ผลของโปรแกรมการประเมินผลแบบเสริมพลังต่อความรู้ แรงจูงใจ และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลสามโคก

Main Article Content

สุธาทิพย์ บัวสด
สุทธีพร มูลศาสตร์

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ ความรู้ แรงจูงใจและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาผลการ ปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลสามโคก ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการประเมินผลแบบเสริมพลัง กลุ่ม ตัวอย่างเป็น พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสามโคก จังหวัดปทุมธานี จำนวน 26 คน เลือกโดยวิธีเจาะจง เครื่องมือวิจัยมี 2 ชุด คือ โปรแกรมการประเมินผลแบบ เสริมพลัง และแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดความรู้ 3) แบบสอบถาม แรงจูงใจและ 4) การมีส่วนร่วมในการพัฒนาผลการปฏิบัติงาน หาค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของส่วนที่ 2, 3 และ 4 ได้เท่ากับ 1.00, 0.99. และ 1.00 และค่าสัมประสิทธิ์ ความเที่ยงได้เท่ากับ 0.79, 0.98 และ 0.93 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ความ แปรปรวนแบบวัดซํ้า

ผลการวิจัยพบว่า ในช่วงหลังเข้าร่วมโปรแกรมการ ประเมินผลแบบเสริมพลังในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ พยาบาลวิชาชีพมีความรู้ดีกว่า ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ ส่วนแรงจูงใจและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาผลการปฏิบัติงาน มีมากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯและหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05

 

Effects of empowerment evaluation program on knowledge, motivation and paticipation in performance development of professional nurses in Samkhok Hospital.

Buasod, S., & Moolsart, S. 

The objectives of this quasi-experimental research were to compare the knowledge and motivation as well as the participation in the performance development of professional nurses between before and after enrolling the empowerment evaluation program. The sample of 26 professional nurses in Samhkok Hospital was purposively selected. The research tools were 1) the Empowerment Evaluation Program, and 2) the questionnaire which comprised of four parts: 1) personal data 2) knowledge test 3) motivation and 4) participation in performance development. The content validity index of part 2, 3 and 4 were 1.00, 0.99 and 1.00 and the reliability coefficients were 0.79, 0.98 and 0.93 respectively. The statistics used in data analysis were descriptive statistics and Repeated Measures Analysis of Variance.

The results revealed that after enrolling the program at the second quarter of the fiscal year, professional nurses had the knowledge significantly better than before enrolling the program. Meanwhile, the motivation and participation in the performance development were significantly higher than before and after enrolling the program at the first quarter of the fiscal year at p < 05.

Article Details

How to Cite
บัวสด ส., & มูลศาสตร์ ส. (2016). ผลของโปรแกรมการประเมินผลแบบเสริมพลังต่อความรู้ แรงจูงใจ และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลสามโคก. Thai Journal of Nursing, 63(2), 1–10. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/46889
Section
Research Article