การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกในหอผู้ป่วยหนักตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบมุ่งเป้า
คำสำคัญ:
รูปแบบการพยาบาล, ภาวะช็อก, หอผู้ป่วยหนัก, การดูแลผู้ป่วยแบบมุ่งเป้าบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกในหอผู้ป่วยหนักตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบมุ่งเป้า กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนัก จำนวน 30 คน และผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกและเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักโรคทางเดินหายใจในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึง พฤษภาคม พ.ศ.2567 จำนวน 53 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความรู้ของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อก มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 แบบประเมินการรับรู้ของพยาบาลต่อประโยชน์ของรูปแบบ และแบบบันทึกผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกในหอผู้ป่วยหนัก ได้ค่า IOC เท่ากับ 0.87 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูล โดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ pair t-test
ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกในหอผู้ป่วยหนักตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบมุ่งเป้า มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ระบบสนับสนุนการจัดรูปแบบพยาบาล ประกอบด้วย นโยบายการจัดอัตรากำลังในหอผู้ป่วยหนัก และแนวทางการจัดรูปแบบการพยาบาลแบบทีม 2) กระบวนการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อก ประกอบด้วย มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อก และ SHOCK Bundle และ 3) ผลลัพธ์และการพัฒนาอย่างต่อเนื่องประกอบด้วย ตัวชี้วัดในการประกันคุณภาพบริการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกและแผนการพัฒนาความรู้และทักษะของทีมพยาบาล หลังใช้รูปแบบฯ พยาบาลมีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ต่อประโยชน์ของรูปแบบฯ อยู่ในระดับมากที่สุด ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกในหอผู้ป่วยหนักตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบมุ่งเป้าที่พัฒนาขึ้นบรรลุเป้าหมายร้อยละ 77.36 และมีอัตราการรอดชีวิตร้อยละ 83.02
ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกตามแนวทางการดูแลแบบมุ่งเป้าสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยช็อกได้
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2566). อัตราตายจากติดเชื้อ (Sepsis) https://healthkpi.moph.go.th/kpi/kpi- list/view/?id=43&utm_source
เกษา นาสวน, สมปอง ใจกล้า, และกันตินันท์ สอดสุข. (2567). การพัฒนารูปแบบการจัดบริการผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(1), 397-407.
วิจิตรา กุสุมภ์. (2565). การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต: แบบองค์รวม (พิมพ์ครั้งที่ 7). นนทบุรี: พี.เค.เค. พริ้นติ้ง.วิภารัช
นงลักษณ์ บุญเยีย. (2558). ผลการพัฒนารูปแบบทีมการพยาบาลต่อคุณภาพการพยาบาลในผู้ป่วยหนักศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 927–936.
นันทรัตน์ โกษาแสง. (2567). พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตและบันทึกด้วยโปรแกรม IPD Paperless หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ. https://bkpho.moph.go.th/ssjweb/bkresearch/bkpho.moph.go.th
ประภาพรรณ สิงห์โต และทองเปลว ชมจันทร์. (2564). กระบวนการและผลลัพธ์ของการดูแลแบบมุ่งเป้าใน 6 ชั่วโมงแรกในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรงและภาวะช็อคจากการติดเชื้อ. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท, 3(2), 1-21.
มณีรัตน์ ทองดีพันธ์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานและการผสมผสานอัตรากำลังกับคุณภาพการพยาบาล. http://www.medi.co.th/hotnews11/nursing_1625473578NR124.pdf
ยุวดี เกตสัมพันธ์. (2556). Innovative Models of Nursing Care Delivery. https://www2.si.mahidol.ac.th/division/nursing/sins/download/meeting/sinsmeeting_ 2556_05.pdf
ระบบสารสนเทศ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช. (2566). สถิติผู้ป่วย. โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช.
ศรีผาสุก พึ่งศรีเพ็ง. (2560). การปฏิบัติตามมาตรฐานทางการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 3(2), 180-192.
Bloom, J. E., Andrew, E., Dawson, L. P., Nehme, Z., Stephenson, M., Anderson, D., ... & Stub, D. (2022). Incidence and outcomes of nontraumatic shock in adults using emergency medical services in Victoria, Australia. JAMA Network Open, 5(1), e2145179-e2145179.
Huppmann, S. E. (2023). Surviving Shock: Nurse Driven Protocol for Application of Hemodynamic Monitoring Device.
Rhee, C., Jones, T. M., Hamad, Y., Pande, A., Varon, J., O’Brien, C., ... & Klompas, M. (2019). Prevalence, underlying causes, and preventability of sepsis-associated mortality in US acute care hospitals. JAMA network open, 2(2), e187571-e187571.
Rivers, E., Nguyen, B., Havstad, S., Ressler, J., Muzzin, A., Knoblich, B., Peterson, E., Tomlanovich, M., & Early Goal-Directed Therapy Collaborative Group. (2001). Early goal-directed therapy in the treatment of severe sepsis and septic shock. The New England Journal of Medicine, 345(19), 1368-1377. https://doi.org/10.1056/NEJMoa010307
Urden, L. D., Stacy, K. M., & Lough, M. E. (2017). Critical care nursing: Diagnosis and management (8th ed.). Elsevier
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว