ความสัมพันธ์ระหว่างการคิดวิเคราะห์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น

Main Article Content

สายฝน เอกวรางกูร
นัยนา หนูนิล

Abstract

การวิจัยเชิงบรรยายหาความสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการคิดวิเคราะห์ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และความสัมพันธ์ระหว่างการคิดวิเคราะห์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมเพศศึกษา รอบด้านสำหรับเยาวชนในสถานศึกษาในเขตพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้ตอนบน จำนวน 437 คน เลือกโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือวิจัยมี 3 ส่วน ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 แบบประเมินการคิดวิเคราะห์ ส่วนที่ 3 แบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุน่ หาความเที่ยงของเครื่องมือวิจัยได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคของแบบประเมินส่วนที่ 2 และ 3 เท่ากับ 0.82 และ 0.89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่านักเรียนที่มีการคิดวิเคราะห์ระดับปานกลาง ระดับสูง และระดับตํ่า มีร้อยละ 52.63, 41.88 และ 5.49 ตามลำดับ นักเรียนร้อยละ 82.84 ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในระดับสูงปานกลาง และน้อย พบร้อยละ 8.92, 7.78 และ 0.46 ตามลำดับ การคิดวิเคราะห์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในทางลบระดับตํ่า (r = -0.264) อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01

 

Relationship between critical thinking and sexual risk behaviors among adolescents.

Aekwarangkoon, S., & Noonill, N.

This descriptive correlational study aimed to describe the critical thinking and sexual risk behaviors among adolescents and its relation. A sample of 437 high school students who joined in comprehensive sex education enhancing project for the youth in 4 upper-southern provinces, was selected using stratified random sampling. Data were collected using the questionnaires which composed 3 parts: 1) personal data, 2) critical thinking, and 3) sexual risk behaviors. The Cronbach’s coefficient alpha of the questionnaires part 2 and 3 were 0.82 and 0.89 respectively. Frequency, percent, mean, standard deviation, and Pearson correlation were used in data analysis.

The results were as follows. (1) The students who had critical thinking at the high, moderate, and low levels were 41.88, 52.63, and 5.49 percents respectively. Students who had no sexual risk behaviors were 82.84 percents, but those who had sexual risk behaviors at the high, moderate, and low levels, were 8.92, 7.78, and 0.46 percents respectively. (2) There was significantly negative relationship between critical thinking and sexual risk behaviors (r = -0.264) at p < .01.

Article Details

How to Cite
เอกวรางกูร ส., & หนูนิล น. (2016). ความสัมพันธ์ระหว่างการคิดวิเคราะห์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น. Thai Journal of Nursing, 62(4), 27–34. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/47103
Section
Research Article