration. (2019). First annual progress report: Global Strategic Plan to End Human Deaths from Dog-mediated Rabies by 2030. https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/328053/WHO-CDS-NTD-NZD-2019.04-eng.pdf?sequence=1
World Health Organization. (2022). Digital technology for disease surveillance and response. WHO Technical Report Series, No. 1035.
Zinsstag, J., Schelling, E., Crump, L., Whittaker, M., Tanner, M., & Stephen, C. (2020). One Health: The theory and practice of integrated health approaches. CABI.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว