รูปแบบการจัดการศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ ในบริบทมหาวิทยาลัยราชภัฏ

Main Article Content

ภัทรา จุลวรรณา
อนันต์ ศรีอำไพ
จิระภา ศิริวัฒนเมธานนท์
จันทร์วิภา ดิลกสัมพันธ์

Abstract

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูป แบบการจัดการศึกษาของคณะพยาบาลศาสตร์ที่เหมาะสม ในบริบทมหาวิทยาลัยราชภัฏ ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การร่างรูปแบบฯ โดยศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และแนวปฏิบัติที่ดีในคณะพยาบาลศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จ ร่างรูปแบบฯ และตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือ วิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ระยะที่ 2 การพัฒนา รูปแบบฯ โดยสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรูปแบบการ จัดการศึกษา ในคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ 2 แห่ง เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่ง โครงสร้างและแบบสำรวจ ระยะที่ 3 การตรวจสอบรูปแบบฯเครื่องมือวิจัยคือ แบบตรวจสอบรูปแบบฯ การวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงปริมาณใช้โปรแกรมสำเร็จรูป หาค่าเฉลี่ยและ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการจัดการศึกษา คณะ พยาบาลศาสตร์ ในบริบทมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือปัจจัยนำเข้าการจัดการศึกษา กระบวนการ จัดการศึกษาและผลผลิตและผลลัพธ์การจัดการศึกษา และ19 องค์ประกอบ คือ 1) หลักสูตรพยาบาลศาสตร บัณฑิต 2) บุคลากร 3) งบประมาณ 4) ปัจจัยเกื้อหนุนการ จัดการศึกษา 5) องค์การและการจัดการ 6) การนำองค์การ 7) การวางแผนเชิงกลยุทธ์ 8) การบริหารหลักสูตรและการ จัดการเรียนการสอน 9) การพัฒนานักศึกษา 10) การ พัฒนาอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน 11) การวัดและ ประเมินผลการดำเนินงานขององค์การและ 12) ร้อยละของ การตก-ออกของนักศึกษา 13) ผู้สำเร็จการศึกษาตามเวลา ที่กำหนด 14) อาจารย์ มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ 15) ผู้สอบผ่าน การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ ในการสอบครั้งแรกมากกว่าร้อยละ 70 16) ผู้มีงานทำ ในระยะเวลา 1 ปีหลังจากจบการศึกษา 17) ความพึงพอใจ ของบัณฑิตต่อการจัดการเรียนการสอน 18) ความพึงพอใจ ของผู้ใช้บัณฑิต และ19) ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อ การบริหารจัดการการศึกษา ผลการตรวจสอบรูปแบบการ จัดการศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ ในบริบทมหาวิทยาลัย ราชภัฏโดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความเห็น สอดคล้องกันว่ามีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็น ไปได้และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้ง 19 องค์ประกอบ

 

Development of nursing educational management model of Rajabhat University Context.

Junlawanna, P., Sri-Ampai., A., Siriwantanamethanon, J., & Diloksambandh, C.

The purpose of this research and development was to develop a nursing educational management model that was suitable to the context of Rajabhat University. The three phases of the study were 1) the drafting phase, an extensive literature review, experts’ critique, and best practice study were obtained. Research tool was a semi-structured interview. 2) the refining phase, the opinion survey in two nursing schools of Rajabhat University was done. Research tools were the semi-structured interview, questionnaire, and document checklist. 3) the verifying phase, the verification of the nursing educational management model of Rajabhat University was done by the 15 experts. Research tools was a questionnaire. Content analysis and descriptive statistics including mean and standard deviation were used in data analysis. The findings revealed as follows.

1. The components of the nursing educational management model of Rajabhat University according to the input, process, output, and outcome consisted of 1) nursing curriculum, 2) personnel, 3) budgeting, 4) resources, 5) organization and management, 6) leading organization, 7) strategic planning, 8) curriculum and teaching-learning management, 9) student development, 10) faculty and staff development, 11) measurement and evaluation of the organization performance, 12) percentage of drop out 13) in- time graduation 14) instructors’ research publication, 15) nursing licenses examination pass, 16) employment rate 17) graduate satisfaction rate 18) employer satisfaction rate and 19) student satisfaction rate. The verification of this model by the experts and specialists revealed that all 19 components were accurate, appropriate, and feasible to utilize in the Rajabhat University context.

Article Details

How to Cite
จุลวรรณา ภ., ศรีอำไพ อ., ศิริวัฒนเมธานนท์ จ., & ดิลกสัมพันธ์ จ. (2016). รูปแบบการจัดการศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ ในบริบทมหาวิทยาลัยราชภัฏ. Thai Journal of Nursing, 63(2), 56–62. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/46907
Section
Research Article