ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริหารจัดการภาวะขาดแคลนพยาบาล ของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลทั่วไป เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 5

Main Article Content

พรวิมล พุทธบูชา
วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล
มุกดา หนุ่ยศรี

Abstract

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การรับรู้เกี่ยวกับการจัดการภาวะขาดแคลนพยาบาล ของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลทั่วไป เขตตรวจราชการ สาธารณสุขที่ 5 2) พฤติกรรมการบริหารจัดการภาวะ ขาดแคลนพยาบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วย และ 3) อิทธิพล ของการรับรู้เกี่ยวกับการจัดการภาวะขาดแคลนพยาบาล ต่อพฤติกรรมการบริหารจัดการภาวะขาดแคลนพยาบาล ของหัวหน้าหอผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่าง เป็นหัวหน้าหอผู้ป่วย ที่มีระยะเวลาการปฏิบัติงานและดำรงตำแหน่งอย่างน้อย 1 ปี ขึ้นไป จำนวน 158 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย เป็นแบบสอบถามซึ่งมี 3 ส่วน ได้แก่ 1) ปัจจัยส่วนบุคคล 2) การรับรู้เกี่ยวกับการจัดการภาวะขาดแคลนพยาบาล และ 3) พฤติกรรมการบริหารจัดการภาวะขาดแคลนพยาบาล แบบสอบถามส่วนที่ 2 และ 3 หาค่าสัมประสิทธิ์ ความเที่ยงได้เท่ากับ 0.87 และ 0.91 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุ แบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า 1) หัวหน้าหอผู้ป่วยมีการรับรู้ เกี่ยวกับการจัดการภาวะขาดแคลนพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับสูง 2) หัวหน้าหอผู้ป่วยมีพฤติกรรมการบริหาร จัดการภาวะขาดแคลนพยาบาลอยู่ในระดับสูงมาก 3) การรับรู้ประโยชน์ของการบริหารจัดการภาวะขาดแคลนพยาบาล สามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการบริหาร จัดการภาวะขาดแคลนพยาบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วยได้ ร้อยละ 13.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

Factors affecting nurse shortage management behaviors of head nurses at general hospitals in Public Health Inspection Region 5.

Puttabucha, P., Iemsawasdikul, W. & Nuysri, M.

The objectives of this descriptive research were: 1) to study perception of nurse shortage management by head nurses at general hospitals in Public Health Inspection Region 5. 2) to examine nurse shortage management behaviors of head nurses, and 3) to explore the effect of perception of nurse shortage management by head nurses on nurse shortage management behaviors of head nurses. The sample included 158 head nurses who had worked at general hospitals in Public Health Inspection Region 5 for at least 1 year. Data were collected by a questionnaire which comprised 3 parts: 1) personal data, 2) nurse shortage management perception, and 3) nurse shortage management behaviors. The Cronbach’s alpha coefficients of the second and the third parts were 0.87 and 0.91 respectively. Data were analyzed for frequency, percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis.

The results showed as follows. 1) Head nurses rated their perception of nurse shortage management at the high level. 2) They rated their nurse shortage management behaviors at the highest level. 3) Perception of benefits of nurse shortage management accounted for 13.6% of the variance of nurse shortage management behaviors of head nurses at p <.01.

Article Details

How to Cite
พุทธบูชา พ., เอี่ยมสวัสดิกุล ว., & หนุ่ยศรี ม. (2016). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริหารจัดการภาวะขาดแคลนพยาบาล ของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลทั่วไป เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 5. Thai Journal of Nursing, 63(2), 21–28. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/46895
Section
Research Article