ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดำรงบทบาทมารดาของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก

Main Article Content

กนกทอง จาตุรงคโชค
ปัญญรัตน์ ลาภวงษ์วัฒนา
ปาหนัน พิชยภิญโญ

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผล ของโปรแกรมส่งเสริมการดำรงบทบาทมารดาของมารดา วัยรุ่นครรภ์แรกกลุ่มตัวอย่างคือมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกอายุ 15-19 ปี เลือกแบบเจาะจงจากแผนกสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี จำนวน 60 คน แบ่ง เป็นกลุ่มทดลอง30 คนและกลุ่มเปรียบเทียบ 30 คน เครื่องมือวิจัย เป็นแบบสอบถามการดำรงบทบาทมารดา ประกอบด้วย 1) ความภาคภูมิใจในการเป็นมารดา 2) การ มีสัมพันธภาพกับบุตร 3) สมรรถนะในการดำรงบทบาท มารดา และ 4) ความพึงพอใจในการทำบทบาทมารดา หาค่าความเที่ยงของเครื่องมือวิจัยได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ของครอนบาค เท่ากับ 0.77, 0.71, 0.87 และ 0.86 ตาม ลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน t test และ repeated measures ANOVA.

ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองมารดาวัยรุ่น ครรภ์แรกในกลุ่มทดลองมีการดำรงบทบาทมารดาโดยรวม ความภาคภูมิใจในการเป็นมารดา การมีสัมพันธภาพกับบุตร สมรรถนะในการดำรงบทบาทมารดาและความพึงพอใจ ในการทำบทบาทมารดาสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่า กลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ใน ระยะติดตามผล มารดาวัยรุ่นครรภ์แรกมีการดำรงบทบาท มารดาโดยรวม ความภาคภูมิใจในการเป็นมารดา การมี สัมพันธภาพกับบุตร สมรรถนะในการดำรงบทบาทมารดา สูงกว่า ก่อนการทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ความพึงพอใจในการ ทำบทบาทมารดาในระยะติดตามผลของทั้ง 2 กลุ่ม ไม่แตกต่างกัน

 

Effects of maternal role attainment promotion program for primiparous teen mothers.

Jaturongkachock, K., Lapvongwatana, P., & Pichayapinyo, P.

This study aimed to examine the effects of the maternal role attainment promotion program for primiparous teen mothers. The sample of 60 primiparous teen mothers from the Obstetric department, Banpong Hospital in Ratchaburi Province was included by purposive sampling. They were equally divided into an experimental group and the comparison group. Research tools were the questionnaires including demographic data and the maternal role attainment which composed 4 parts: 1) maternal role self-esteem, 2) mother-infant attachment, 3) competency in maternal role attainment, and 4) maternal role satisfaction.

The Cronbach's alpha coefficient of the subparts were 0.77, 0.71, 0.87, and 0.86 respectively. Data were analyzed for percentage, mean, standard deviation, t test and repeated measures ANOVA. The study revealed that after the experiment, mothers in the experiment group had maternal role attainment, maternal role self-esteem, mother-infant attachment, competency in maternal role attainment and maternal role satisfaction significantly higher than those in the comparison group and the preexperiment peroid at p < .05. In the follow-up period, mothers in the experiment group had maternal role attainment, maternal role self-esteem, mother-infant attachment, competency in maternal role attainment significantly higher than those in the comparison group and the preexperiment period at p < .05. There was no significant difference in maternal role satisfaction between the two groups.

Article Details

How to Cite
จาตุรงคโชค ก., ลาภวงษ์วัฒนา ป., & พิชยภิญโญ ป. (2016). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดำรงบทบาทมารดาของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก. Thai Journal of Nursing, 63(2), 36–45. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/46899
Section
Research Article