ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับความตั้งใจคงอยู่ ของพยาบาลในพื้นที่ที่มีความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย
ลดาวัลย์ ประทีปชัยกูร
ประณีต ส่งวัฒนา

Abstract

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการสนับสนุนทางสังคมของพยาบาลวิชาชีพที่ได้รับขณะปฏิบัติงานในพื้นที่ไม่สงบระหว่างสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมและความตั้งใจคง อยู่ของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 307 คนได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม หาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ 0.94 และแบบสอบถามความตั้งใจคงอยู่ในวิชาชีพพยาบาล หาค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง (KR 21)ได้เท่ากับ 0.82 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวน Chi-square test และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานอยู่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังมีความตั้งใจคงอยู่ในพื้นที่ร้อยละ 60.6 และมีความตั้งใจไม่คงอยู่ร้อยละ 39.4 ในรายจังหวัด พบว่า พยาบาลในจังหวัดนราธิวาสมีความตั้งใจคงอยู่ในพื้นที่มากที่สุด ร้อยละ 70.30 รองลงมา คือ จังหวัดยะลา ร้อยละ 55.91 ส่วนพยาบาลในจังหวัดปัตตานี มีความตั้งใจคงอยู่ในพื้นที่น้อยที่สุด ร้อยละ 53.20 พยาบาล ในจังหวัดนราธิวาสและยะลา ได้รับการสนับสนุนทางสังคมสูงกว่าพยาบาลที่ปฏิบัติงานในจังหวัดปัตตานี และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Relationship between nurses' perception of social support and their intention to stay in the unrested areas of the Three Southern Border Provinces.

Singchungchai, P., Pratheepchaikul, L., & Songwathana, P.

The purposes of this descriptive research were to compare the differences of social support among professional nurses in different provinces and to find the relationship between professional nurses' perception of social support and the intention to stay in the unrested areas of the three Southern Border Provinces. The sample of 307 were selected using the multi-stage sampling. Data were collected using questionnaires which were tested for the content validity by nurse experts. The Cronbach' s alpha coefficient of the social support questionnaire was 0.94, and the reliability coefficient of the questionnaire on retention to stay using KR 21 formula was 0.82. The data analysis was done using descriptive statistics, One-way ANOVA , Chi-square test and content analysis.

The results showed that 60.6 percents of professional nurses working in the three southern border provinces had intention to stay, but 39.4 percent had intention not to stay. The professional nurses who intened to stay in the Narathiwat had the highest percentage (70.3%), followed by Yala (55.91percent), and Pattani (53.20%). The professional nurses in Narathiwat and Yala Provinces received significantly higher social support than those who worked in Pattani Province at p< .05. The social support and intention to stay among the professional nurses was significantly related at p<.05.

Article Details

How to Cite
สิงห์ช่างชัย เ., ประทีปชัยกูร ล., & ส่งวัฒนา ป. (2016). ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับความตั้งใจคงอยู่ ของพยาบาลในพื้นที่ที่มีความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. Thai Journal of Nursing, 62(3), 7–14. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/47403
Section
Research Article