รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ ในหอผู้ป่วยวิกฤต ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ

Main Article Content

กัลยกร ฉัตรแก้ว
สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ
เจือจันทน์ วัฒกีเจริญ

Abstract

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์นี้ มี วัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิง สาเหตุ ได้แก่ บรรยากาศองค์การ ขวัญในการทำงาน ความ ยึดมั่นผูกพันต่อองค์การที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของ พยาบาลประจำการในหอผู้ป่วยวิกฤตในโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยของรัฐ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ ระดับปฏิบัติการที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยวิกฤต คัดเลือก โดยการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ จำนวน 389 คน

 

ผลการศึกษาพบว่า บรรยากาศองค์การมีอิทธิพลโดยตรงต่อการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ (ß=0.26, p<.01) และมีอิทธิพลโดยอ้อมต่อการปฏิบัติงานของ พยาบาลประจำการโดยผ่านขวัญในการทำงานและความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ (ß=0.15, p<.01) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุสามารถอธิบายความแปรปรวนของการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการในหอผู้ป่วยวิกฤตได้ร้อยละ 25 (R2 = 0.25, p< .001).

 

A causal model of job performance of nurses at intensive care units in the university hospital.

Chatrkaw, K., Luangamornlert, S., & Wattakiecharoen, J.

This descriptive correlational research study were to identify and test a causal model of organizationalclimate, work morale, organizational commitment and job performance of registered nurses at Intensive CareUnit in government university hospitals. The sample of 389 registered nurses at Intensive Care Unit wasselected by systematic random sampling.The results revealed that organizational climate had a direct positive effect on job performance (ß=0.26,p<.01) and had an indirect effect on job performance of nurses at Intensive Care Unit through affecting workmorale and organizational commitment (ß=0.15, p<.01). The model accounted for 25 percents of variancein job performance (R2 = 0.25, p< .001).

Article Details

How to Cite
ฉัตรแก้ว ก., เหลืองอมรเลิศ ส., & วัฒกีเจริญ เ. (2016). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ ในหอผู้ป่วยวิกฤต ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. Thai Journal of Nursing, 62(4), 50–58. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/47109
Section
Research Article