ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการคัดกรอง โรคเบาหวานในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเสาหิน ตำบลวัดพริก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • สุชาดา สวนนุ่ม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเสาหิน
  • วิภาพร สิทธิสาตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช คณะพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ธิติรัตน์ ราศิริ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

โรคเบาหวาน, พัฒนาศักยภาพ, คัดกรองโรคเบาหวาน, อาสาสมัครสาธารณสุข, โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพ

บทคัดย่อ

          การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความรู้และการปฏิบัติในการคัดกรองโรคเบาหวานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 คน โดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงในกลุ่มที่ยังไม่ผ่านการอบรมและทำงานไม่เกิน 5 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเป็นโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการคัดกรองโรคเบาหวาน เครื่องมือเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามความรู้และการปฏิบัติการคัดกรองโรคเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยภายในกลุ่มทดลองก่อนและหลังใช้โปรแกรม ด้วยสถิติ paired t-test

           ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพ อสม.ในการคัดกรองเบาหวาน อสม.มีคะแนนความรู้และคะแนนการปฏิบัติการคัดกรองโรคเบาหวานสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.001  ดังนั้น การใช้โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการคัดกรองโรคเบาหวาน สามารถส่งเสริมและสนับสนุนให้ อสม.มีความรู้ มีความพร้อมในการปฏิบัติการคัดกรองโรคเบาหวาน ตลอดจนสามารถให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องให้กับประชาชน เป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน อันเป็นการเพิ่มศักยภาพของชุมชนดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของชุมชน

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ระบบข้อมูลสุขภาพ. https://hdcservice.moph.go.th/hdc/ main/index.php

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). สถานการณ์โรคเบาหวาน. https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/181256

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2565). คู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่หลักสูตรฝึกอบรมสมาร์ท อสม.และ อสม. หมอประจำบ้าน ปีงบประมาณ 2565. https://hss.moph.go.th/HssDepartment/file_reference/202204252089496483.pdf

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2556). แนวทางการดำเนินงาน มาตรฐานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เรื่อง การเจาะเลือดฝอยจากปลายน้ิวเพื่อคัดกรองโรคเบาหวาน โดยใช้เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดชนิดพกพา. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. ปทุมธานี: ร่มเย็น มีเดีย.

ขวัญตา เพชรมณีโชติ, ลักษณา พงษ์ภุมมา, อนิสา อรัญคีรี และพัชรี เตาวลานนท์. (2564). ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้และการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 31(3), 28-41.

จริยาพร ศรีจอมพล และเบญจา มุกตพันธุ์. (2561). ผลของโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อความรู้และการปฏิบัติการตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยวิธีเจาะจากปลายนิ้วในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 18(2), 102-115.

จันทร์จิรา อินจีน,วิภาพร สิทธิสาตร์,จันทิมา นวะมะวัฒน์ และปริญดา ศรีธราพิพัฒน์. (2562). การพัฒนาสมรรถนะการคัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน: การสังเคราะห์งานวิจัยอย่างเป็นระบบ.Humanities, Social Sciences and arts, 12(6), 1175-1191.

นิดา มีทิพย์ เดชา ทำดี และประพิมพ์ พุทธิรักษ์กุล. (2559). ผลของการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อความรู้และการปฏิบัติการคัดกรอง และการให้คำแนะนำโรคความดันโลหิตสูงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 43(5), 104-115.

ปภากร เผ่าเวียงคำและศรีสุรางค์ เคหะนาค. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานเกี่ยวกับโรคเบาหวานตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี.วารสารสาธารณสุขล้านนา, 18(2), 116-128.

ภคภณ แสนเตชะ และประจวบ แหลมหลัก. (2563). ผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตําบลแม่ปม อําเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารสุขศึกษา,43(2), 150-164.

สุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์,นิชนันท์ สุวรรณกูฏ และอมรรัตน์ นธะสนธิ์. (2562). ประสบการณ์อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 21(1), 109-116.

อัจฉริยา เชื้อเย็น,ศิวพร อึ้งวัฒนา และวิลาวัณย์ เตือนราษฎร์. (2565). ผลของโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อความรู้และการปฏิบัติตัวในการตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยวิธีเจาะปลายนิ้วในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 18(2), 102-115.

Kolb, D. A. (1984). Experiential learning: Experience as the source of learning and development. New Jersey: Prentice-Hall.

World Health Organization. (2023). Diabetes. https://www.who.int/news-room/fact- sheets/detail/diabetes

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-03