การพัฒนาระบบบันทึกทางการพยาบาลด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ศูนย์มะเร็ง ลพบุรี

Main Article Content

ณิภา แสงกิตติไพบูลย์
อารี ชีวเกษมสุข
ปิยะนันต์ อิสสระวิทย์
วิไล กุศลวิศิษฎ์กุล

Abstract

การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) พัฒนาระบบบันทึกทางการพยาบาลด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับ ผู้ป่วยมะเร็ง ศูนย์มะเร็ง ลพบุรี และ (2) ศึกษาผลของการ ใช้ระบบบันทึกทางการพยาบาลด้วยคอมพิวเตอร์ที่พัฒนา ขึ้น กลุ่มตัวอย่าง ถูกเลือกแบบเจาะจง เป็นพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยมะเร็ง จำนวน 14 คน และแบบ บันทึกทางการพยาบาลของผู้ป่วย จำนวน 102 ชุด เครื่องมือวิจัย ได้แก่ (1) ระบบบันทึกทางการพยาบาล ด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง (2) โครงการอบรมพยาบาลวิชาชีพ 2 โครงการ (3) แบบทดสอบความรู้เรื่อง การบันทึกทางการพยาบาลด้วยคอมพิวเตอร์ (4) แบบ ตรวจสอบคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาลด้วย คอมพิวเตอร์และคู่มือ และ (5) แบบสอบถามประโยชน์ ของระบบการบันทึกทางการพยาบาลด้วยคอมพิวเตอร์ เครื่องมือวิจัยที่ 4 และ 5 มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.93 และ 0.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Mann-Whitney U test และ Paired t-test.

ผลการวิจัยมีดังนี้ (1) ระบบบันทึกทางการพยาบาล ด้วยคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย วิธีการบันทึก แบบบันทึกทางการพยาบาล และคูมื่อ ระบบบันทึกทางการ พยาบาลด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีลักษณะการบันทึกที่ง่าย สะดวก ครอบคลุมความต้องการของผู้ป่วยแบบองค์รวม และต่อเนื่อง (2) คุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาล และประโยชน์โดยรวมของระบบบันทึกทางการพยาบาล ด้วยคอมพิวเตอร์หลังการใช้สูงกว่าก่อนการใช้ระบบบันทึก ทางการพยาบาลด้วยคอมพิวเตอร์อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01

 

The development of a computerized nursing documentation system for cancer patients at Lopburi Cancer Center.

Sangkittipaiboon, N., Cheevakasemsook, A., Isarawit, P., & Kusolvisitkul, W.

The purposes of this research and development were: (1) to develop a computerized nursing documentation system for cancer patients at Lopburi Cancer Center, and (2) to study the outcomes of using the computerized documentation system. The sample were purposively selected including 14 professional nurses who worked at cancer wards, and 102 nursing records. Research tools consisted of (1) the computerized nursing documentation system, (2) two training projects (3) a knowledge test on the computerized nursing documentation system, (4) a quality of nursing record audit, and (5) a questionnaire on the advantages of the computerized nursing documentation system. The reliabilities of the research tools number 4 and 5 were 0.93 and 0.91 respectively. Research data were analyzed for frequency, percentage, mean, standard deviation, the Mann-Whitney U test, and the paired t-test.

The research findings were as follows. (1) The developed computerized nursing documentation system included computerized documenting procedures, forms, and its manual. This system contributed to easy, convenient and continual charting including holistic approach to meet patients’ needs. (2) Nursing documentation quality and nurses’ opinion on the advantages of the documentation system after implementation were significantly higher than before peroid at p < .01.

Article Details

How to Cite
แสงกิตติไพบูลย์ ณ., ชีวเกษมสุข อ., อิสสระวิทย์ ป., & กุศลวิศิษฎ์กุล ว. (2016). การพัฒนาระบบบันทึกทางการพยาบาลด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ศูนย์มะเร็ง ลพบุรี. Thai Journal of Nursing, 62(4), 10–19. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/47098
Section
Research Article