ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

รภัทภร เพชรสุข

Abstract

การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา อำนาจทำนายความตั้งใจที่จะบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้ตัวทำนายได้แก่ ผลการเรียนเกรดเฉลี่ย เจตคติต่อ การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม กลุ่ม ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีพฤติกรรม บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากโรงเรียน 13 แห่ง ในเขต กรุงเทพมหานคร จำนวน 511 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่าง แบบเป็นระบบ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัย สร้างขึ้น และตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.95 หาความ เที่ยงโดยใช้ในนักเรียน 30 คน ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง ของแบบสอบถามส่วนที่ 2 ถึง 5 เท่ากับ 0.85, 0.90, 0.94 และ 0.92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การ ถดถอยพหุ

ผลการศึกษาพบว่า ผลการเรียนเกรดเฉลี่ย เจตคติ ต่อการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการคล้อยตาม กลุ่มอ้างอิง สามารถร่วมกันทำนายความตั้งใจที่จะบริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในอีก 1 เดือนข้างหน้า ได้ร้อยละ 30.2 (R2 = 0.302) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Factors influencing the intention to alcohol consumption of high school students in Bangkok.

Petchsuk, R.

This correlational research aimed to predict the intention to alcohol consumption of high school students in Bangkok. Predictors included grade point average, attitude toward alcohol consumption behavior, subjective norm, and perceived behavior control. The sample of 511 students who consumed alcohol was systematic randomly selected from Mathayom VI students in Bangkok. The research tool was questionnaire developed by a researcher. The content validity was approved by five experts. Its content validity index was 0.95, and the reliabilities of the four subparts of a questionnaire were 0.85, 0.90, 0.94, and 0.92 respectively. The software program was used in data analysis for the percentage, mean, standard deviation, and multiple regression analysis.

Result indicates that the grade point average, attitude toward alcohol consumption, subjective norm could predict the intention to consume alcohol within 1 month. The predictors accounted for 30.2% at p <.05 (R2 = 0.302).

Article Details

How to Cite
เพชรสุข ร. (2016). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร. Thai Journal of Nursing, 62(4), 20–26. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/47102
Section
Research Article