Publication Ethics

จริยธรรมในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน (Publication Ethics) 

Eng

วารสารโรคผิวหนัง ดำเนินการเผยแพร่โดยสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย มีจุดมุ่งหมายให้ความรู้วิชาโรคผิวหนังแก่สมาชิกและแพทย์ทั่วไป จึงได้กำหนดแนวทางปฏิบัติตามข้อกำหนดจริยธรรมในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานอย่างเคร่งครัด ครอบคลุมมาตรฐานจริยธรรมในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานสำหรับผู้นิพนธ์ (Author) บรรณาธิการวารสาร (Editor) และผู้ประเมินบทความ (Reviewer) ดังนี้

 

สำหรับผู้นิพนธ์ (Authors)

  1. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความวิจัยให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำผู้นิพนธ์”
  2. ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงให้ถูกต้องทุกครั้งเมื่อนำผลงานผู้อื่นมานำเสนอหรืออ้างอิงประกอบในบทความของตน และไม่คัดลอกจากบทความอื่น
  3. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน รายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
  4. หากบทความนั้นเกี่ยวข้องกับภาพหน้าของผู้ป่วย ผู้นิพนธ์ควรดำเนินการตามหลักจริยธรรม ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ต้องได้รับความยินยอมก่อนการดำเนินการรวบรวมข้อมูลหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง คือ หนังสือแสดงเจตนายินยอมให้เผยแพร่ข้อมูลทางการแพทย์จากผู้ป่วย ประกอบด้วยทุกครั้ง
  5. ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้ และต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี)
  6. นโยบายวารสาร ไม่มีค่าใช้จ่าย ในการเผยแพร่

สำหรับบรรณาธิการ (Editors)

  1. บรรณาธิการวารสารจะไม่รับตีพิมพ์ผลงานที่ได้ตีพิมพ์ที่อื่นมาก่อน
  2. บรรณาธิการวารสารพิจารณาและกลั่นกรองคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ โดยคัดเลือกผลงานที่ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ รวมถึงผลงานต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร
  3. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมิน
  4. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
  5. บรรณาธิการต้องไม่ปฏิเสธการตีพิมพ์บทความเพราะความไม่แน่ใจ บรรณาธิการต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ข้อสงสัยๆ นั้น ก่อน
  6. หากตรวจพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่นในกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้นิพนธ์หลักทันทีเพื่อขอคำชี้แจง เพื่อประกอบการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความนั้นๆ

 

สำหรับผู้ประเมินบทความ (Reviewers)

  1. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ (Confidentiality)
  2. หลังจากได้รับบทความจากกองบรรณาธิการ ผู้ประเมินต้องตระหนักว่า ตนเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการ หรือรู้จักผู้เขียนเป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลอื่น ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งปฏิเสธการประเมินบทความนั้นๆ
  3. ผู้ประเมินบทความควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในบทความที่จะมีต่อสาขาวิชานั้นๆ คุณภาพของการวิเคราะห์และความเข้มข้นของผลงาน ไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความวิจัย
  4. ผู้ประเมินบทความต้องระบุผลงานวิจัยที่สำคัญๆ และสอดคล้องกับบทความที่กำลังประเมิน แต่ผู้นิพนธ์ไม่ได้อ้างถึง เข้าไปในการประเมินบทความด้วย นอกจากนี้ หากมีส่วนใดของบทความที่มีความเหมือนหรือซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่นๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบด้วย
  5. หากผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบพบว่าบทความที่รับประเมิน เป็นบทความที่คัดลอกผลงานชิ้นอื่น ๆ ผู้ทรงคุณวุฒิต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันที พร้อมแสดงหลักฐานประกอบที่ชัดเจน
  6. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องรักษาระยะเวลาประเมินตามกรอบเวลาประเมินที่วารสารกำหนด รวมถึงไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความให้ผู้ที่อื่นได้รับรู้